Please use this identifier to cite or link to this item:
http://mcuir.mcu.ac.th:8080/jspui/handle/123456789/623
Full metadata record
DC Field | Value | Language |
---|---|---|
dc.contributor.author | ฮวดศรี, ชาญชัย | - |
dc.contributor.author | สวัสดิ์ทา, สุธิพงษ์ | - |
dc.date.accessioned | 2022-03-26T07:34:15Z | - |
dc.date.available | 2022-03-26T07:34:15Z | - |
dc.date.issued | 2561 | - |
dc.identifier.uri | http://mcuir.mcu.ac.th:8080/jspui/handle/123456789/623 | - |
dc.description.abstract | การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ ๑) วิเคราะห์การเปลี่ยนแปลงและการคงอยู่ของวัฒนธรรมอีสานทางการเมืองการปกครองผ่านนโยบายของรัฐบาลและรัฐธรรมนูญ ๒) วิเคราะห์การเปลี่ยนแปลงทางการเมืองการปกครองที่ส่งผลกระทบต่อวัฒนธรรมอีสาน ๓) วิเคราะห์การผสมผสานวัฒนธรรมอีสานกับการเมืองการปกครอง เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยการเก็บข้อมูลจากเอกสาร การสัมภาษณ์เชิงลึก และแบบสังเกตแบบมีส่วนร่วม ผู้ให้ข้อมูลสำคัญ จำนวน ๔๕ รูป/คน ประกอบด้วย ๑) ตัวแทนภาครัฐ จำนวน ๑๕ คน ๒) กลุ่มองค์กรการปกครองส่วนท้องถิ่น จำนวน ๑๕ คน ๓) ปราชญ์ชาวบ้าน และพระสงฆ์ จำนวน ๑๕ รูป/คน ผลการวิจัย พบว่า ๑. การเปลี่ยนแปลงและการคงอยู่ของวัฒนธรรมอีสานเป็นผลสืบเนื่องมาจากการเปลี่ยนแปลงของนโยบายภาครัฐซึ่งพิจารณาได้จากกฎหมายรัฐธรรมนูญและแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ เริ่มจากการพัฒนาคนโดยใช้วัฒนธรรมเป็นฐานของการพัฒนา ต่อมาได้มีการนำภูมิปัญญาและวัฒนธรรมท้องถิ่นมาใช้ในการสร้างสรรค์คุณค่าของสินค้า บนฐานความรู้และความเป็นไทย นำไปสู่การขับเคลื่อนการเจริญเติบโตจากการเพิ่มผลิตภาพการผลิตบนฐานการใช้ภูมิปัญญาและนวัตกรรม ๒. สังคมไทยในปัจจุบันมีความก้าวหน้าในการพัฒนาเทคโนโลยี เกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว ในทุกมิติทั้งทางสังคม เศรษฐกิจ การเมืองและเทคโนโลยี ก่อให้เกิดการกำหนดแผนการพัฒนาวัฒนธรรมตามยุทธศาสตร์ชาติระยะ ๒๐ ปี และกรอบทิศทางตามนโยบายการพัฒนาสู่ประเทศไทย ๔.๐ ๓. การผสมผสานวัฒนธรรมอีสานกับการเมืองการปกครองเป็นผลมาจากนโยบายของภาครัฐที่ให้ความสำคัญกับการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วนในสังคมมุ่งเน้นให้ “คนเป็นศูนย์กลางการพัฒนา”ปรับเปลี่ยนวิธีการพัฒนาเป็นบูรณาการแบบองค์รวม มีการผสมผสานระหว่างวัฒนธรรมกับนโยบายภาครัฐเพื่อสร้างรายได้แก่ชุมชน โดยผ่านกิจกรรมท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม ซึ่งเกิดจากการมีส่วนร่วมของคนภายในชุมชนผ่านการสนับสนุนของหน่วยงานภาครัฐและเอกชนผ่านกิจกรรมต่าง ๆ | en_US |
dc.publisher | สถาบันวิจัยพุทธศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย | en_US |
dc.subject | นโยบายภาครัฐ | en_US |
dc.subject | การเปลี่ยนแปลง | en_US |
dc.subject | การคงอยู่ | en_US |
dc.subject | วัฒนธรรมอีสาน | en_US |
dc.title | นโยบายภาครัฐ: การเปลี่ยนแปลงและการคงอยู่ของวัฒนธรรมอีสาน | en_US |
dc.title.alternative | Government Policy: Change and Preservation of Isan Culture | en_US |
dc.type | Thesis | en_US |
Appears in Collections: | รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์ |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
2562-056 ผศ.ดร.ชาญชัย ฮวดศรี.pdf | 3.48 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.