Please use this identifier to cite or link to this item: http://mcuir.mcu.ac.th:8080/jspui/handle/123456789/630
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.authorใยอินทร์, เอนก-
dc.contributor.authorภูริปญฺโญ, พระครูสังฆรักษ์จักรกฤษณ์-
dc.contributor.authorเจริญวงค์, พระคมสัน-
dc.date.accessioned2022-03-26T07:56:14Z-
dc.date.available2022-03-26T07:56:14Z-
dc.date.issued2563-
dc.identifier.urihttp://mcuir.mcu.ac.th:8080/jspui/handle/123456789/630-
dc.description.abstractการวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ ๑) ศึกษาภูมิปัญญาท้องถิ่นของอำเภอหนองบัว จังหวัด นครสวรรค์ ๒) ต่อยอดภูมิปัญญาท้องถิ่นของอำเภอหนองบัว จังหวัดนครสวรรค์ ๓) พัฒนาผลิตภัณฑ์ และกิจกรรมการท่องเที่ยวของอำเภอหนองบัว จังหวัดนครสวรรค์ เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) เก็บรวบรวมข้อมูลโดยการค้นคว้าเอกสาร (Documentary Research) และภาคสนาม (Action Research) โดยสัมภาษณ์เชิงลึก (In-depth Interview) จากผู้ให้ข้อมูล สำคัญ จำนวน ๓๐ รูป/คน เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษา ประกอบด้วย การสังเกตแบบมีส่วนร่วม การ ประชุมเชิงปฏิบัติการ แบบสัมภาษณ์ที่มีโครงสร้าง และการสนทนากลุ่มเฉพาะโดยผู้เชี่ยวชาญ ๑๐ รูป/คน เก็บรวบรวมข้อมูลด้วยตนเอง วิเคราะห์ข้อมูลโดยวิธีการวิเคราะห์เนื้อหา (Content analysis) ผลการวิจัยพบว่า ๑. อำเภอหนองบัว จังหวัดนครสวรรค์ ในอดีตเคยเป็นที่ตั้งของชุมชนโบราณสมัยทวาราว ดี ปรากฏหลักฐาน อาทิ ลูกปัดหิน ภาชนะดินเผา ขวานหินขัด จากแหล่งโบราณคดีหนองสรวง บริเวณโดยรอบรายล้อมไปด้วยเมืองโบราณ อาทิ เมืองศรีเทพ เมืองไพศาลี เมืองไม้เดน แต่ความ เจริญรุ่งเรืองขาดความต่อเนื่อง อาจเป็นเพราะอำเภอหนองบัวไม่มีเส้นทางคมนาคมทางน้ำ และเผชิญ กับภาวะสงคราม นอกจากนั้นยังพบว่าวัดหนองม่วงเป็นวัดเก่าแก่ ปรากฏหลักฐานทางโบราณคดีที่ เชื่อมโยงกับศิลปะสมัยทวารวดี อาทิ ใบเสมาหินธรรมชาติ ๘ ทิศ บริเวณอุโบสถเก่า และพบเศษอิฐ สมัยอยุธยาที่วัดหนองม่วงและวัดเนินโบสถ์บริเวณทิศตะวันตกใกล้กับชุมชน ส่วนการสืบค้น ศิลปวัฒนธรรม ประเพณีรวมถึงวิถีชีวิตนั้น ราว ๑๕๐ ปีที่ผ่านมา พบว่ามีการเคลื่อนย้ายผู้คนอยู่ ตลอดเวลาทำให้อำเภอหนองบัวมีคนหลายกลุ่มเข้ามาอาศัยร่วมกับกลุ่มคนพื้นถิ่น อาทิ กลุ่มชาวลาว กลุ่มชาวโคราช และกลุ่มพ่อค้าชาวจีน ปัจจุบันได้หลอมรวมกันเป็นวัฒนธรรมร่วมที่มีเอกลักษณ์ เฉพาะของชาวอำเภอหนองบัว ๒. ภูมิปัญญาท้องถิ่นของอำเภอหนองบัว จากผลการศึกษาสามารถแบ่งออกเป็น ๙ ด้าน ได้แก่ ภูมิปัญญาท้องถิ่นด้านเกษตรกรรม ด้านอุตสาหกรรม ด้านการแพทย์ ด้านการจัดการ ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ด้านกองทุนและธุรกิจชุมชน ด้านศิลปกรรม ด้านภาษาและ วรรณกรรม ด้านปรัชญา ศาสนา ประเพณี และด้านโภชนาการ ๓. กระบวนการต่อยอดภูมิปัญญา เป็นการคัดเลือกเฉพาะภูมิปัญญาในชุมชนที่สามารถ ต่อยอดเป็นสินและบริการต่างๆ ที่สำคัญจะต้องสอดรับกับการแผนการท่องเที่ยวของชุมชนสู่ และมี มูลค่าทางด้านเศรษฐกิจ มีการขับเคลื่อนเชิงกระบวนการแบ่งออกเป็น ๕ ขั้นตอน ได้แก่ ๑) การ (ข) รวบรวมภูมิปัญญาท้องถิ่น ๒) การจัดกลุ่มอาชีพ ๓) การพัฒนามาตรฐานผลิตภัณฑ์ ๔) การพัฒนา บรรจุภัณฑ์และเครื่องหมายการค้า ๕) ระบบการบริหารจัดการ ภายในกลุ่มและการกำกับดูแลจาก คณะกรรมการที่วัดหนองม่วงแต่ตั้งขึ้นมีบทบาทในการพัฒนาทักษะวิชาชีพ องค์ความรู้สมัยใหม่ และ การบริหารจัดการที่เป็นระบบ เพื่อให้กลุ่มอาชีพเกิดความยั่งยืน ๔. นอกจากจะมีผลิตภัณฑ์ที่มีคุณภาพมาตรฐานแล้ว เครือข่ายได้ร่วมมือกันสร้างแผนที่ ท่องเที่ยวที่เชื่อมโยงของดีชุมชนทั้ง ๓ ด้าน ได้แก่ เครือข่ายชุมชนวิถีพอเพียง วิถีไทยวิถีธรรมและนวัต วิถีของดีอำเภอหนองบัว โดยการนำของดีที่อยู่ในชุมชน อาทิ สินค้า บริการ สถานที่ท่องเที่ยวเชิง วัฒนธรรมบรรจุไว้ในแผนส่งเสริมการท่องเที่ยว และประชาสัมพันธ์เชิญชวนในนักท่องเที่ยวเข้ามา เยี่ยมชม เป็นส่งเสริมเศรษฐกิจฐานรายโดยการกระจายรายได้ไปยังชุมชนen_US
dc.publisherสถาบันวิจัยพุทธศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัยen_US
dc.subjectนวัตวิถีของดีชุมชนen_US
dc.subjectการต่อยอดภูมิปัญญาen_US
dc.subjectการเพิ่มมูลค่าทางเศรษฐกิจen_US
dc.titleนวัตวิถีของดีชุมชน : การต่อยอดภูมิปัญญาสู่การเพิ่มมูลค่าทางเศรษฐกิจen_US
dc.title.alternativeInnovation of Good Things in the Community: The Extension of Wisdom to Economic Value Additionen_US
dc.typeThesisen_US
Appears in Collections:รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
2563-008ดร.เอนก ใยอินทร์.pdf6.37 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.