Please use this identifier to cite or link to this item:
http://mcuir.mcu.ac.th:8080/jspui/handle/123456789/637
Full metadata record
DC Field | Value | Language |
---|---|---|
dc.contributor.author | ศรีปรัชยานนท์, สมจันทร์ | - |
dc.contributor.author | พืชทองหลาง, ญาตาวีมินทร์ | - |
dc.contributor.author | เทพรักษ์, ปาณิสรา | - |
dc.date.accessioned | 2022-03-26T08:14:57Z | - |
dc.date.available | 2022-03-26T08:14:57Z | - |
dc.date.issued | 2563 | - |
dc.identifier.uri | http://mcuir.mcu.ac.th:8080/jspui/handle/123456789/637 | - |
dc.description.abstract | การวิจัยฉบับนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ ๑) เพื่อศึกษาการดูแลผู้สูงอายุที่มีความพิการร่วมอย่างยั่งยืนขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น จังหวัดลำพูน ๒) เพื่อศึกษาบทบาทขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในการดูแลผู้สูงอายุที่มีความพิการร่วมอย่างยั่งยืนขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น จังหวัด ลำพูน ๓) เพื่อพัฒนาระบบกลไกชุมชนเพื่อดูแลผู้สูงอายุที่มีความพิการร่วมอย่างยั่งยืนขององค์กร ปกครองส่วนท้องถิ่น จังหวัดลำพูน โดยเป็นการวิจัยเชิงบูรณาการแบบผสมเชิงคุณภาพ และเชิง ปฏิบัติการ โดยการสัมภาษณ์เชิงลึกกลุ่มตัวอย่างประกอบจำนวน ๘๒ คน แบ่งออกเป็น ๓ กลุ่ม ได้แก่ กลุ่มองค์กรปกครองท้องถิ่น กลุ่มแกนนำ/ผู้สูงอายุในโรงเรียนผู้สูงอายุ และกลุ่มเครือข่าย/องค์กรที่เกี่ยวข้อง เพื่อนำมาสู่การพัฒนาระบบกลไกเพื่อการดูแลผู้สูงอายุที่มีความพิการร่วมอย่างยั่งยืน ผลการศึกษาวิจัยพบว่า องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นดูแลผู้สูงอายุที่มีความพิการร่วม ประกอบด้วย ๑) การดูแล ผู้สูงอายุตามกฎหมาย ๒) การดูแลผู้สูงอายุขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น โดยศึกษาข้อมูลผู้สูงอายุ เพื่อนำไปสู่การพัฒนากิจกรรมการจัดสวัสดิการและเพิ่มพูนทักษะชีวิต ได้แก่ การให้ความรู้ การ ส่งเสริมสุขภาพและการใช้ชีวิตตามวัย การสร้างรายได้ การช่วยเหลือกรณีพิเศษ การส่งเสริมภูมิปัญญา และศิลปวัฒนธรรม การส่งเสริมสุขภาวะทางอารมณ์ และการขับเคลื่อนแกนนำและสร้างจิต เพื่อให้ เกิดความสุขทางด้านร่างกาย จิตใจ สังคมและเศรษฐกิจ สติและปัญญา ที่จะช่วยให้ผู้สูงอายุสามารถ อยู่ร่วมกับสังคมอย่างมีความสุข โดยบทบาทขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ได้แก่ บทบาทด้านผู้นำที่ช่วยสนับสนุนเชิง นโยบายและปฏิบัติการ บทบาทด้านการสนับสนุนงบประมาณจากการจัดสรรงบประมาณ บทบาท ด้านการประสานงานกับหน่วยงาน องค์กรภาครัฐ/เอกชน บทบาทด้านการสนับสนุน/พลังเสริมที่คอย ผลักดันหนุนเสริมกิจกรรม บทบาทด้านการจัดการเครือข่าย การทำบันทึกตกลง (MOU) กับหน่วยงาน องค์กรภาครัฐ/เอกชนและส่วนงานที่เกี่ยวข้อง ข การพัฒนาระบบกลไกชุมชนเพื่อดูแลผู้สูงอายุที่มีความพิการร่วม ประกอบด้วย ๑) การศึกษาและวิเคราะห์ปัญหา จากกลุ่มผู้สูงอายุร่วมภาคีต่างๆ ๒) การพัฒนาหลักสูตร โดยมุ่งเน้น ปัจจัย ๔ อย่าง ได้แก่ ผู้สูงอายุสนใจ จำเป็นต่อชีวิต เพิ่มพูนความรู้ เพิ่มทักษะชีวิต ๓) การออกแบบ หลักสูตร เพื่อส่งเสริมการเรียนรู้ตลอดชีวิต รวมถึงการร่วมมือกับเครือข่ายต่างๆ ๔) การเสริมสร้าง เครือข่าย ที่ได้จากการบริหารจัดการร่วมกัน ๕) วิเคราะห์องค์ความรู้ เพื่อส่งเสริมและสนับสนุน คุณภาพชีวิตที่ดีของผู้สูงอายุ ทั้งสุขภาพกาย สุขภาพจิตใจ สุขภาพทางสังคม และสุขภาพทางปัญญา การขับเคลื่อนกลไกชุมชนเพื่อการดูแลสุขภาพผู้สูงอายุที่มีความพิการร่วมอย่างยั่งยืนมี ลักษณะตามหลัก “บวร” ที่เกิดจากกลุ่ม/ภาคีชุมชนในการส่งเสริมและสนับสนุนการทำงานที่มี จุดเป้าหมายเดียวกัน เพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุให้ตระหนักถึงคุณค่า การมีส่วนร่วมกับสังคม การรับผิดชอบต่อสังคม การฝึกทักษะพัฒนาตนเองและมีจิตอาสานำพาสังคมผู้สูงวัยให้เป็นสังคมแห่ง ความสุขได้อย่างแท้จริง | en_US |
dc.publisher | สถาบันวิจัยพุทธศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย | en_US |
dc.subject | การพัฒนา | en_US |
dc.subject | ระบบกลไกชุมชน | en_US |
dc.subject | ผู้สูงอายุที่มีความพิการ | en_US |
dc.subject | องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น | en_US |
dc.title | การพัฒนาระบบกลไกชุมชนเพื่อดูแลผู้สูงอายุที่มีความพิการร่วมอย่างยั่งยืน ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น จังหวัดลาพูน | en_US |
dc.title.alternative | Development of Community Mechanic System for Sustainable Disable Elderly Care of Local Administrative Organizations in Lamphun Province | en_US |
dc.type | Thesis | en_US |
Appears in Collections: | รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์ |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
2563-041นายสมจันทร์ ศรีปรัชยานนท์.pdf | 6.26 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.