Please use this identifier to cite or link to this item: http://mcuir.mcu.ac.th:8080/jspui/handle/123456789/627
Title: นวัตวิถีวัฒนธรรมชุมชนกับการสำรวจวรรณกรรมใบลานลุ่มแม่น้ำโขงตอนบน
Other Titles: An Innovations in Community Culture and Literature Survey Upper Mekong River Basin.
Authors: พุทฺธชาโต, พระมหาฉัตรเทพ
ชยสิทฺธิ, พระมหาสิทธิชัย
พระครูวุฒิธรรมบัณฑิต
พระครูจินดาสารนุกูล
อุดมโชคนามอ่อน, ไชยสิทธิ์
Keywords: นวัตวิถี
วัฒนธรรมชุมชน
การสำรวจวรรณกรรมใบลาน
ลุ่มแม่น้ำโขงตอนบน
Issue Date: 2563
Publisher: สถาบันวิจัยพุทธศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยฉบับนี้มีวัตถุประสงค์ คือ ๑) เพื่อศึกษากระบวนการอนุรักษ์คัมภีร์ใบลานและสำรวจวรรณกรรมใบลานในกลุ่มจังหวัดลุ่มแม่น้ำโขงตอนบนของประเทศไทย ๒) เพื่อปริวรรตเนื้อหาวรรณกรรมใบลานที่สำคัญในกลุ่มจังหวัดลุ่มแม่น้ำโขงตอนบนของประเทศไทย ๓) เพื่อวิเคราะห์ประโยชน์ของวรรณกรรมใบลานที่สำคัญทีมีต่อชุมชน ในกลุ่มจังหวัดลุ่มแม่น้ำโขงตอนบนของประเทศไทย และ ๔) เพื่อสร้างเครือข่ายชุมชนอนุรักษ์วรรณกรรมใบลานในกลุ่มจังหวัดลุ่มแม่น้ำโขงตอนบนของประเทศไทย การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยแบบผสมผสาน ได้แก่ วิจัยเชิงเอกสาร เพื่อสร้างแบบสัมภาษณ์เชิงลึก วิจัยเชิงคุณภาพในภาคสนาม ผู้วิจัยใช้วิธีการเลือกพื้นที่แบบเจาะจง ในการเก็บรวบรวมข้อมูล จำนวน ๕ จังหวัด ๆ ละ ๑ แห่ง เป็นตัวแทนของจังหวัด ดังนี้ ๑ ) ชุมชนวัดศรีบุญเรือง อ.เมืองเชียงราย จ.เชียงราย ๒) ชุมชนวัดหลวงราชสัณฐาน อ.เมืองพะเยา จ.พะเยา ๓ ) ชุมชนวัดพระเกิด อ.เมืองน่าน จ.น่าน ๔) ขุมชนวัดสูงเม่น อ.สูเม่น จ.แพร่ และ ๕) ชุมชนวัดศรีจันทร์ อ.เมือง จ.เลย ประชากรในการศึกษาวิจัยในครั้งนี้ ได้แก่ ผู้ให้ข้อมูลสำคัญ แต่ละชุมชน ๆ ละ ๕ รูป/คน รวม ๒๕ รูป/คน แบ่งเป็น ผู้บริหาร ๕ รูป/คน ผู้ปฏิบัติการ ๕ รูป/คน และ ผู้ใช้ประโยชน์ ๑๕ รูป/ และ วิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม (PAR) ในภาคสนาม โดยจัดให้มีชุดปฏิบัติการในการสร้างและพัฒนาเครือข่ายชุมชนอนุรักษ์วรรณกรรมใบลานในกลุ่มจังหวัดลุ่มแม่น้ำโขง ประเทศไทย ผลการวิจัยพบว่า ๑ กระบวนการอนุรักษ์วรรณกรรมใบลาน ในกลุ่มจังหวัดลุ่มแม่น้ำโขงตอนบนของประเทศไทย มีกระบวนการอนุรักษ์ ๗ กระบวนการ ดังนี้ ๑) การสืบค้นและให้ความรู้ ๒) การพัฒนากิจกรรมการอนุรักษ์ ๓) การปฏิบัติการการอนุรักษ์ ๔) การสร้างการมีส่วนร่วม ๕) การพัฒนาความรู้ ๖ การสร้างศูนย์เรียนรู้ และ ๗) การเผยแพร่สู่สาธารณะ ๒. วรรณกรรมใบลาน ในกลุ่มจังหวัดลุ่มแม่น้ำโขงตอนบนของประเทศไทย ได้แก่ จังหวัดเชียงราย พะเยา แพร่ และ น่าน พบเป็นอักษรธรรมล้านนา และ จังหวัดเลย พบเป็นอักษรธรรมอีสาน เมื่อสำรวจแล้ว ได้แบ่งออกเป็น ๑๓ หมวด ได้แก่ ๑) คัมภีร์ภาษาบาลีล้วน ๒) บทสวดมนต์ ๓) อานิสงส์ ๔) ชาดก ๕) โอวาทคำสอน ๖) ประเพณี – พิธีกรรม ๗) ธรรมทั่วไป ๘) นิยายธรรม ๙) นิยายพื้นบ้าน ๑๐) ตำนานพระพุทธศาสนา ๑๑) กฎหมาย ๑๒) กวีนิพนธ์,ร้อยกรอง และ ข ๑๓) ตำรายา โดยประยุกต์จากเกณฑ์การจัดหมวดคัมภีร์ใบลานของตามแบบหลัก สถาบันวิจัยสังคม มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ โดยมีจำนวนเรื่องที่พบ (ชื่อเรื่องที่ไม่ซ้ำกัน) มีรวมทั้งหมด ๙๐๗ เรื่อง ๓. วรรณกรรมใบลานที่สำคัญในกลุ่มจังหวัดลุ่มแม่น้ำโขงตอนบนของประเทศไทย ที่คัดเลือกนำมาปริวรรต ได้ แก่ เรื่อง มหาเวสสันดรชาดก เนื่องจากเป็นที่นิยมในการถวายไว้กับวัดมากที่สุดและมีอิทธิพลต่อวิถีชีวิตของชุมชนในกลุ่มจังหวัดลุ่มแม่น้ำโขงตอนบนอย่างมาก โดยมีสำนวนที่พบกว่า ๑๐๐ สำนวน ซึ่งในงานวิจัยในครั้งนี้ ได้คัดเลือก จำนวน ๓ ผูก (เรื่อง) จากจำนวนเต็ม ๑๖ ผูก (เรื่อง) นำมาปริวรรตจากอักษรธรรมล้านนาเป็นอักษรไทย ได้แก่ ๑) อานิสงส์เวสสันตระ จำนวน ๑ ผูก มี ๔๐ หน้าใบลาน ๒) กัณฑ์กุมาร จำนวน ๑ ผูก มี ๕๐ หน้าใบลาน และ ๓) กัณฑ์มัทรี จำนวน ๑ ผูก มี ๕๕ หน้าใบลาน เป็นฉบับของวัดสูงเม่น อำเภอสูงเม่น จังหวัดแพร่ สำนวนฉบับวงศา ซึ่งได้จาร (สร้างขึ้น) จ.ศ.๑๑๘๒ ซึ่งตรงกับ พ.ศ.๒๓๖๓ ณ วัดสูงเม่น โดยหลวงปู่ครุบากัญจนอรัญวาสีมหาเถร อดีตเจ้าอาวาสวัดสุงเม่น และ ได้รับการยกย่องว่าเป็น ปฐมสังฆครูบาแห่งล้านนาไทย ผู้สร้างคัมภีร์ใบลานล้านนามากที่สุดในโลก ๔.ประโยชน์ของวรรณกรรมใบลานที่สำคัญ ทีมีต่อชุมชน ในกลุ่มจังหวัดลุ่มแม่น้ำโขงตอนบนของประเทศไทย ในที่นี้ คือ วรรณกรรมมหาเวสสันดรชาดก ด้วยอิทธิพลของวรรณกรรมเรื่องนี้ ได้ส่งผลประโยชน์ ต่อวิถีชีวิตชุมชนในกลุ่มจังหวัดลุ่มแม่น้ำโขงตอนบนของประเทศไทย จำนวน ๕ ด้าน ประกอบด้วย ๑) ด้านสังคม ได้แก่ วิถีชีวิตการให้ และ ประเพณีวัฒนธรรมการมีส่วนร่วม ๒) ด้านเศรษฐกิจ ได้แก่ อาชีพ และ การท่องเที่ยว ๓) ด้านสิ่งแวดล้อม ได้แก่ ระดับวัด ระดับชุมชน และ ระดับสาธารณะ ๔) ด้านพุทธศิลปกรรม ได้แก่ จิตรกรรม ประติมากรรม และ สถาปัตยกรรม และ ๕) ด้านภูมิปัญญาท้องถิ่น ได้แก่ วรรณศิลป์ และ ผลิตภัณฑ์อัตลักษณ์ชุมชน ๕. การสร้างเครือข่ายชุมชนอนุรักษ์วรรณกรรมใบลานในกลุ่มจังหวัดลุ่มแม่น้ำโขงตอนบนของประเทศไทย ประกอบด้วย ๒ เครือข่ายใหญ่ ได้แก่ ๑) เครือข่ายชุมชนอนุรักษ์วรรณกรรมใบลาน ๕ จังหวัดลุ่มแม่น้ำโขงตอนบนของประเทศไทย และ ๒) เครือข่ายการอนุรักษ์วรรณกรรมใบลานอย่างสร้างสรรค์ เขตลุ่มแม่น้ำโขงตอนบน ตอนกลาง และ ตอนล่าง ของประเทศไทย โดยมีกระบวนการ ๔ ขั้นตอน ได้แก่ ๑) การทำ MOU แต่ละจังหวัดในเขตลุ่มแม่น้ำโขงตอนบน ๒) พัฒนาชุมชนเครือข่ายอนุรักษ์คัมภีร์ใบลานต้นแบบประจำจังหวัด ๓) การพัฒนาชุมชนอนุรักษ์คัมภีร์ใบลานต้นแบบประจำกลุ่มจังหวัดลุ่มแม่นำโขงตอนบน และ ๔) การทำ MOU กับ เครือข่ายการอนุรักษ์วรรณกรรมใบลานอย่างสร้างสรรค์ ในกลุ่มจังหวัดบลุ่มแม่น้ำโขงตอนบน ตอนกลาง และ ตอนล่าง ของประเทศไทย
URI: http://mcuir.mcu.ac.th:8080/jspui/handle/123456789/627
Appears in Collections:รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
2563-083พระมหาฉัตรเทพ พุทฺธชาโต.pdf21.84 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.