Please use this identifier to cite or link to this item:
http://mcuir.mcu.ac.th:8080/jspui/handle/123456789/636
Full metadata record
DC Field | Value | Language |
---|---|---|
dc.contributor.author | -, พระครูปริยัติคุณรังษี | - |
dc.contributor.author | ภาแก้ว, ส่งสุข | - |
dc.contributor.author | พลวิเศษ, พวงเพชร | - |
dc.contributor.author | เพราะถะ, พระธนากร | - |
dc.contributor.author | คงทิพย์, เอกลักษณ์ | - |
dc.contributor.author | นวลน้อย, พัทธนันท์ | - |
dc.date.accessioned | 2022-03-26T08:12:47Z | - |
dc.date.available | 2022-03-26T08:12:47Z | - |
dc.date.issued | 2563 | - |
dc.identifier.uri | http://mcuir.mcu.ac.th:8080/jspui/handle/123456789/636 | - |
dc.description.abstract | การศึกษาวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ ๑) เพื่อศึกษาชุมชนต้นแบบในการสร้างหลักประกันความมั่นคงทางเศรษฐกิจชุมชนในจังหวัดเลย ๒) เพื่อพัฒนาผลิตภัณฑ์และกลไกการตลาดเศรษฐกิจชุมชนในจังหวัดเลย และ ๓) เพื่อสร้างรูปแบบหลักประกันความมั่นคงทางเศรษฐกิจชุมชนในจังหวัดเลย เป็นการวิจัยและพัฒนา (Research and Development: R&D) โดยมีขั้นตอนการศึกษา ๒ รูปแบบ คือ การวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative research) และการวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม (PAR: Participatory Action Research) ผลการวิจัย ๑. ข้อมูลทั่วไปของชุมชนต้นแบบที่ศึกษาในครั้งนี้แบ่งออกเป็น ๒ ด้านคือ ๑) ข้อมูลทั่วไปของกลุ่มตัวอย่าง พบว่า โครงการนี้ริเริ่มเมื่อปี พ.ศ.๒๕๖๑ โดยท่านผู้ว่าราชการจังหวัดเลยได้มอบหมายให้สานักงานพัฒนาชุมชน จ.เลย ได้เลือกเอาหมู่บ้านท่าดีหมี เป็นแหล่งผลิต เนื่องจากชาวบ้านมีความพร้อม และในอนาคตที่หมู่บ้านแห่งนี้จะมีแหล่งท่องเที่ยวสกายวอล์คปากแม่น้าเหือง กลุ่มผลิตภัณฑ์ปัจจุบันมีสมาชิก จานวน ๓๐ คน ปัจจุบันผลิตภัณฑ์จานกาบหมากมีขนาด 9 แบบ/รูปทรง และ ๒) การสร้างหลักประกันความมั่นคงทางเศรษฐกิจของกลุ่ม พบว่า ระดับการมีส่วนร่วมในด้านการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ มีระดับการมีส่วนร่วมมากที่สุด มีความสามารถในการติดต่อ และสร้างความสัมพันธ์กับบุคคลต่าง ๆ ที่อยู่ภายนอกชุมชน มีความสามารถในการบริหารจัดการวิธีการผลิต ในด้านการมีส่วนร่วมในด้านการพัฒนากลุ่ม/องค์กรชุมชน/พื้นฐานเศรษฐกิจ มีระดับการมีส่วนร่วมมากที่สุด ตามลาดับ ๒. การพัฒนาผลิตภัณฑ์และกลไกการตลาดเศรษฐกิจชุมชนในจังหวัดเลยตามวัตถุประสงค์ที่ศึกษา พบว่า วัตถุดิบในจังหวัดเลยมีไม่เพียงพอ ต้องสั่งซื้อมาจากต่างจังหวัด จึงถือว่าต้นทุนการผลิตค่อนข้างสูง และขนาดรูปร่างไม่หลากหลายรูปแบบ เนื่องจากโมลหรือแม่พิมพ์ที่ใช้ในการขี้นรูปถ้วยจานกาบหมากมีจากัด