Please use this identifier to cite or link to this item: http://mcuir.mcu.ac.th:8080/jspui/handle/123456789/631
Title: การสังเคราะห์องค์ความรู้ศิลปกรรมในล้านนา
Other Titles: Synthesis of art knowledge in Lanna
Authors: เสาว์คง, ปฏิเวธ
รัตนชูเดช, พรศิลป์
จาตุมา, ธีระพงษ์
ขัดวิชัย, อำนาจ
Keywords: ศิลปกรรม
ประวัติศาสตร์ศิลป์
ล้านนา
Issue Date: 2563
Publisher: สถาบันวิจัยพุทธศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์ ๓ ประการคือ (๑) เพื่อศึกษาประวัติศาสตร์ความเป็นมาของ ศิลปกรรมในล้านนา (๒) เพื่อเสริมสร้างความรู้ทางศิลปกรรมล้านนา แก่เยาวชน นิสิต นักศึกษา และชุมชน ๘ จังหวัดภาคเหนือ และ (๓) เพื่อสังเคราะห์องค์ความรู้งานศิลปกรรมล้านนา ในการส่งเสริมการศึกษาการ พัฒนาคุณภาพทางศิลปะ และการสร้างเมืองศิลปะเชิงสร้างสรรค์ การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงปฏิบัติการ (Action Research) โดยการศึกษาศิลปกรรมในล้านนา ใน ๘ จังหวัดภาคเหนือตอนบน ผลของการศึกษา พบว่า ศิลปกรรมล้านนาทางโบราณคดี มีลักษณะเรียบง่าย เรียกว่า “ลายเครือดอก” มีองค์ประกอบสาคัญ ๓ ประการ ได้แก่ เครือ ดอก และใบ ในยุคปลายราชวงศ์มัง รายได้พัฒนาให้มีความสลับซับซ้อนขึ้น ๕ ประการ ได้แก่ ผลไม้หรือดอกตบ และแมง คือ สัตว์ชนิด ต่างๆ และสัตว์หิมพานต์ โดยการเก็บข้อมูลใน ๘ จังหวัดภาคเหนือ แล้วนาข้อมูลมาสังเคราะห์เป็น ศิลปกรรมรูปแบบใหม่ เช่น ลายดอกล้านนา ลายนาคทันต์ล้านนา ลายเครือดอกบัวสวรรค์ ลายหน้า จีด ลายเมฆ ลายโก่งคิ้วลายนกแซมเครือดอกพุดตาน ลายเศียรมกร ลายมัจฉาเวียงบัว การศึกษาประวัติศาสตร์ความเป็นมาของศิลปกรรมในล้านนา ประกอบด้วยพื้นที่ แหล่ง โบราณคดีดอยเวียง – ดอยวง อาเภอแม่สรวย จังหวัดเชียงราย แหล่งโบราณคดีผาคันนา อาเภอ จอมทอง จังหวัดเชียงใหม่ แหล่งโบราณคดีวังไฮ อาเภอเมืองลาพูน จังหวัดลาพูน แหล่งโบราณคดี ประตูผา อาเภอแม่เมาะ จังหวัดลาปาง แหล่งโบราณคดีเวียงบัว อาเภอเมือง จังหวัดพะเยาแหล่ง โบราณคดีคุ้มวิชัยราชา อาเภอเมือง จังหวัดแพร่ แหล่งโบราณคดีเขาภูซาง อาเภอเมือง จังหวัดน่าน แหล่งโบราณคดีถ้าน้าลอด ถ้าผีแมน อาเภอปางมะผ้า จังหวัดแม่ฮ่องสอน หลังจากนั้น นามา สังเคราะห์เป็นชุดความรู้ศิลปกรรมในล้านนา การเสริมสร้างความรู้ทางศิลปกรรมล้านนา แก่เยาวชน นิสิต นักศึกษา และชุมชน ๘ จังหวัดภาคเหนือ และการสร้างเมืองศิลปะเชิงสร้างสรรค์ พบว่า ผู้วิจัยได้จัดกิจกรรมถ่ายทอดในการ พัฒนาเป็นแหล่งเรียนรู้ทางวัฒนธรรมของท้องถิ่น อย่างมีส่วนร่วมหลากหลายกิจกรรม ได้แก่ การจัด ข กิจกรรมการสอนและแนะนาความรู้เทคนิคด้านการทางานที่เกี่ยวข้องกับงานศิลปะแก่นิสิต นักศึกษา และผู้สนใจในงานศิลปะด้านการส่งเสริมคุณภาพศิลปกรรมในการสร้างสรรค์ศิลปะล้านนาร่วมกับ ชุมชนภาคเหนือตอนบน เพื่อปลูกฝังความรักในงานศิลปะ ความศรัทธาต่อพระพุทธศาสนา และปลูก จิตสานึกในศิลปวัฒนธรรมของท้องถิ่นในพื้นที่วิจัย ๘ แห่ง และกิจกรรมการส่งเสริมการศึกษาการ พัฒนาคุณภาพศิลปะ และการสร้างเมืองศิลปะเชิงสร้างสรรค์ต่อการเกิดองค์ความรู้ศิลปกรรมใน ล้านนาสู่การสร้างสรรค์ใหม่ การสังเคราะห์องค์ความรู้งานศิลปกรรมล้านนา ในการส่งเสริมการศึกษาการพัฒนา คุณภาพทางศิลปะ และการสร้างเมืองศิลปะเชิงสร้างสรรค์ โดยได้เผยแพร่ผลงานที่ได้จากงานวิจัยสู่ สาธารณชนในหลายช่องทาง ได้แก่ การจัดประชุมสัมมนากับแกนนาชุมชน และพระสงฆ์ในการ ขับเคลื่อนผลงานศิลปกรรมล้านนาที่ได้สร้างสรรค์ ให้เป็นแหล่งเรียนรู้ การให้สัมภาษณ์ และถ่ายทา ข้อมูลเผยแพร่งานวิจัยของหนังสือพิมพ์เชียงใหม่นิวส์ การนาเสนอผลงานวิจัยร่วมติดตั้งจัดแสดง นิทรรศการ ณ หอนิทรรศการศิลปวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ณ หอนิทรรศการศิลปวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา วิทยาเขตภาคพายัพ
URI: http://mcuir.mcu.ac.th:8080/jspui/handle/123456789/631
Appears in Collections:รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
2563-001ปฏิเวธ เสาว์คง.pdf39.2 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.