Please use this identifier to cite or link to this item: http://mcuir.mcu.ac.th:8080/jspui/handle/123456789/638
Title: การพัฒนาการเรียนรู้ของชุมชนจิตอาสาเพื่อดูแลสุขภาพของผู้สูงอายุที่มีความพิการร่วม อย่างยั่งยืนตามแนวพุทธศาสนาขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
Other Titles: The learning development of community volunteers with sustainable healthcare towards elderly people with a disability in accordance with the Buddhism of Lamphun Local Administrative Organization
Authors: ปุญฺญธโร, พระบุญทรง
พืชทองหลาง, ญาตาวีมินทร์
พืชทองหลาง, ประทีป
Keywords: ชุมชนจิตอาสา
กระบวนการเรียนรู้
Issue Date: 2563
Publisher: สถาบันวิจัยพุทธศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
Abstract: งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ ๑) เพื่อศึกษาพฤติกรรมการเรียนรู้ของชุมชนในการดูแลผู้สูงอายุที่มีความพิการร่วมอย่างยั่งยืนขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ๒) เพื่อศึกษาปัจจัยแห่งการมีจิตอาสาของชุมชนในการดูแลผู้สูงอายุที่มีความพิการร่วมอย่างยั่งยืนตามแนวพระพุทธศาสนาขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ๓) เพื่อพัฒนากระบวนการเรียนรู้ของชุมชนจิตอาสาในการดูแลผู้สูงอายุที่มีความพิการร่วมอย่างยั่งยืนตามแนวพระพุทธศาสนาขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น รูปแบบการวิจัยเป็นแบบผสานวิธี พื้นที่วิจัย คือ เทศบาลตำบลวังดิน เทศบาลตำบลดงดำ และเทศบาลตำบลก้อ อำเภอลี้ จังหวัดลำพูน การวิจัยเชิงคุณภาพ กลุ่มเป้าหมายการวิจัยเชิงคุณภาพ คือ ผู้บริหาร เจ้าหน้าที่องค์กรปกครองท้องถิ่น ๑๕ คน ผู้สูงอายุ ๖๐ คน ส่วนการวิจัยเชิงปริมาณ คือ กลุ่มจิตอาสา ๖๐ คน คัดเลือกแบบเจาะจง ตามเกณฑ์ที่กำหนดไว้ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยมี ๔ ชนิด ได้แก่ ๑) แบบสอบถาม ๒) แบบสังเกต ๓) แบบสัมภาษณ์เชิงลึก และ ๔) แบบสนทนากลุ่มย่อย การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณ ใช้สถิติพื้นฐาน คือ ค่าร้อยละ และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ส่วนการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพ ใช้การวิจัยเอกสาร การสังเกต การสัมภาษณ์ และการสนทนากลุ่มย่อย วิเคราะห์เนื้อหาแล้วเขียนบรรยายเชิงพรรณนา ผลการวิจัยพบว่า ๑. ชุมชนจิตอาสาขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น จังหวัดลำพูนมีระดับความคิดเห็นต่อพฤติกรรมการเรียนรู้เพื่อการดูแลผู้สูงอายุ โดยภาพรวม อยู่ในระดับปานกลาง และเมื่อจำแนกเป็นรายด้าน พบว่า ชุมชนจิตอาสามีระดับความคิดเห็นต่อพฤติกรรมการเรียนรู้เพื่อการดูแลผู้สูงอายุ มากที่สุดคือด้านสังคมการอยู่ร่วมกัน รองลงมาคือด้านเศรษฐกิจและรายได้ และรองลงมาคือด้านกายภาวนา และน้อยที่สุดคือด้านจิตภาวนา ๒. ปัจจัยแห่งการมีจิตอาสาของชุมชนในการดูแลผู้สูงอายุที่มีความพิการร่วมอย่างยั่งยืนตามแนวพระพุทธศาสนาขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น คือ หลักพรหมวิหาร ๔ และสังคหวัตถุ ๔ บูรณาการไปใช้กับการจัดสวัสดิการสำหรับผู้สูงอายุใน ๖ กิจกรรม คือ ๑) การให้ความรู้เบื้องต้น ๒) การส่งเสริมสุขภาพและการใช้ชีวิตตามวัย ๓) การสร้างรายได้ ๔) การดูแลและช่วยเหลือกรณีพิเศษ ๕) การส่งเสริมภูมิปัญญาและศิลปวัฒนธรรมท้องถิ่น ๖) การส่งเสริมสุขภาวะทางด้านอารมณ์ ข ๓. การพัฒนาการเรียนรู้ของชุมชนจิตอาสาเพื่อดูแลสุขภาพผู้สูงอายุมีองค์ประกอบสำคัญ ๓ ประการ คือ วิชาชีวิต วิชาชีพ และวิชาการ โดยบูรณาการหลักธรรมทางพระพุทธศาสนาไปใช้ในการส่งเสริมการเรียนรู้ 4 มิติ คือ (1) มิติทางกาย-ศีลสิกขา (2) มิติทางสังคม-ศีลสิกขา (3) มิติทางจิตใจ-สมาธิสิกขา (4) มิติทางปัญญา-ปัญญาสิกขา การดูแลของชุมชนจิตอาสาด้วยจุดมุ่งหมายที่จะให้ผู้สูงอายุมีสติสัมปชัญญะสมบูรณ์ ไม่ทุกข์กับความเจ็บป่วย ทำชีวิตให้มีคุณภาพ สุขภาพแข็งแรงและสมรรถภาพสมบูรณ์
URI: http://mcuir.mcu.ac.th:8080/jspui/handle/123456789/638
Appears in Collections:รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
2563-041พระบุญทรง ปุญฺญธโร.pdf6.45 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.