Please use this identifier to cite or link to this item: http://mcuir.mcu.ac.th:8080/jspui/handle/123456789/619
Title: การพัฒนาพื้นที่ศิลปะในเมืองและชุมชนของกลุ่มจังหวัดล้านนา
Other Titles: The Development of art space in the city and community of Lanna
Authors: ฤทธิ์เต็ม, ภัชรบถ
โกวฤทธิ์, มานิตย์
Keywords: การพัฒนา
พื้นที่ศิลปะในเมืองและชุมชน
กลุ่มจังหวัดล้านนา
Issue Date: 2563
Publisher: สถาบันวิจัยพุทธศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์ ๓ ประการคือ (๑) เพื่อสร้างองค์ความรู้พื้นที่ศิลปะในเมือง และชุมชนของกลุ่มจังหวัดล้านนา (๒) เพื่อพัฒนาพื้นที่ศิลปะในเมืองและชุมชนของกลุ่มจังหวัดล้านนาแบบ มีส่วนร่วม (๓) เพื่อพัฒนาพื้นที่ศิลปะในเมืองและชุมชนของกลุ่มจังหวัดล้านนาที่มีกระบวนการสร้างสรรค์ และการอนุรักษ์ที่เหมาะสม การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงปฏิบัติการ (Action Research) โดยการ สร้างสรรค์ผลงานทางศิลปะในพื้นที่สาธารณะ จานวน ๘ แห่ง ผลของการศึกษา พบว่า จากการสารวจข้อมูลทางประวัติศาสตร์ โบราณคดี สังคม และ วัฒนธรรม และข้อมูลด้านศิลปกรรมพื้นถิ่น อาทิ จิตรกรรม ประติมากรรม สถาปัตยกรรม มีแหล่ง โบราณคดีที่เป็นแหล่งอารยธรรมโบราณ ได้แก่ ดอยเวียง-ดอยวง เมืองเชียงราย และเวียงบัว เมือง พะเยา ศาสนสถานสาคัญ ได้แก่ วัดพระธาตุหริภุญไชย และวัดพระธาตุลาปางหลวง ประเพณี วัฒนธรรมท้องถิ่น ได้แก่ ประเพณีแห่ไม้ค้าสะหรี ประเพณีแห่พระสิงห์ปาย ประเพณีสรงน้าพระธาตุ ประเพณีสลากย้อม ประเพณีตักบาตรเทียน วัฒนธรรมอาหารพื้นเมือง ศิลปหัตถกรรม ได้แก่ การทอ ผ้า ผ้าด้นมือ โคมไฟ ศิลปะการละเล่น ได้แก่ ฟ้อนดาบฟ้อนเชิง การแข่งเรือ และวิถีชีวิตคือการปลูก ข้าว ซึ่งองค์ความรู้ดังกล่าวนี้ เป็นอัตลักษณ์ทางวัฒนธรรมที่นาไปสู่ในการเสวนาประชาคมชาวบ้านใน ชุมชนอย่างส่วนร่วม เพื่อขอประชามติในการสร้างสรรค์ผลงานทางศิลปะในพื้นที่สาธารณะในชุมชน จานวน 8 แห่ง การสร้างสรรค์การออกแบบงานศิลปกรรมในพื้นที่ศิลปะชุมชนหรืองานวิจัยที่สนับสนุน กิจกรรมของชุมชนที่สอดคล้องกับสังคมและวัฒนธรรม จานวน ๘ งาน คือ ๑. ประติมากรรมเมล็ดข้าวทุ่งโป่ง บ่อน้าพุร้อนสามสี บ้านเหล่าพัฒนา อาเภอแม่สรวย จังหวัดเชียงราย ๒. จิตรกรรมภาพสามมติ (3D) เรื่อง “สลากย้อม แห่งเดียวในโลก” มหาวิทยาลัยมหา จุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาลัยสงฆ์ลาพูน ๓. ประติมากรรมปลาคู่ “ภูมิจักรวาล” ศิลปะเวียงบัว มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราช วิทยาลัย วิทยาเขตพะเยา ๔. ศิลปะจัดวาง หรือ ศิลปะติดตั้ง (Installation art) เรื่อง “ไม้ค้าสะหรี” บ้านท่าข้าม อาเภอฮอด จังหวัดเชียงใหม่ ๕. จิตรกรรมภาพสามมติ (3D) เรื่อง “แห่พระสิงห์ปาย” บ้านเวียงเหนือ อาเภอปาย จังหวัดแม่ฮ่องสอน ๖. จิตรกรรมภาพสามมติ (3D) เรื่อง “ผ้าด้นมือ” บ้านต้นไคร้ ตาบลช่อแฮ อาเภอเมือง จังหวัดแพร่ ๗. จิตรกรรมภาพสามมติ (3D) “เรือแข่งเจ้าแม่สายฟ้า” ข่วงเวียงสา บ้านบุญยืน ตาบล กลางเวียง อาเภอเวียงสา จังหวัดน่าน ๘. จิตรกรรมภาพสามมติ (3D) เรื่อง “ฟ้อนดาบฟ้อนเชิง” บ้านลาปางหลวงใต้ อาเภอ เกาะคา จังหวัดลาปาง พื้นที่ศิลปะในเมืองและชุมชนของกลุ่มจังหวัดล้านนาที่มีกระบวนการสร้างสรรค์และการ อนุรักษ์ที่เหมาะสม โดยการจัดกิจกรรมสื่อสารถ่ายทอดความรู้ด้านศิลปกรรมในพื้นที่สาธารณะแก่ ชุมชน และประชาสัมพันธ์สู่สาธารณชน เพื่อให้เกิดการสร้างสรรค์และการอนุรักษ์ที่ยั่งยืน มีดังนี้ การ จัดกิจกรรมเสวนาวิชาการศิลปะ (Art Workshop) การจัดกิจกรรมแข่งขันวาดภาพระบายสี กิจกรรม การเสวนาถ่ายทอดแลกเปลี่ยนเรียนรู้ศิลปกรรม กิจกรรมการสร้างสรรค์ผลงานศิลปะของเยาวชนและ จิตอาสา กิจกรรมบูรณาการกับประเพณีท้องถิ่น พิธีสืบชาตาหลวง พิธีสู่ขวัญ กิจกรรมบูรณาการกับ การท่องเที่ยว เช่น ถนนศิลปะ (Street Art) ถนนแห่งวัฒนธรรม การประชาสัมพันธ์ทางสื่อออนไลน์ และการประชาสัมพันธ์ผ่านสื่อสารมวลชน
URI: http://mcuir.mcu.ac.th:8080/jspui/handle/123456789/619
Appears in Collections:รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
2563-001ภัชรบถ ฤทธิ์เต็ม.pdf24.6 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.