Please use this identifier to cite or link to this item: http://mcuir.mcu.ac.th:8080/jspui/handle/123456789/628
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.authorเอกจันทร์, เทวัญ-
dc.contributor.authorตาสนธิ, สมบูรณ์-
dc.contributor.authorโคตรสุโพธิ์, พิสิฏฐ์-
dc.contributor.authorปัญญาจีน, ประดิษฐ์-
dc.contributor.authorปิ่นแก้ว, จิตรเทพ-
dc.date.accessioned2022-03-26T07:50:25Z-
dc.date.available2022-03-26T07:50:25Z-
dc.date.issued2563-
dc.identifier.urihttp://mcuir.mcu.ac.th:8080/jspui/handle/123456789/628-
dc.description.abstractการวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์ ๓ ประการคือ (๑) เพื่อศึกษาประวัติความเป็นมาของพุทธ ศิลปกรรมในล้านนา (๒) เพื่อเสริมสร้างความรู้ทางพุทธศิลปกรรมล้านนา แก่เยาวชน นิสิต นักศึกษา และ ชุมชน ๘ จังหวัดภาคเหนือ และ (๓) เพื่อสังเคราะห์องค์ความรู้พุทธศิลปกรรมล้านนา ในการส่งเสริม การศึกษาการพัฒนาคุณภาพศิลปะ และการสร้างเมืองศิลปะเชิงสร้างสรรค์ การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิง ปฏิบัติการ (Action Research) โดยการศึกษาศิลปกรรมในล้านนา ใน ๘ จังหวัดภาคเหนือตอนบน ผลของการศึกษา พบว่า ประวัติความเป็นมาของพุทธศิลปกรรมในล้านนา เกิดขึ้นเมื่อ ได้รับอิทธิพลการเผยแผ่เข้ามาของพระพุทธศาสนา จาแนกออกเป็นแต่ละยุคดังนี้ ยุคที่ ๑ พระพุทธ ศิลปกรรมล้านนาสมัยอาณาจักรหริภุญชัย ก่อนที่พระพุทธศาสนาจะเผยแผ่เข้ามาในล้านนา ชน พื้นเมืองนับถือคติความเชื่อแบบวิญญาณนิยม มีการสร้างบ้านแปงเมืองโบราณ เช่น เวียงเจ็ดลิน ต่อมาได้มีการสถาปนาอาณาจักรหริภัญชัยขึ้น โดยได้รับอิทธิพลทางพุทธศิลปะแบบหินยานจาก อาณาจักรละโว้ (ลพบุรี) ยุคที่ ๒ พุทธศิลปกรรมล้านนาสมัยอาณาจักรเชียงแสน ศิลปะสมัยเชียงแสน – โยนก เรียกตามชื่อเมืองโยนกเชียงแสน ตั้งอยู่ริมแม่น้าโขงท้องที่อาเภอเชียงแสนจังหวัดเชียงรายใน ปัจจุบัน ได้รับอิทธิพลจากศิลปะทวาราวดี และละโว้ (ลพบุรี) เป็นการผสมผสานกันของพุทธศิลปะ แบบมหายาน ทาให้ศิลปะแบบโยนก-เชียงแสน ได้รับอิทธิพลแบบผสผสาน ยุคที่ ๓ พุทธศิลปกรรม ล้านนาสมัยอาณาจักรล้านนา ในราวพุทธศตวรรษที่ ๑๙ ถึง ๒๑ โดยพญามังราย ได้สถาปนาเมือง เชียงใหม่ขึ้น และมีพัฒนาการมาอย่างต่อเนื่องยาวนาน เป็นยุคที่รุ่งเรืองที่สุดทั้งทางด้านศิลปะและ วัฒนธรรม และยุคที่ ๔ พุทธศิลปกรรมล้านนาสมัยปัจจุบัน สมัยเมืองประเทศราช และเมืองขึ้นของ สยาม ศูนย์กลางอานาจเดิมยังคงอยู่ที่เชียงใหม่ แต่ในยุคนี้ มีความหลากหลายทางด้านรูปแบบและคง เอกลักษณ์เป็นงานศิลปะแบบพื้นถิ่น ศิลปะพม่า จีน ไทย และมีความหลากหลายทั้งทางด้านรูปแบบ วัสดุ และงานประดับ ข การเสริมสร้างความรู้ทางพุทธศิลปกรรมล้านนา แก่เยาวชน นิสิต นักศึกษา และชุมชน เขตภาคเหนือ พบว่า อัตลักษณ์ของพุทธศิลปกรรมในล้านนาที่มีคุณค่าเชิงศิลปะและการออกแบบ เป็นอัตลักษณ์ที่เป็นรูปธรรม