Please use this identifier to cite or link to this item: http://mcuir.mcu.ac.th:8080/jspui/handle/123456789/635
Title: กลไกการขับเคลื่อนเศรษฐกิจและสังคมในการพัฒนาศักยภาพทุนทางทรัพยากร และทุนทางวัฒนธรรมไทย
Other Titles: Economic and Social Propulsion Mechanism for the Development of Resources and Thai Cultural Capital
Authors: สดประเสริฐ, สัญญา
พรสุทธิชัยพงศ์, พระครูใบฎีกาอภิชาติ
ทรัพย์อุไรรัตน์, พระครูปลัดประวิทย์
ภู่โคกหวาย, พระครูใบฎีกาธีรยุทธ
Keywords: กลไกการขับเคลื่อน
เศรษฐกิจและสังคม
ทุนทางทรัพยากร
ทุนทางวัฒนธรรมไทย
Issue Date: 2563
Publisher: สถาบันวิจัยพุทธศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
Abstract: การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ ๑) เพื่อพัฒนาความมั่นคงทางเศรษฐกิจและสังคม ให้ได้รับความเป็นธรรมในการเข้าถึงทรัพยากรและบริการทางสังคมที่มีคุณภาพ มีความเข้มแข็งพึ่งพาตนเองได้ ๒) เพื่อเสริมสร้างความเข้มแข็งของเศรษฐกิจฐานราก ยกระดับเศรษฐกิจ สังคม และสร้างความมั่นคงทางรายได้ ๓) เพื่อพัฒนาศักยภาพทุนทางทรัพยากรและทุนทางวัฒนธรรม ในการเสริมสร้างคุณภาพชีวิตที่ดีของประชาชนอย่างมีส่วนร่วม ๔) เพื่อสร้างรูปแบบกลไกการขับเคลื่อนเศรษฐกิจและสังคมในการพัฒนาศักยภาพทุนทางทรัพยากรและทุนทางวัฒนธรรมไทย กลุ่มตัวอย่าง และผู้ให้ข้อมูลสาคัญ ได้แก่ กลุ่มผู้นาชุมชน กลุ่มผู้สร้างสรรค์ กลุ่มนักท่องเที่ยว และกลุ่มภาครัฐและภาคเอกชน จานวน ๔๐ คน โดยใช้วิธีการวิจัยเชิงปฏิบัติการ (Action Research Methodology) โดยการวิจัยแบบมีส่วนร่วม และการวิจัยเชิงปฏิบัติการ ผสมผสานเข้าด้วยกัน ผลการวิจัยพบว่า ๑. การพัฒนาความมั่นคงทางเศรษฐกิจและสังคม ให้ได้รับความเป็นธรรมในการเข้าถึงทรัพยากรและบริการทางสังคมที่มีคุณภาพ มีความเข้มแข็งพึ่งพาตนเองได้ พบว่า การสร้างความมั่นคงทางเศรษฐกิจและสังคมให้ทุกคนในชุมชนวังกะควบคู่กับการเสริมสร้างขีดความสามารถในการจัดการความเสี่ยงและสร้างโอกาสในชีวิตให้แก่ตนเองมุ่งปรับโครงสร้างเศรษฐกิจให้มีฐานการพัฒนาที่ทั่วถึงและยั่งยืน พัฒนาเศรษฐกิจฐานรากที่มีความหลากหลายและแข็งแกร่งมากขึ้น ส่งเสริมการจัดสรรทรัพยากรให้เกิดความเป็นธรรม ปรับโครงสร้างทั้งระบบให้สนับสนุนการกระจายรายได้และเป็นเครื่องมือสร้างความเป็นธรรมในการจัดสรรทรัพยากรและการถือครองทรัพย์สิน พัฒนาการใช้ประโยชน์เทคโนโลยีสารสนเทศและการเข้าถึงข้อมูลข่าวสารในการพัฒนาอาชีพ ส่งเสริมบทบาทของภาคธุรกิจเอกชนในการเสริมสร้างความมั่นคงทางเศรษฐกิจและสังคมแก่คนในชุมชนรวมทั้งยกระดับคุณภาพ ระบบการคุ้มครองทางสังคมให้ครอบคลุมทุกคนอย่างทั่วถึงสอดคล้องกับความต้องการและความจาเป็น (ข) ๒. การเสริมสร้างความเข้มแข็งของเศรษฐกิจฐานราก ยกระดับเศรษฐกิจ สังคม และสร้างความมั่นคงทางรายได้ พบว่า การพัฒนาและการจัดการโดยชุมชนท้องถิ่น ให้ครบวงจรมากที่สุด มีการสร้างทุนและกองทุนที่เข้มแข็ง มีการผลิตพื้นฐาน การแปรรูป การบริการ การตลาดการผลิตอาหาร และความจาเป็นพื้นฐานเพื่อการดารงชีวิต การอยู่ร่วมกัน สาหรับคนในพื้นที่อย่างพอเพียง และพัฒนาเป็นวิสาหกิจเพื่อสังคมหรือธุรกิจของชุมชน (ในมิติของการเกื้อกูล เอื้อเฟื้อ การมีส่วนร่วมของคนในตาบล) ต่าง ๆ ทั้งขนาดย่อมหรือขนาดใหญ่ขึ้น