Please use this identifier to cite or link to this item: http://mcuir.mcu.ac.th:8080/jspui/handle/123456789/611
Title: พัฒนาความมั่นคงทางเศรษฐกิจและสังคม ให้ได้รับความเป็นธรรมในการเข้าถึงทรัพยากรและบริการทางสังคมที่มีคุณภาพ มีความเข้มแข็งพึ่งพาตนเองได้
Other Titles: Development of Economic and Social Stability, Fairness in Access to Resources and Social Services Quality Strengthening Self-reliance
Authors: สดประเสริฐ, สัญญา
จันทร์ทาคีรี, สงคราม
พิชัยเสนาณรงค์, วีรพงศ์
Keywords: ความมั่นคงทางเศรษฐกิจและสังคม
ความเป็นธรรมในการเข้าถึงทรัพยากร
บริการทางสังคมที่มีคุณภาพ
ความเข้มแข็ง พึ่งพาตนเองได้
Issue Date: 2563
Publisher: สถาบันวิจัยพุทธศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
Abstract: การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ ๑) เพื่อศึกษาสภาพปัญหาความมั่นคงทางเศรษฐกิจและสังคม และการเข้าถึงทรัพยากรและบริการทางสังคมอย่างเป็นธรรม ๒) เพื่อพัฒนาความมั่นคงทางเศรษฐกิจและสังคม และการเข้าถึงทรัพยากรและบริการทางสังคมอย่างเป็นธรรม ที่สามารถพึ่งพาตนเองได้ ๓) เพื่อสร้างรูปแบบความเป็นธรรมในการเข้าถึงทรัพยากรและบริการทางสังคมที่มีคุณภาพ มีความเข้มแข็งพึ่งพาตนเองได้ กลุ่มตัวอย่าง และผู้ให้ข้อมูลสาคัญ ได้แก่ ผู้นาชุมชน ประชาชนชุมชนวังกะ ภาครัฐและภาคเอกชน จานวน ๒๕ คน โดยใช้วิธีการวิจัยเชิงปฏิบัติการ (Action Research Methodology) โดยการวิจัยแบบมีส่วนร่วม และการวิจัยเชิงปฏิบัติการ ผสมผสานเข้าด้วยกัน ผลการวิจัยพบว่า ๑. สภาพปัญหาความมั่นคงทางเศรษฐกิจและสังคมของชุมชนวังกะ เกิดจากการพัฒนาที่ไม่สมดุลเนื่องจากการพัฒนาที่เน้นความเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจเพียงมิติเดียว ทาให้ชุมชนวังกะต้องปรับเปลี่ยนกระบวนทัศน์การพัฒนา ที่มีความชัดเจนทั้งในมิติด้านแนวคิดพื้นฐานและแนวทางการปฏิบัติเพื่อความสมดุล และยั่งยืน โดยภาพรวมของกระบวนทัศน์การพัฒนาชุมชน ๒. การเข้าถึงทรัพยากรและบริการทางสังคมอย่างเป็นธรรม ที่สามารถพึ่งพาตนเองได้ แบ่งออกเป็น ๔ ด้าน ได้แก่ ๑) การพึ่งตนเองด้านเศรษฐกิจของชุมชนบ้านวังกะ คือ มีข้าว ปลา ผัก ผลไม้ ในท้องถิ่นเพื่อการยังชีพ และนาส่วนเกินเข้าร่วมกับการพัฒนาเศรษฐกิจของชุมชน มีแนวทางที่ผู้นาชุมชนเรียกว่า “ผลผลิตวิถีชุมชน” หรือ “ผลผลิตวิถีพอเพียง” เป็นแนวทางรูปธรรมที่ขยายตัวในพื้นที่ชุมชนบ้านวังกะ ๒) การพึ่งตนเองทางสังคมของชุมชนบ้านวังกะ คือ การเสริมสร้างให้ประชาชนในชุมชนร่วมมือช่วยเหลือเกื้อกูลกัน ปัจจัยพื้นฐานบางอย่างไม่สามารถพึ่งตนเองในครอบครัวได้ ต้องพัฒนาการพึ่งตนเองอย่างเป็นระบบ ๓) การพึ่งตนเองด้านทรัพยากรธรรมชาติของชุมชนบ้านวังกะ คือ เป็นการพึ่งตนเองบน (ข) ฐานองค์ประกอบ ๓ ประการ คือ “คน ความรู้ และทรัพยากร” โดยการพัฒนาศักยภาพของคน ค้นหาทรัพยากรในชุมชนท้องถิ่น มาพัฒนาให้เกิดประโยชน์สูงสุด บนฐานความรู้ภูมิปัญญาของชุมชนท้องถิ่น ๔) การพึ่งตนเองทางด้านจิตใจของชุมชนบ้านวังกะ คือ ยึดหลักธรรมทางศาสนาหล่อหลอมการดาเนินชีวิต ปฏิบัติกิจทางศาสนาอย่างสม่าเสมอตลอดปี ที่เป็นรูปธรรมที่สุด คือ “นพปฏิญาณเศรษฐกิจพอเพียง” คาปฏิญาณ ๙ ข้อ ที่ถอดเอาหลักปฏิบัติรูปธรรม ของปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง มาเป็นวินัยเหล็กในการดาเนินชีวิต ไม่โน้มเอียงไปตามกระแสบริโภคนิยม และโฆษณาตามสื่อต่าง ๆ ๓. รูปแบบความเป็นธรรมในการเข้าถึงทรัพยากรและบริการทางสังคมที่มีคุณภาพ มีความเข้มแข็งพึ่งพาตนเองได้ นั้นคือ การสร้างความมั่นคงทางเศรษฐกิจและสังคมให้ทุกคนในชุมชนวังกะควบคู่กับการเสริมสร้างขีดความสามารถในการจัดการความเสี่ยงและสร้างโอกาสในชีวิตให้แก่ตนเองมุ่งปรับโครงสร้างเศรษฐกิจให้มีฐานการพัฒนาที่ทั่วถึงและยั่งยืน พัฒนาเศรษฐกิจฐานรากที่มีความหลากหลายและแข็งแกร่งมากขึ้น ส่งเสริมการจัดสรรทรัพยากรให้เกิดความเป็นธรรม ปรับโครงสร้างทั้งระบบให้สนับสนุนการกระจายรายได้และเป็นเครื่องมือสร้างความเป็นธรรมในการจัดสรรทรัพยากรและการถือครองทรัพย์สิน พัฒนาการใช้ประโยชน์เทคโนโลยีสารสนเทศและการเข้าถึงข้อมูลข่าวสารในการพัฒนาอาชีพ ส่งเสริมบทบาทของภาคธุรกิจเอกชนในการเสริมสร้างความมั่นคงทางเศรษฐกิจและสังคมแก่คนในชุมชนรวมทั้งยกระดับคุณภาพ ระบบการคุ้มครองทางสังคมให้ครอบคลุมทุกคนอย่างทั่วถึงสอดคล้องกับความต้องการและความจาเป็น
URI: http://mcuir.mcu.ac.th:8080/jspui/handle/123456789/611
Appears in Collections:รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
2563-005นายสัญญา สดประเสริฐ ย่อย1.pdf3.24 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.