Please use this identifier to cite or link to this item: http://mcuir.mcu.ac.th:8080/jspui/handle/123456789/639
Title: การจัดการทรัพยากรวัฒนธรรมเชิงสร้างสรรค์ของกลุ่มจังหวัดล้านนา
Other Titles: The Creative Cultural Resource Management in Lanna Province
Authors: วิเศษ, สหัทยา
พระครูโสภณปริยัติสุธี
พระครูพิศาลสรกิจ
วงศ์จาปา, พิศมัย
สุทธะ, ชูชาติ
Keywords: ทรัพยากรวัฒนธรรม
การจัดการทรัพยากรวัฒนธรรมเชิงสร้างสรรค์
กลุ่มจังหวัดล้านนา
Issue Date: 2563
Publisher: สถาบันวิจัยพุทธศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยนี้เป็นงานวิจัยเชิงคุณภาพ โดยการศึกษาเอกสาร และการวิจัยเชิงปฏิบัติการ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษารูปแบบการจัดการทรัพยากรวัฒนธรรมของวัดและชุมชน พัฒนากระบวนการในการจัดการทรัพยากรวัฒนธรรมเชิงสร้างสรรค์โดยการมีส่วนร่วมของวัดและชุมชน และสังเคราะห์รูปแบบการจัดการทรัพยากรวัฒนธรรมเชิงสร้างสรรค์ โดยการมีส่วนร่วมของวัดและชุมชนในกลุ่มจังหวัดล้านนา ดาเนินการวิจัยลงพื้นที่สารวจบริบทและทรัพยากรวัฒนธรรมชุมชน ประชุมกลุ่มย่อย สัมภาษณ์ผู้ให้ข้อมูลหลัก และเข้าร่วมปฏิบัติการในกิจกรรมการจัดการทรัพยากรวัฒนธรรมชุมชนในพื้นที่ ๘ จังหวัดภาคเหนือตอนบน ได้แก่ เชียงใหม่ แม่ฮ่องสอน เชียงราย แพร่ น่าน ลาปาง ลาพูน และพะเยา ผลการวิจัยพบว่า ๑. รูปแบบการจัดการทรัพยากรวัฒนธรรมในกลุ่มจังหวัดล้านนา แบ่งออกเป็นการจัดการทรัพยากรวัฒนธรรมโดยหน่วยงานภาครัฐ การจัดการทรัพยากรวัฒนธรรมโดยวัดและชุมชน และการจัดการทรัพยากรวัฒนธรรมโดยกลุ่ม เครือข่าย และองค์กรทางศิลปะเชิงสร้างสรรค์ ทั้งสามรูปแบบมีเป้าหมายในการดาเนินงานเพื่อการดูแล สงวนรักษา อนุรักษ์ทรัพยากรวัฒนธรรมของชุมชน การเผยแพร่ ประชาสัมพันธ์ การสืบสานประเพณีวัฒนธรรม การสร้างพื้นที่สาธารณะทางศิลปะชุมชน รวมทั้งการสื่อสารต่อสาธารณะในสื่อสิ่งพิมพ์ สื่อออนไลน์ และเพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวทางวัฒนธรรมในกลุ่มจังหวัดล้านนา ๒. การพัฒนากระบวนการในการจัดการทรัพยากรวัฒนธรรมเชิงสร้างสรรค์โดยการมีส่วนร่วมของชุมชน ประกอบด้วยแบบแผนปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วมของคนในชุมชน เรียกว่า PAR 3 Es Model ได้แก่ E1 (Education) ศึกษา สารวจ และประเมินทรัพยากรวัฒนธรรมชุมชน โดยการศึกษาเอกสาร การสารวจบริบทพื้นที่ สภาพแวดล้อม และประเมินคุณค่าและศักยภาพของทรัพยากรวัฒนธรรม E2 (Engineering) การสร้างสรรค์ และพัฒนาศิลปะชุมชนตามอัตลักษณ์ทางวัฒนธรรมชุมชน โดยการสงวนและอนุรักษ์ทรัพยากรวัฒนธรรม การพัฒนาพื้นที่สาธารณะศิลปะชุมชนสร้างสรรค์ การเผยแพร่ข้อมูลความรู้สู่สาธารณะ การฟื้นฟู ผลิตซ้าและสร้างใหม่ให้กับทรัพยากรวัฒนธรรม การถ่ายทอดความรู้เชิงปฏิบัติการสู่เด็กเยาวชนเพื่อให้เกิดจิตสานึกในการดูแลรักษา และ E3 (Engagement) การสร้างสานึกความเป็นเจ้าของร่วมในการจัดการทรัพยากร ข วัฒนธรรม เพื่อให้เป็นข้อตกลงของชุมชนในการจัดการทรัพยากรวัฒนธรรมโดยการมีส่วนร่วมของคนในชุมชนและองค์กรที่เกี่ยวข้องในรูปแบบของคณะกรรมการที่เอื้ออานวยต่อการจัดการทรัพยากรวัฒนธรรมในเชิงสร้างสรรค์ ๓. สังเคราะห์รูปแบบการจัดการทรัพยากรวัฒนธรรมเชิงสร้างสรรค์ โดยการมีส่วนร่วมของวัดและชุมชนในกลุ่มจังหวัดล้านนา ได้แก่ รูปแบบแหล่งเรียนรู้หรือศูนย์การเรียนรู้ศิลปะชุมชน รูปแบบพื้นที่สาธารณะที่มีงานศิลปะชุมชน และพื้นที่ธรรมชาติ รูปแบบถนนวัฒนธรรมเชิงสร้างสรรค์ หรือย่านวัฒนธรรม รูปแบบพุทธศิลป์แนวไทยประเพณี และ รูปแบบศิลปะเพื่อสร้างพลังชุมชน เป็นการนาศิลปะมาเพื่อสร้างศรัทธาให้กับคนในชุมชน และจิตสานึกในการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
URI: http://mcuir.mcu.ac.th:8080/jspui/handle/123456789/639
Appears in Collections:รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
2563-042ผศ.ดร. สหัทยา วิเศษ.pdf5.45 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.