โดยใช้ทั้งความรู้ที่สั่งสมในพื้นที่ หรือที่เป็นเอกลักษณ์วัฒนธรรมของพื้นที่ และมีการพัฒนาให้ทันสมัย พร้อมกับมีเทคนิค วิทยาการและความรู้ เทคโนโลยี มาพัฒนาเพิ่มเติมให้เหมาะสมกับตลาด หรือสังคมเศรษฐกิจที่เปลี่ยนแปลงไป ทาให้ผู้คนและชุมชนท้องถิ่นโดยรวมสามารถพึ่งตนเอง มีรายได้มากกว่ารายจ่าย และสามารถพัฒนาเป็นผู้ผลิต ผู้สร้างงานบริการต่างๆ จากท้องถิ่นที่เข้มแข็ง สร้างสรรค์ หลากหลาย มีเอกลักษณ์ ทันสมัย และเชื่อมโยงกับระบบตลาดอย่างมีประสิทธิภาพ ๓. การพัฒนาศักยภาพทุนทางทรัพยากรและทุนทางวัฒนธรรมในการเสริมสร้างคุณภาพชีวิตที่ดีของประชาชนอย่างมีส่วนร่วม พบว่า ต้องดาเนินการเปลี่ยนผ่านเศรษฐกิจฐานรากด้วยการเปลี่ยนเส้นทางการของการพัฒนาผลิตภัณฑ์/บริการชุมชนด้วยห่วงโซ่คุณค่าใหม่ ผ่านการอาศัยความร่วมมือของทุกภาคส่วน เพื่อการสานและจัดสรรผลประโยชน์ร่วมกันอย่างลงตัวภายใต้หลักธรรมาภิบาล เพื่อพัฒนาคนที่มีคุณภาพ และให้คนไปสร้างของ เพื่อเป็นการสร้างอาชีพและสร้างรายได้ให้กับชุมชนต่อไปโดยแบ่งเป้าหมายหลักในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจฐานราก คือ ๑) การสร้างการพัฒนาผลิตภัณฑ์/บริการ ผ่านกระบวนการสร้างและพัฒนาคนที่มีศักยภาพและคุณภาพก่อน และนาคนเหล่านี้ไปสร้างและพัฒนาผลิตภัณฑ์/บริการต่าง ๆ ๒) การสร้างกลุ่มเครือข่ายแบบสานประโยชน์ร่วมกัน โดยสร้างกระบวนการทางาน รูปแบบการจัดสรรผลประโยชน์ และกาหนดบทบาทหน้าที่และกระบวนการทางานของกลุ่มเครือข่าย และ๓) การถอดความรู้และข้อมูลจากกระบวนการทางานที่ถูกต้อง โดยสร้างข้อมูล สร้างต้นทุนเชิงปัญญาและต้นแบบการรวมกลุ่ม ซึ่งจากกระบวนการสร้างคนเพื่อให้คนไปสร้างของนี้ จะเกิดข้อมูลที่เป็นประโยชน์และช่วยในการตัดสินใจของทุกภาคส่วนอันจะก่อให้เกิดการพัฒนาอย่างยั่งยืน ๔. รูปแบบกลไกการขับเคลื่อนเศรษฐกิจและสังคมในการพัฒนาศักยภาพทุนทางทรัพยากรและทุนทางวัฒนธรรมไทย พบว่า ชุมชนบ้านวังกะได้มีการจัดทาแผนพัฒนาภายใต้หลักการดังกล่าว โดยมีการกระบวนการสารวจข้อมูลของตนเองรู้จักตนเอง รู้จักท้องถิ่น ก็จะนาไปสู่กระบวนการพูดคุยปรึกษาระหว่างคนในชุมชนท้องถิ่นหน่วยงาน ภาคี ทุกกลุ่ม ทุกฝ่าย เพื่อร่วมกันระดมปัญหาและแนวทางการแก้ไขปัญหาร่วมกันทั้งปัญหาเร่งด่วนเฉพาะหน้า และสิ่งที่ต้องพัฒนาหรือฟื้นฟูชุมชนท้องถิ่น นามาจัดทาแผนปฏิบัติการแก้ไขปัญหาและพัฒนาชุมชนท้องถิ่นในทุกด้านทั้งแผนระยะสั้นระยะกลาง และระยะยาวที่ (ค) สอดคล้องกับปัญหาความเดือดร้อน ความต้องการ และสร้างโอกาสการพัฒนาด้านต่างๆให้กับผู้คนในชุมชนท้องถิ่นของเราเอง ทั้งการแก้ไขปัญหาความยากจน หนี้สิน ที่ดินทากิน ราคาผลผลิตตกต่า การฟื้นฟูทรัพยากร ธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม การจัดระบบสวัสดิการชุมชน ฯลฯ รวมถึงมีเป้าหมายชัดเจน และมีระบบจัดการร่วมกันเพื่อให้สามารถบรรลุเป้าหมายการพัฒนานั้น ๆ ก็จะนาไปสู่การฟื้นฟูและพัฒนาชุมชนท้องถิ่นอย่างเข้มแข็ง และยั่งยืน รวมถึงนาไปสู่การจัดการตนเองของชุมชนท้องถิ่นในที่สุด
URI: http://mcuir.mcu.ac.th:8080/jspui/handle/123456789/635
Appears in Collections:รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
2563-005นายสัญญา สดประเสริฐ (แผนงาน).pdf2.79 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.