Please use this identifier to cite or link to this item: http://mcuir.mcu.ac.th:8080/jspui/handle/123456789/629
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.authorพระครูวุฒิธรรมบัณฑิต-
dc.contributor.authorพระครูจินดาสารนุกูล-
dc.contributor.authorสิริวณฺโณ, พระมหาจำนงค์-
dc.contributor.authorศรไชย, ประยงค์-
dc.contributor.authorอุดมโชคนามอ่อน, ไชยสิทธิ์-
dc.contributor.authorศรีบุรินทร์, เอกชัย-
dc.date.accessioned2022-03-26T07:53:53Z-
dc.date.available2022-03-26T07:53:53Z-
dc.date.issued2563-
dc.identifier.urihttp://mcuir.mcu.ac.th:8080/jspui/handle/123456789/629-
dc.description.abstractการวิจัยฉบับนี้มีวัตถุประสงค์ คือ ๑) เพื่อศึกษาและสำรวจวรรณกรรมใบลานในกลุ่มจังหวัดลุ่ม แม่น้ำโขงตอนกลางของประเทศไทย ๒) เพื่อปริวรรตเนื้อหาวรรณกรรมใบลานที่สำคัญในกลุ่มจังหวัดลุ่ม แม่น้ำโขงตอนบนของประเทศไทย ๓) เพื่อวิเคราะห์ประโยชน์ของวรรณกรรม ลุ่มน้ำโขงต่อการอนุรักรักษา เพื่อนำมาใช้ในชีวิตประจำวันในปัจจุบัน และ ๔) เพื่อสร้างเครือข่ายหมู่บ้านชุมชนต้นแบบวรรณกรรม ลุ่ม น้ำโขงต่อการท่องเที่ยวที่ยั่งยืน การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยแบบผสมผสาน ได้แก่ วิจัยเชิงเอกสาร เพื่อสร้าง แบบสัมภาษณ์เชิงลึก วิจัยเชิงคุณภาพในภาคสนาม ผู้วิจัยใช้วิธีการเลือกพื้นที่แบบเจาะจง ในการเก็บ รวบรวมข้อมูล จำนวน ๔ จังหวัด ๆ ละ ๑ แห่ง เป็นตัวแทนของจังหวัด ดังนี้ ๑) ชุมชนวัดสุทธิวนาราม อำเภอปากคาด จังหวัดบึงกาฬ ๒) ชุมชนวัดอุดมเขต (นาคลอง) ตำบลวัดธาตุ อำเภอเมือง จังหวัด หนองคาย ๓) ชุมชนวัดโพธิ์ศรี บ้านโพนแพง ตำบลโพนแพง อำเภอนครพนม จังหวัดนครพนม ๔) ชุมชน วัดโพธิ์ไทร บ้านทรายใหญ่ เทศบาลเมืองมุกดาหาร จังหวัดมุกดาหาร ประชากรในการศึกษาวิจัยในครั้งนี้ ได้แก่ ผู้ให้ข้อมูลสำคัญ แต่ละชุมชน ๆ ละ ๕ รูป/คน รวม ๒๐ รูป/คน แบ่งเป็น ผู้บริหาร ๔ รูป/คน ผู้ ปฏิบัติการ ๔ รูป/คน และ ผู้ใช้ประโยชน์ ๑๒ รูป/และ วิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม (PAR) ใน ภาคสนาม โดยจัดให้มีชุดปฏิบัติการในการสร้างและพัฒนาเครือข่ายชุมชนอนุรักษ์วรรณกรรมใบลานใน กลุ่มจังหวัดลุ่มแม่น้ำโขง ประเทศไทย ผลการวิจัยพบว่า ๑. วรรณกรรมใบลาน ในกลุ่มจังหวัดลุ่มแม่น้ำโขงตอนกลางของประเทศไทย ได้แก่ จังหวัด หนองคาย บึงกาฬ นครพนมและมุกดาหาร พบเป็นอักษรธรรมอีสาน เมื่อสำรวจแล้ว ได้แบ่งออกเป็น ๑๓ หมวด ได้แก่ ๑) พระวินัย ๒) พระสุตตันปิฎก ๓) พระอภิธรรม ๔) ชาดก ๕) โอวาทคำสอน ๖) ประเพณี – พิธีกรรม ๗) ธรรมทั่วไป ๘) นิยายธรรม ๙) นิยายพื้นบ้าน ๑๐) อานิสงส์ ๑๑) ตำราโหราศาสตร์ ๑๒) กวีนิพนธ์,ร้อยกรองและ ๑๓) ตำรายา โดยประยุกต์จากเกณฑ์การจัดหมวดคัมภีร์ ใบลานของตามแบบหลัก สถาบันวิจัยสังคม มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ๒. วรรณกรรมใบลานที่สำคัญในกลุ่มจังหวัดลุ่มแม่น้ำโขงตอนกลางของประเทศไทยที่คัดเลือก นำมาปริวรรต ได้ แก่ เรื่อง มหาเวสสันดรชาดก เนื่องจากเป็นที่นิยมในการถวายไว้กับวัดมากที่สุดและมี อิทธิพลต่อวิถีชีวิตของชุมชนในกลุ่มจังหวัดลุ่มแม่น้ำโขงตอนกล่างอย่างมาก นอกจากนั้นยังมีวรรณกรรมที่ สำคัญในกลุ่มจังหวัดลุ่มแม่น้ำโขงตอนกลางของประเทศไทย ที่ประชาชนนำมาเป็นคติสอนใจ คือ วรรณกรรมเรื่อง“กำพร้าปลาแดก”(ปลาแดกปลาสมอ) ซึ่งเป็นวรรณกรรมที่แสดงถึงความอดทน มีความซื่อสัตย์ จนสามารถประสบผลสำเร็จได้ ข ๓. ประโยชน์ของวรรณกรรมลุ่มน้ำโขงต่อการอนุรักรักษาเพื่อนำมาใช้ในชีวิตประจำวัน ในปัจจุบัน คือ วรรณกรรมมหาเวสสันดรชาดก ด้วยอิทธิพลของวรรณกรรมเรื่องนี้ ได้ส่งผลประโยชน์ ต่อวิถี ชีวิตชุมชนในกลุ่มจังหวัดลุ่มแม่น้ำโขงตอนกลางของประเทศไทย ใน ๔ ด้าน คือ ๑) ด้านสังคม ได้แก่ ความเชื่อในเรื่องของการทำทานวิถีชีวิตการให้และประเพณีวัฒนธรรมการมีส่วนร่วมของชุมชน ๒) ด้านเศรษฐกิจ ได้แก่ อาชีพและการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมของชุมชน ๓) ด้านพุทธศิลปกรรม ได้แก่ จิตรกรรม ประติมากรรมและสถาปัตยกรรมและ ๔) ด้านภูมิปัญญาท้องถิ่น ได้แก่ วรรณศิลป์ และ ผลิตภัณฑ์อัตลักษณ์ชุมชน วรรณ กรรมมหาเวสสันดรชาดก กลายเป็นประเพณีที่แต่ละ ชุมชน ต้องทำเป็นประจำทุกปี ๔. การสร้างเครือข่ายชุมชนอนุรักษ์วรรณกรรมใบลานในกลุ่มจังหวัดลุ่มแม่น้ำโขงตอนกลางของ ประเทศไทย มีการสร้างเครือข่ายการอนุรักษ์วรรณกรรมใบลานอย่างสร้างสรรค์ เขตลุ่มแม่น้ำโขงตอนบน ตอนกลางและตอนล่างของประเทศไทย โดยมีกระบวนการ ๔ ขั้นตอน ได้แก่ ๑) การทำ MOU แต่ละ จังหวัดในเขตลุ่มแม่น้ำโขงตอนกลาง ๒) พัฒนาชุมชนเครือข่ายอนุรักษ์คัมภีร์ใบลานต้นแบบประจำจังหวัด ๓) การพัฒนาชุมชนอนุรักษ์คัมภีร์ใบลานต้นแบบประจำกลุ่มจังหวัดลุ่มแม่นำโขงตอนกลาง และ ๔) การทำ MOU กับ เครือข่ายการอนุรักษ์วรรณกรรมใบลานอย่างสร้างสรรค์ ในกลุ่มจังหวัดลุ่มแม่น้ำโขงตอนบน ตอนกลางและตอนล่าง ของประเทศไทยen_US
dc.publisherสถาบันวิจัยพุทธศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัยen_US
dc.subjectนวัตวิถีen_US
dc.subjectวัฒนธรรมชุมชนen_US
dc.subjectการสำรวจวรรณกรรมใบลานen_US
dc.subjectลุ่มแม่น้ำโขงตอนกลางen_US
dc.titleนวัตวิถีวัฒนธรรมชุมชนกับการสำรวจวรรณกรรมใบลาน ลุ่มแม่น้ำโขงตอนกลางen_US
dc.title.alternativeThe Innovative Community Culture and Palm Leaf Literature Survey in the Middle Mekong River Basinen_US
dc.typeThesisen_US
Appears in Collections:รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
2563-083 พระครูวุฒิธรรมบัณฑิต รศ.ดร..pdf8.2 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.