สามารถนามาเป็นข้อมูลพื้นฐานสู่การออกแบบในรูปแบบต่างๆ ได้จึงได้มี แนวคิดในการนาพุทธศิลป์ล้านนา ที่มีรูปแบบที่มีลักษณะโดดเด่นเฉพาะตัวมีความวิจิตรงดงาม ซึ่งเป็น ความงดงามที่แสดงถึงอัตลักษณ์ทางวัฒนธรรมของล้านนาโดยใช้แบบอย่างรูปร่าง รูปทรงจากสิ่งของ เครื่องใช้ เครื่องสักการะโบราณต่างๆ เพื่อเป็นการนาเสนอเผยแพร่พุทธศิลปกรรมแบบล้านนาใน รูปแบบต่างๆ ดังนี้ จิตรกรรม ประติมากรรมสถาปัตยกรรม โดยการเสริมสร้างความรู้ทางพุทธ ศิลปกรรมล้านนา แก่เยาวชน นิสิต นักศึกษา และชุมชนเขตภาคเหนือ ทั้งในด้านจิตรกรรม มีหลาย สกุล เช่น สกุลช่างเชียงใหม่ สกุลช่างไทใหญ่ สกุลช่างน่าน ประติมากรรม มีความนิยมในการสร้าง พระพุทธปฏิมาก็แพร่หลาย จากวัสดุที่หาได้ง่ายในท้องถิ่น อาทิ ไม้ ดิน หิน และทองคา พระพุทธรูป ในล้านนาที่ปรากฏเป็นที่รู้จักในฐานะพระพุทธรูปคู่บ้านคู่เมือง และสถาปัตยกรรม คือ การสร้างพระ เจดีย์ การประดับตกแต่งด้วยปูนปั้น โลหะ ส่วนวิหาร หอไตร และอุโบสถนั้น มักใช้ไม้เป็น องค์ประกอบองค์ความรู้พุทธศิลปกรรมล้านนาในการส่งเสริมการศึกษาการพัฒนาคุณภาพศิลปะ และ การสร้างเมืองศิลปะเชิงสร้างสรรค์ มีกิจกรรม ดังนี้ ๑. กิจกรรมสร้างสรรค์ผลงานศิลปกรรมล้านนาวิถีใหม่ จากการศึกษาค้นคว้าศิลปกรรมใน อดีต โดยการใช้มุมมองของทีมงานวิจัย และศิลปินผู้ทรงคุณวุฒิ เพื่อสร้างสรรค์ผลงานลายเส้นที่ได้ จากการระดมความคิดแสวงหาการสร้างสรรค์งานพุทธศิลปกรรมล้านนาใหม่ ได้แก่ ลายบัว ลายกรวย เชิง ๒. กิจกรรมการถ่ายทอดองค์ความรู้หรือถอดบทเรียนพุทธศิลป์ จากการจัดกิจกรรมการ เรียนรู้การส่งเสริมการศึกษาการพัฒนาคุณภาพงานพุทธศิลป์ ในการสร้างสรรค์แบบร่วมสมัยที่เกิด จากการสังเคราะห์ ที่มีประโยชน์ในการพัฒนาเป็นแหล่งเรียนรู้ทางวัฒนธรรมของท้องถิ่นที่สาคัญของ ล้านนาแบบมีส่วนร่วมกับชุมชน ๓. กิจกรรมขยายเครือข่ายและเผยแพร่พุทธศิลป์สู่สังคม เป็นส่วนหนึ่งของการเรียนรู้ ร่วมกันจากการระดมความคิด การแลกเปลี่ยนประสบการณ์และเรียนรู้ร่วมกันระหว่างเครือข่ายทีม งานวิจัย นิสิต นักศึกษา นักเรียน พระสงฆ์ ผู้ทรงคุณวุฒิ และเครือข่ายอื่นๆ ทาให้การสร้างพื้นที่ใน การเรียนรู้ของเครือข่ายการสร้างสรรค์งานพุทธศิลปกรรมล้านนา อีกประการหนึ่ง เพื่อเป็นการ ส่งเสริมการท่องเที่ยวสถานที่สาคัญทางพระพุทธศาสนาที่เกิดจากการสร้างสรรค์ที่เรียกว่า “พุทธศิลป์ ล้านนา”en_US
dc.publisherสถาบันวิจัยพุทธศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัยen_US
dc.subjectพุทธศิลปกรรมen_US
dc.subjectประวัติศาสตร์ศิลป์en_US
dc.subjectล้านนาen_US
dc.titleการสังเคราะห์องค์ความรู้พุทธศิลปกรรมในล้านนาen_US
dc.title.alternativeThe Critical of Buddhist Art Knowledge in Lannaen_US
dc.typeThesisen_US
Appears in Collections:รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
2563-001เทวัญ เอกจันทร์.pdf38.57 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.