Please use this identifier to cite or link to this item: http://mcuir.mcu.ac.th:8080/jspui/handle/123456789/626
Title: นวัตวิถีวัฒนธรรมชุมชนกับการสำรวจวรรณกรรมใบลาน ในเขตลุ่มน้ำโขงตอนล่าง
Other Titles: A Community culture culture and literature exploration In the Lower Mekong Basin
Authors: อุดมโชคนามอ่อน, ไชยสิทธิ์
พระครูวุฒิธรรมบัณฑิต
ปภากโร, พระมหาคำพันธ์
วัฒนาชัยวณิช, รังสรรค์
ปัญญาเอก, เกษศิรินทร์
Keywords: นวัตวิถีวัฒนธรรมชุมชน
สำรวจวรรณกรรมใบลาน
ปริวรรตวรรณกรรมใบลาน
ประโยชน์วรรณกรรมใบลานที่สำคัญต่อชุมชน
วรรณกรรมใบลาน
กลุ่มจังหวัดลุ่มแม่น้ำโขงตอนล่าง
ชุมชน
Issue Date: 2563
Publisher: สถาบันวิจัยพุทธศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยเรื่อง “นวัตวิถีวัฒนธรรมชุมชนกับการสำรวจวรรณกรรมใบลาน ในเขตลุ่มแม่น้ำโขง ตอนล่าง” มีวัตถุประสงค์ ๕ ประการคือ ๑) เพื่อศึกษาและสำรวจวรรณกรรมใบลานในกลุ่มจังหวัดลุ่มแม่น้ำ โขงตอนล่างของประเทศไทย ๒) กระบวนอนุรักษ์และคัมภีร์ใบลานและสำรวจวรรณกรรมใบลาน ในกลุ่ม จังหวัดลุ่มแม่น้ำโขงตอนล่างของประเทศไทย ๓) เพื่อปริวรรตเนื้อหาวรรณกรรมใบลานที่สำคัญในกลุ่ม จังหวัดลุ่มแม่น้ำโขงตอนล่างของประเทศไทย ๔) เพื่อวิเคราะห์ประโยชน์ของวรรณกรรมใบลานที่สำคัญทีมี ต่อชุมชน ในกลุ่มจังหวัดลุ่มแม่น้ำโขงตอนล่างของประเทศไทย และ ๕) เพื่อสร้างเครือข่ายชุมชนอนุรักษ์ วรรณกรรมใบลานในกลุ่มจังหวัดลุ่มแม่น้ำโขงตอนล่างของประเทศไทย เป็นการวิจัยแบบผสมผสานทั้งวิจัย ในเชิงเอกสาร (Documentary Research) การวิจัยเชิงคุณภาพในภาคสนาม (Qualitative Research) และ การวิจัยเชิงปฏิบัติการสร้างเครือข่ายแบบมีส่วนร่วม (PAR) ดังนี้ ผลการวิจัย ผลการวิจัยพบว่าผลการสำรวจวรรณกรรมลุ่มน้ำโขง ข้อมูลวรรณกรรมใบลานในกลุ่มจังหวัด ลุ่มแม่น้ำโขงตอนล่าง ของประเทศไทย พบว่ามีข้อมูลวรรณกรรมสำคัญที่พบใน ๒ จังหวัด ในเขตลุ่มแม่น้ำ โขงตอนล่าง ของประเทศไทย ดังนี้ จังหวัดอำนาจเจริญ สำรวจชุมชนต้นแบบอนุรักษ์วรรณกรรมใบลาน ซึ่ง เป็นวัดที่มีวรรณกรรมใบลานสำคัญครอบคลุมเขตพื้นที่ จังหวัดอำนาจเจริญ วัดบ้านโนนดู่ ตำบลสร้างนกทา อำเภอเมืองอำนาจ และจังหวัดอุบลราชธานี สำรวจชุมชนต้นแบบอนุรักษ์วรรณกรรมใบลาน ซึ่งเป็นวัดที่มี วรรณกรรมใบลานสำคัญครอบคลุมเขตพื้นที่จังหวัดอุบลราชธานี คือ วัดมณีวนาราม อำเภอเมือง จังหวัด อุบลราชธานี มีข้อมูลวรรณกรรมสำคัญที่พบใน ๒ จังหวัด ในเขตลุ่มแม่น้ำโขงตอนล่าง มีจำนวนทั้งสิ้น จำนวน ๔๒๓ ผูก เป็นวรรณกรรมที่สำคัญทางพระพุทธศาสนา จำนวน ๓๙๓ ผูก ที่เป็นปกิณกะ (ทั่วไป) จำนวน ๓๐ ผูก ที่บันทึกด้วยอักษรธรรมอีสาน จำนวน ๓๘๒ ผูก และบันทึกด้วยอักษรขอม จำนวน ๔๑ ผูก ข ผลการวิจัยพบว่าผลกระบวนอนุรักษ์และคัมภีร์ใบลานและสำรวจวรรณกรรมใบลาน ใน กลุ่มจังหวัดลุ่มแม่น้ำโขงตอนล่างของประเทศไทย ดังนี้จากการศึกษาและรวบรวมข้อมูลจาก การ สัมภาษณ์ (Interview) ผู้ให้ข้อมูล โดยพื้นที่ศึกษาใช้แบบเจาะจง ชุมชนที่มีระบบการอนุรักษ์คัมภีร์ใบลาน ที่เป็นที่ยอมรับ ในกลุ่มจังหวัดใกล้ลุ่มแม่น้ำโขงตอนล่าง ของประเทศไทย โดยเลือกใช้ตัวอย่างในการเก็บ รวบรวมข้อมูล ชุมชน ในแต่ละจังหวัด จำนวน ๒ จังหวัด ๆ ละ ๑ แห่ง เป็นตัวแทนของจังหวัด ดังนี้ ๑) จังหวัดอำนาจเจริญ วัดบ้านโนนดู่ ตำบลร้างนกทา อำเภอเมืองอำนาจ ๒) จังหวัดอุบลราชธานี วัดมณี วนาราม ตำบลในเมือง อำเภอเมืองอุบลราชธานี โดยลงพื้นที่เก็บข้อมูลในการจัดการอนุรักษ์คัมภีร์ใบลาน จำนวน ๒ ชุมชน ๆ ละ ๑ จังหวัด ในกลุ่มจังหวัดใกล้ลุ่มแม่น้ำโขงตอนล่าง ของประเทศไทย โดย มีผู้ให้ ข้อมูลแบ่งออกเป็น ๓ กลุ่ม ในแต่ละแห่ง รวม ๒๕ รูป/คน คือ กลุ่มที่ ๑ ระดับผู้บริหาร ตัวอย่างละ ๑ รูป/คน รวม ๕ รูป/คน กลุ่มที่ ๒ ระดับปฏิบัติการ ตัวอย่างละ ๑ รูป/คน รวม ๕ รูป/คน เช่น จากฝ่าย ทำกิจกรรมอนุรักษ์คัมภีร์แบบต่าง ๆ / ฝ่ายบริการด้านงานวิชาการของคัมภีร์ใบลาน เป็นต้น และ กลุ่มที่ ๓ ระดับผู้ใช้ประโยชน์ ตัวอย่างละ ๓ รูป/คน รวม ๑๕ รูป/คน เช่น หน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชน และ ประชาชนในพื้นที่ เป็นต้น และนำมาสังเคราะห์ข้อมูลทั้งหมด คือ ๑) กระบวนการอนุรักษ์คัมภีร์ใบลานใน กลุ่มจังหวัดใกล้ลุ่มแม่น้ำโขงตอนล่าง ของประเทศไทย พบว่ามีกระบวนการอนุรักษ์ ๗ กระบวนการ ได้แก่ ๑) กระบวนการสืบค้นและให้ความรู้ ๒ ) กระบวนการพัฒนากิจกรรมการอนุรักษ์ ๓ ) กระบวนการ ปฏิบัติการการอนุรักษ์ ๔) กระบวนการสร้างการมีส่วนร่วม ๕) กระบวนการพัฒนาความรู้ ๖) กระบวนการ สร้างศูนย์เรียนรู้ และ ๗) กระบวนการเผยแพร่สู่สาธารณะ ผลการวิจัยพบว่าการปริวรรตเนื้อหาวรรณกรรมลุ่มน้ำโขงที่สำคัญในกลุ่มจังหวัดลุ่มแม่น้ำ โขงตอนบนของประเทศไทย เป็นการศึกษาและรวบรวมข้อมูลจาก การสัมภาษณ์ (Interview) และ สังเกต การ ผู้ให้ข้อมูลสำคัญ จำนวน ๒๕ รูป/คน ในพื้นที่ศึกษาใช้แบบเจาะจง ชุมชนที่มีระบบการอนุรักษค์ ัมภีร์ ใบลานที่เป็นที่ยอมรับ ในกลุ่มจังหวัดใกล้ลุ่มแม่น้ำโขงตอนล่าง ของประเทศไทย ได้แก่ วัดบ้านโนนดู่ ตำบล สร้างนกทา อำเภอเมืองอำนาจ และ วัดมณีวนาราม อำเภอเมือง จังหวัดอุบลราชธานี พบว่า วรรณกรรมใบ ลานที่เป็นที่นิยมและมีอิทธิพลต่อวิถีชีวิตของชุมชนมากที่สุด คือวรรณกรรมเรื่องเสียวสวาสดิ์ซึ่งมีมากกว่า จึงได้คัดเลือก คัดเลือกวรรณกรรมเรื่องนี้ เป็นเรื่องสำคัญในกลุ่มจังหวัดลุ่มแม่น้ำโขงตอนล่าง ของประเทศ ไทยได้นำมาปริวรรตเป็น ตัวอย่างดังนี้ เสียวสวาสดิ์ (บางเล่มจะเขียนว่า เสียวสวาด) นับเป็นวรรณกรรมคำ สอนที่มีเนื้อหาเรื่องแทรกเป็นนิทานสลับคำสอนหลากหลาย จากนั้นจึงเล่านิทานเรื่องความโหดร้ายของ พระราชาหูเบา นิทานเรื่องเล่ห์เหลี่ยมของคน และนิทานเรื่องการตัดสินคดีความที่เป็นธรรมและไม่เป็น ธรรม เมื่อเจ้าเมืองได้ตั้งให้เสียวสวาสดิ์เป็นบัณฑิต และได้สั่งสอนชาวเมือง มีคำสอนเกี่ยวกับผู้ปกครองที่ดี ผู้ปกครองที่เลว โครงสร้างสำคัญอันเป็นองค์ประกอบของเมือง นิทานของเสียวสวาสดิ์ล้วนเป็นนิทานคำ สอน ประกอบธรรมะยังมีรายละเอียดอีกมากมายที่เป็นคติสอนใจเตือนใจผู้คนในแถบลุ่มแม่น้ำโขงตอนลา่ ง และนำมาปรวิ รรตหลายฉบบั ให้เหน็ กันในปจั จบุ นั นี้ ค ผลการวิจัยพบว่า ประโยชน์ของวรรณกรรมใบลานที่สำคัญทีมีต่อชุมชน ในกลุ่มจังหวัดลุ่ม แม่น้ำโขงตอนล่างของประเทศไทยจากการสัมภาษณ์ (Interview) และ สังเกตการ ผู้ให้ข้อมูลสำคัญ จำนวน ๒๕ รูป/คน ในพื้นที่ศึกษาใช้แบบเจาะจง ชุมชนที่มีระบบการอนุรักษ์คัมภีร์ใบลานที่เป็นที่ยอมรับ ในกลุ่มจังหวัดใกล้ลุ่มแม่น้ำโขงตอนบน ของประเทศไทย และ ได้คัดเลือกวรรณกรรมใบลาน เรื่อง นิทาน ธรรมเสียวสวาสดิ์ นำมาปริวรรต จึงได้วิเคราะห์ประโยชน์ของวรรณกรรมใบลานที่สำคัญทีมีต่อชุมชน ใน กลุ่มจังหวัดลุ่มแม่น้ำโขงตอนล่างของประเทศไทย จำนวน ๕ ด้าน ประกอบด้วย ๑) ด้านวิถีชีวิต ๒)ประเพณีวัฒนธรรม ๓) ด้านศิลปะและสถาปัตยกรรม ๔) ด้านเศรษฐกิจ และ ๕) ด้านสิ่งแวดล้อม ผลการวิจัยพบว่า ผลการสร้างเครือข่ายชุมชนอนุรักษ์วรรณกรรมใบลานในกลุ่มจังหวัดลุ่ม แม่น้ำโขงตอนล่างของประเทศไทยเป็นการนำชุดปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม (PAR Network) ไปใช้ในการ สร้างเครือข่ายชุมชนอนุรักษ์วรรณกรรมใบลานในกลุ่มจังหวัดลุ่มแม่น้ำโขงตอนล่างของประเทศไทย จำนวน ๒ จังหวัด ในกลุ่มจังหวัดใกล้ลุ่มแม่น้ำโขงตอนล่าง ของประเทศไทย โดยมีขั้นตอนการปฏิบัติการแบบมี ส่วนร่วม ดังนี้ ประสานแต่ละจังหวัดในเขตลุ่มแม่น้ำโขงตอนล่าง โดยเลือกชุมชนที่ที่มีการอนุรักษ์ วรรณกรรมใบลาน จัดหวัดละ ๑ แห่ง ร่วมลงนามบันทึกความเข้าใจ (MOU) ในการเป็นเครือข่ายการ อนุรักษ์วรรณกรรมใบลานอย่างสร้างสรรค์ พัฒนาชุมชนที่มีการอนุรักษ์วรรณกรรมใบลานแต่ละจังหวัด ให้ เป็นต้นแบบ ระดับจังหวัด ๆ ละ ๑ แห่ง ร่วม ๒ จังหวัด ในเขตลุ่มแม่น้ำโขงตอนล่าง พัฒนาชุมชนที่มีการ อนุรักษ์วรรณกรรมใบลานระดับเขตลุ่มแม่น้ำโขงตอนล่าง ให้เป็นชุมชนต้นแบบอนุรักษ์วรรณกรรมใบลาน ประจำเขตลุ่มแม่น้ำโขงตอนล่าง จำนวน ๑ ชุมชน และ จัดเสวนาการอนุรักษ์คัมภีร์ใบลาน และ ประโยชน์ ของวรรณกรรมสำคัญที่มีต่อชุมชน ในกลุ่มจังหวัดลุ่มแม่น้ำโขงตอนล่างของประเทศไทย จำนวน ๒ จังหวัด และ จัดพิธีร่วมลงนามบันทึกความเข้าใจ (MOU) ในการเป็นเครือข่ายการอนุรักษ์วรรณกรรมใบลานอย่าง สร้างสรรค์ กับ ชุมชนต้นแบบการอนุรักษ์คัมภีร์อนุรักษ์วรรณกรรมใบลานในเขตุลุ่มแม่น้ำโขงตอนล่าง และ ตอนล่างโดยมีผลการสร้างเครือข่ายดังนี้ การสร้างเครือข่ายชุมชนอนุรักษ์วรรณกรรมใบลานในกลุ่มจังหวัด ลุ่มแม่น้ำโขงตอนล่างของประเทศไทย มี จำนวน ๒ จังหวัด ดังนี้ ได้แก่ ๑) วัดบ้านโนนดู่ ตำบลสร้างนก ทา