หากจะสั่งซื้อต้องนาเข้าจากต่างประเทศ ซึ่งเป็นเรื่องที่ค่อนข้างยุ่งยากและมีค่าใช้จ่ายสูง และผลิตภัณฑ์ที่สังเคราะห์จากขั้นตอนการสัมภาษณ์และประเด็นการสนทนากลุ่ม เพื่อนาผลิตภัณฑ์ที่สร้างขึ้นไปทาการพัฒนาต้นแบบ (Prototype) พบว่า ตัวแทนกลุ่ม ข ผลิตภัณฑ์และคณะผู้วิจัยได้แบ่งแนวทางการพัฒนาต้นแบบผลิตภัณฑ์ออกเป็น ๓ ประเด็นคือ (๑) การเพิ่มมูลค่าให้ผลิตภัณฑ์จานกาบหมากด้วยการเพ้นท์ (Paint) สีหรือลวดลายลงบนจานกาบหมาก (๒) การเพิ่มมูลค่าให้ผลิตภัณฑ์จานกาบหมากด้วยการยิงความร้อนด้วยเลเซอร์ (Laser) อุตสาหกรรม และ(๓) การเพิ่มมูลค่าให้ผลิตภัณฑ์ จากวัตถุดิบที่เหลือจากการขึ้นรูปจานกาบหมากด้วยการนามาผลิตเป็นดอกไม้ ที่คั่นหนังสือ หรือนามาผลิตเป็นปลาตะเพียนไว้ประดับอู่ (เปล) เป็นต้น ๓. แนวทางการสร้างรูปแบบหลักประกันความมั่นคงทางเศรษฐกิจของชุมชนต้นแบบ สามารถแบ่งออกเป็น ๒ ส่วน ได้แก่ ๑) การเพิ่มมูลค่าเพิ่มให้กับผลิตภัณฑ์ชุมชน โดย (๑) ด้านการพัฒนาผลิตภัณฑ์ โดยมีวิทยากรส่งเสริมด้านของการเรียนรู้ให้ชุมชนได้รับข้อมูลข่าวสารการส่งเสริมของหน่วยงานทั้งภาครัฐและเอกชนมาให้ความรู้ในพื้นที่ (๒) ด้านการพัฒนาภูมิปัญญา โดยนาองค์ความรู้เดิมของชาวบ้านในชุมชนที่ได้รับการถ่ายทอดดัดแปลงมาใช้ในการพัฒนาเป็นผลิตภัณฑ์ภูมิปัญญาไทยหรือภูมิปัญญาท้องถิ่น (๓) ด้านการรวมกลุ่ม การที่ชุมชนได้มีการยกระดับจัดตั้งเป็นกลุ่มวิสาหกิจชุมชน เป็นศูนย์รวมของการรวมกลุ่มของสมาชิกใน (๔) ด้านการสารวจตลาด โดยได้ให้กลุ่มวิสาหกิจชุมขนนาต้นแบบผลิตภัณฑ์ไปทดลองวางขายในร้านค้าและชุมชน และตรงทางขึ้นภูพระใหญ่ (สกายวอล์ค) เพื่อเป็นการสารวจตลาดอีกทางหนึ่ง ๒) การจัดการชุมชนเพื่อรองรับการพัฒนาผลิตภัณฑ์ เพื่อรองรับการพัฒนาผลิตภัณฑ์นั้น จากการศึกษาการดาเนินงานที่ผ่านมา พบว่า ระบบบริหารจัดชุมชนเพื่อรองรับการพัฒนาผลิตภัณฑ์มีความเป็นไปได้สูง เนื่องจากการดาเนินงานนั้น ต้องมีการวางแนวทางที่เอื้อต่อวิธีชีวิตในชุมชนและการให้สมาชิกได้เข้ามามีส่วนร่วมในการดาเนินงานทุกขั้นตอน | en_US |
dc.publisher | สถาบันวิจัยพุทธศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย | en_US |
dc.subject | กระบวนการ | en_US |
dc.subject | หลักประกันความมั่นคงทางเศรษฐกิจชุมชน | en_US |
dc.subject | จังหวัดเลย | en_US |
dc.title | กระบวนการสร้างหลักประกันความมั่นคงทางเศรษฐกิจชุมชนในจังหวัดเลย | en_US |
dc.title.alternative | Process for Building Community Economic Security Assurance in Loei Province | en_US |
dc.type | Thesis | en_US |
Appears in Collections: | รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์ |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
2563-035พระครูปริยัติคุณรังษี.pdf | 4.76 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.