Please use this identifier to cite or link to this item:
http://mcuir.mcu.ac.th:8080/jspui/handle/123456789/613
Title: | การพัฒนาสมรรถนะผู้นำด้วยรูปแบบนวัตกรรมการสร้างวิศวกรสันติภาพท้องถิ่นที่ส่งผลต่อการสร้างสรรค์ชุมชนให้เกิดสันติสุข |
Other Titles: | The Development of Leader Competencies by An Innovative Model for Enhancing Local Peace Engineer Resulting in the Building of Peaceful Community |
Authors: | วัฒนะประดิษฐ์, ขันทอง บูรณสิงห์, ธปภัค ช่างบรรจง, ทยาวีร์ ณ นคร, สีฟ้า วราโพธิ์, ดลนพร |
Keywords: | การพัฒนา สมรรถนะผู้นำ วิศวกรสันติภาพท้องถิ่น การสร้างสรรค์ชุมชน สันติสุข |
Issue Date: | 2563 |
Publisher: | สถาบันวิจัยพุทธศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย |
Abstract: | งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ ๑) เพื่อเสริมสร้างสมรรถนะผู้นำท้องถิ่นในการเป็นวิศวกรสันติภาพเพื่อสร้างสันติสุขของชุมชนในจังหวัดปทุมธานีและจังหวัดพระนครศรีอยุธยา ๒) เพื่อประเมินหลักสูตรและนำเสนอการพัฒนาหลักสูตรการเสริมสร้างสมรรถนะผู้นำด้วยรูปแบบนวัตกรรมการสร้างวิศวกรสันติภาพท้องถิ่นที่ส่งผลต่อการสร้างสรรค์ชุมชนให้เกิดสันติสุข ใช้รูปแบบวิจัยและพัฒนา R&D (Research and Development) ดำเนินการวิจัย ๔ ระยะ ประกอบด้วย ระยะที่ ๑ การวิจัย (Research 1) สำรวจและสังเคราะห์ข้อมูลพื้นฐาน ระยะที่ ๒ การพัฒนา (Develop : D1) พัฒนารูปแบบการพัฒนาสมรรถนะผู้นำท้องถิ่นในการเป็นวิศวกรท้องถิ่น ระยะที่ ๓ การวิจัย (Research: R2) ทดลองใช้รูปแบบนวัตกรรมการสร้างวิศวกรสันติภาพท้องถิ่นที่ส่งผลต่อการสร้างสรรค์ชุมชนให้เกิดสันติสุข ระยะที่ ๔ การพัฒนา (Development: D2) ประเมินผลรูปแบบนวัตกรรมการสร้างวิศวกรสันติภาพท้องถิ่นที่ส่งผลต่อการสร้างสรรค์ชุมชนให้เกิดสันติสุข กลุ่มเป้าหมาย ได้แก่ ผู้นำท้องถิ่นในจังหวัดปทุมธานี จำนวน ๒๕ คน และจังหวัดพระนครศรีอยุธยา จำนวน ๑๘ คน การทดลองแบบ One Group Pretest – Posttest Design เครื่องมือวิจัยที่ใช้ ได้แก่ แบบสัมภาษณ์เชิงลึก แบบวัดสมรรถนะวิศวกรสันติภาพท้องถิ่น การสังเกตการณ์อย่างมีส่วนร่วม การสะท้อนคิด สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และวิเคราะห์เปรียบเทียบค่าเฉลี่ยด้วย ค่าที (t-test แบบ dependent) ผลการศึกษาพบว่า ๑) สมรรถนะที่ควรเสริมให้ผู้นำท้องถิ่นพัฒนาเป็นวิศวกรสันติภาพเพื่อสร้างสันติสุขของชุมชนในจังหวัดปทุมธานีและจังหวัดพระนครศรีอยุธยา ได้แก่ ๑) การสร้างการมีส่วนร่วมให้ชุมชนได้เรียนรู้พัฒนาบนวิถีสันติวัฒนธรรม ๒) การสื่อสารสร้างสันติและจัดการความขัดแย้งอย่างสร้างสรรค์ ๓) การปฏิบัติตนเป็นต้นแบบมุ่งสู่วิถีแห่งสันติ ๔) จิตตระหนักรู้วิถีสันติภายในตน ๕) มีอุดมการณ์การเป็นผู้ให้ที่มีความเป็นธรรม รูปแบบที่นำมาใช้เสริมสร้างสมรรถนะวิศวกรสันติภาพท้องถิ่น ข ประกอบด้วยโครงสร้างหลักสูตรที่นำไตรสิกขาเป็นฐานการเรียนรู้ ออกแบบกิจกรรมด้วยการเรียนรู้เชิงรุก การมีส่วนร่วมในการเรียนรู้ผ่านการลงมือทำ การอภิปรายกลุ่ม บทบาทสมมุติและการสอนงาน ๒) ผลการใช้รูปแบบนวัตกรรมการสร้างวิศวกรสันติภาพท้องถิ่นที่ส่งผลต่อการสร้างสรรค์ชุมชนให้เกิดสันติสุข พบว่า ผู้นำท้องถิ่นทั้งสองกลุ่มมีคะแนนเฉลี่ยสมรรถนะวิศวกรสันติภาพทั้ง ๕ ด้าน สูงกว่ากว่าก่อนเข้ารับการอบรมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .๐๕ คะแนน ผู้เข้าอบรมสามารถนำความรู้ไปขยายผลในการทำพัฒนาชุมชนให้สันติสุข องค์ความรู้ใหม่จากงานวิจัย ได้รูปแบบที่เรียกว่า “3P-I to O for Local peace engineers” สามพลังในการพัฒนาสันติภายในสู่สันติภายนอกของวิศวกรสันติภาพท้องถิ่น ประกอบด้วย พลังที่ ๑ (M-C-W) : ๓ หลักการเรียนรู้เพื่อการเปลี่ยนแปลงตามหลักไตรสิกขา พลังที่ ๒ 5’s C+1 C :พลังแห่งการเสริมสร้างสมรรถนะด้วยโคชกัลยาณมิตรโดยเสริมสมรรถนะ ทั้ง ๕ ด้าน พลังที่ ๓ คือ การเรียนรู้สันติกระบวนทัศน์ด้วย ๖ ขั้นตอนการเรียนรู้ที่มีสติเป็นฐาน ได้แก่ ๑) เร้าใจเบิกบานเป็นสุข ๒) ปรับเลนส์ตาและเปิดวาว์ใจ ๓) สั่นสะเทือนความคิดด้วยพลังบวก ๔) แผนที่การเรียนรู้วิถีแห่งสันติ ๕) กระจกสะท้อนเพื่อการพัฒนาสร้างสันติภายใน ๖) ก้าวย่างเป็นพี่เลี้ยงอย่างมั่นใจสู่จุดหมายขยายพื้นที่สันติ ทั้งหมดเป็นกลไกกำกับการรู้ ตื่น เบิกบาน ในการเรียนรู้ |
URI: | http://mcuir.mcu.ac.th:8080/jspui/handle/123456789/613 |
Appears in Collections: | รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์ |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
2563-016ผศ.ดร.ขันทอง วัฒนะประดิษฐ์ (ย่อย3).pdf | 9.28 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.