Please use this identifier to cite or link to this item:
http://mcuir.mcu.ac.th:8080/jspui/handle/123456789/617
Full metadata record
DC Field | Value | Language |
---|---|---|
dc.contributor.author | วิศิษฏ์ใจงาม, อภิพัธน์ | - |
dc.contributor.author | มหนิธิวงศ์, ดำรงค์ | - |
dc.contributor.author | อ่อนทรวง, จุมพต | - |
dc.contributor.author | อาสนาชัย, สุทัศน์ | - |
dc.contributor.author | ขวัญคง, จิรพจน์ | - |
dc.date.accessioned | 2022-03-26T07:14:48Z | - |
dc.date.available | 2022-03-26T07:14:48Z | - |
dc.date.issued | 2561 | - |
dc.identifier.uri | http://mcuir.mcu.ac.th:8080/jspui/handle/123456789/617 | - |
dc.description.abstract | วิจัยเรื่องนี้ มีวัตถุประสงค์ ศึกษาปัญหา ๑) ศึกษาความเชื่อต่อองค์หลวงพ่อพระพุทธชินราชและผลิตภัณฑ์ทางวัฒนธรรมหรือทางความเชื่อ ๒) ศึกษามูลค่าเพิ่มทางเศรษฐศาสตร์ของผลิตภัณฑ์ทางวัฒนธรรมหรือทางความเชื่อ ๓) ศึกษากระบวนการพัฒนาผลิตภัณฑ์ทางวัฒนธรรมหรือทางความเชื่อ กลุ่มตัวอย่างที่คัดเลือกแบบเจาะจง กลุ่มตัวอย่าง (Cluster of Sampling) ได้แก่ กลุ่มตัวแทนผู้พัฒนากระบวนการผลิตสินค้าทางวัฒนธรรม ซึ่งเลือกโดยวิธีสุ่มแบบพิเศษเจาะจง จังหวัดละ ๘ คน จาก ๓ จังหวัด ภาคเหนือตอนล่าง คือ จังหวัดพิษณุโลก, จังหวัดสุโขทัย และจังหวัดอุตรดิตถ์ รวมเป็น ๒๔ คน ผลการวิจัยพบว่า ความเชื่อซึ่งสามารถแบ่งได้ ๔ ประการโดยประมาณดังนี้ ๑) เชื่อและศรัทธาในความงดงาม ตามแบบพุทธลักษณะ ๓๒ ประการ ๒) เชื่อและศรัทธาว่าเป็นพระพุทธรูปที่พระยาลิไทและเทวดาร่วมสร้าง ๓)เชื่อและศรัทธาว่าเป็นพระพุทธรูปศักดิ์สิทธิ์ มีพระพุทธานุภาพ อิทธิปาฏิหาริย์ ป้องกันภัยอันตรายและอธิษฐานจิตที่ดี ที่ตนเองปรารถนาได้จริง ๔) เชื่อและศรัทธาในการถวายเครื่องแก้บนชนิดต่างๆเป็นการสานึกถึงพระพุทธานุภาพที่คุ้มครองเป็นต้น ประเภทของคนที่มีความเชื่อต่อองค์หลวงพ่อพระพุทธชินราช พบว่ามี ๓ ประเภท ๑) พระราชามหากษัตริย์ ๒) พระภิกษุในพระพุทธศาสนา ๓) สามัญชนคนธรรมดา เชื่อและศรัทธาในความงดงาม ตามแบบพุทธลักษณะ ๓๒ ประการ ส่วนการศึกษามูลค่าเพิ่มทางเศรษฐศาสตร์ของผลิตภัณฑ์ทางวัฒนธรรมหรือทางความเชื่อ ผู้วิจัยได้ใช้การวิเคราะห์มูลค่าเพิ่มตามหลักทฤษฎีทางเศรษฐศาสตร์ของ เดวิด ริคาร์โดที่ได้รับการอ้างถึงอยู่เสมอ อดัมสมิท และ ริคาร์โด ได้อธิบายว่า “อุปสงค์; Demand” และ “อุปทาน; Supply” คือ ปัจจัยที่กาหนดราคาตลาด หรือ “มูลค่าที่เป็นเงิน; Money value” ของสินค้าและบริการทุกชนิดในช่วงเวลาใดเวลาหนึ่งเป็นต้น ผลการวิจัยพบว่า มูลค่าเพิ่มทางเศรษฐศาสตร์ (Economic value added) ของผลิตภัณฑ์ทางวัฒนธรรมหรือทางความเชื่อ ขององค์หลวงพ่อพระพุทธชินราชและพระเครื่องเป็นต้น ได้แยกเป็น ๒ ประเภทคือ ประเภทแรกยังคงอนุรักษ์พิธีพุทธาภิเษกหรือพิธีมหาพุทธาภิเษกเสาร์๕ นับว่าเป็นการสร้างมูลค่าเพิ่มทางเศรษฐศาสตร์(Economic value added) ส่วนประเภทที่สองคือ งานศิลปะก็อาศัยความเชื่อบวกกับศิลปะ (The Belief and Creative Arts) เป็นเครื่องมือในการเพิ่มมูลค่าทางเศรษฐศาสตร์และ ผลการศึกษากระบวนการพัฒนาผลิตภัณฑ์ทางวัฒนธรรมหรือความเชื่อ ขององค์จาลองหลวงพ่อพระพุทธชินราช จังหวัดพิษณุโลก, ขั้นตอนการวิเคราะห์ข้อมูล กระบวนการพัฒนาผลิตภัณฑ์ทางวัฒนธรรมและทางความเชื่อประเภทวัตถุเคารพ องค์หลวงพ่อพุทธ ชินราชที่สร้างเป็นองค์พระพุทธรูปขนาดใหญ่ ขนาดกลาง ขนาดเล็ก และขนาดพระเครื่องติดสร้อยคอ (พระเครื่อง) เป็นต้น ผู้วิจัยได้ทาการสุ่มคัดเลือกเอาไว้ ๕ ช่วง แต่เป็นการสุ่มไม่เรียงลาดับรุ่นและปี พ.ศ. ที่สร้าง ดังกล่าวแล้วข้างต้น ดังนั้นการวิเคราะห์ของผู้วิจัยได้แยกออกเป็น ๒ ประเภท คือ ประเภทแรกกระบวนการพัฒนา พระบูชา พระเครื่องที่เป็นรูปจาลองขององค์หลวงพ่อพระพุทธชินราชยังคงอนุรักษ์พิธีพุทธาภิเษก หรือมหาพุทธาภิเษกเสาร์ ๕ ยังคงไว้ซึ่งเอกลักษณ์ของรูปแบบคือต้องมีซุ้มเรือนแก้วครอบองค์พระ ส่วนประเภทที่สอง กระบวนการพัฒนา พระบูชา รูปจาลองขององค์หลวงพ่อพระพุทธชินราชจากวัสดุอื่นๆ ยังคงไว้ซึ่งเอกลักษณ์ของรูปแบบเดิมทุกประการ แต่จะไม่นิยมจัดพิธีพุทธาภิเษกใดๆ เพราะผู้สร้างเชื่อในพุทธศิลป์ บวกกับความคิดสร้างสรรค์ (Creative conceptual) กระบวนการสร้างความรู้ องค์ความรู้ ในด้านการสร้างพระพุทธรูปและ พระเครื่องที่เป็นรูปจาลองขององค์หลวงพ่อพระพุทธชินราช เช่นการสร้างพระ ๑ องค์ ได้รับทราบมวลสาร หรือผงที่เป็นมงคล หว่าน ๑๐๘ ชนิด พิธีกรรมมหาพุทธาภิเษกเสาร์ ๕ ต้องมีเกจิ ผู้เชี่ยวชาญทางดาราศาสตร์ จันทรคติ แล้วคอยจับเวลาว่าเสาร์๕ จะมาบรรจบเป็น วัน เดือน ปี พ.ศ. อะไรเป็นต้น ส่วนกระบวนการมีส่วนร่วม พบว่า ถ้าเป็นพิธีมหาพุทธาภิเษกเสาร์ ๕ จัดเพื่อพระบูชา พระเครื่อง พบว่ามีการแจ้งเป็นวัตถุประสงค์ไว้ในใบปลิว แผ่นพับ ป้ายโฆษณา ขนาดเล็ก กลางหรือใหญ่ว่า รายได้จากการจัดพิธีนั้นๆจักได้เอาไปใช้ในงานอะไร เช่น วิทยาลัยสงฆ์พุทธชินราช เป็นต้น | en_US |
dc.publisher | สถาบันวิจัยพุทธศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย | en_US |
dc.subject | กระบวนการพัฒนา | en_US |
dc.subject | ผลิตภัณฑ์ทางความเชื่อ | en_US |
dc.subject | มูลค่าทางเศรษฐศาสตร์ | en_US |
dc.title | กระบวนการพัฒนาผลิตภัณฑ์ทางความเชื่อกับมูลค่าทางเศรษฐศาสตร์ | en_US |
dc.title.alternative | The Product Development Process through Faith with Economic Value | en_US |
dc.type | Thesis | en_US |
Appears in Collections: | รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์ |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
2561-171ผศ.ดร.อภิพัธน์ วิศิษฐ์ใจงาม.pdf | 10.77 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.