อำเภอเมืองอำนาจ จังหวัดอำนาจเจริญ และ ๒) วัดมณีวนาราม อำเภอเมือง จังหวัดอุบลราชธานี และมี เครือข่ายชุมชนอนุรักษ์วรรณกรรมใบลานในกลุ่มจังหวัดลุ่มแม่น้ำโขงตอนล่าง มี จำนวน ๒ จังหวัด ดังนี้ ๑) ชุมชนวัดวัดบ้านโนนดู่ ตำบลสร้างนกทา อำเภอเมืองอำนาจ จังหวัดอำนาจเจริญ และ ๒) ชุมชนวัดมณี วนาราม อำเภอเมือง จังหวัดอุบลราชธานี การทำ MOU กับ เครือข่ายการอนุรักษ์วรรณกรรมใบลานอย่างสร้างสรรค์ เขตลุ่มแม่น้ำโขง ตอนกลาง และ ตอนล่าง ของประเทศไทย โดยจัดเสวนาการอนุรักษ์คัมภีร์ใบลาน และ ประโยชน์ของ วรรณกรรมสำคัญที่มีต่อชุมชน ในกลุ่มจังหวัดลุ่มแม่น้ำโขงตอนบนของประเทศไทย จำนวน ๕ จังหวัด ร่วมกับ เครือข่ายการอนุรักษ์วรรณกรรมใบลานอย่างสร้างสรรค์ เขตลุ่มแม่น้ำโขงตอนกลาง และ ตอนล่าง ของประเทศไทย ณ วัดสูงเม่น อำเภอสูงเม่น จัดหวัดแพร่ และ จัดพิธีร่วมลงนามบันทึกความเข้าใจ (MOU) ในการเป็นเครือข่ายการอนุรักษ์วรรณกรรมใบลานอย่างสร้างสรรค์ กับ ชุมชนต้นแบบการอนุรักษ์คัมภีร์ ง อนุรักษ์วรรณกรรมใบลานในเขตุลุ่มแม่น้ำโขงตอนกลาง และ ตอนล่าง ของประเทศไทย ประกอบด้วย กลุ่ม จังหวัดลุ่มแม่น้ำโขงตอนกลาง จำนวน ๔ จังหวัดได้แก่ ๑) ชุมชนวัดสุทธิวนาราม อำเภอปากคาด จังหวัด บึงกาฬ ๒) ชุมชนวัดอุดมเขต (นาคลอง) อำเภอเมือง จังหวัดหนองคาย ๓) ชุมชนวัดโพธิ์ศรี อำเภอ นครพนม จังหวัดนครพนม ๔) ชุมชนวัดโพธิ์ไทร อำเภอเมืองมุกดาหาร จังหวัดมุกดาหาร และ กลุ่มจังหวัด ลุ่มแม่น้ำโขงตอนล่าง จำนวน ๒ จังหวัด ได้แก่ ๑) ชุมชนวัดมณีวนาราม อำเภอเมือง จังหวัดอุบลราชธานี และ ๒) ชุมชนวัดวัดบ้านโนนดู่ ตำบลสร้างนกทา อำเภอเมืองอำนาจ จังหวัดอำนาจเจริญ และ กิจกรรม สุดท้าย คือ พิธีเปิดป้ายศูนย์เรียนรู้เครือข่ายการอนุรักษ์วรรณกรรมใบลานอย่างสร้างสรรค์ เขตลุ่มแม่น้ำ โขง ของประเทศไทย ณ วัดสูงเม่น อำเภอสูงเม่น จังหวัดแพร่ เมื่อวันที่ ๑๘ สิงหาคม พ.ศ.๒๕๖๓ ที่ผ่านมา
URI: http://mcuir.mcu.ac.th:8080/jspui/handle/123456789/626
Appears in Collections:รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์



Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.