Please use this identifier to cite or link to this item: http://mcuir.mcu.ac.th:8080/jspui/handle/123456789/610
Title: รูปแบบกลไกการขับเคลื่อนเศรษฐกิจและสังคมในการพัฒนาศักยภาพทุนทางทรัพยากรและทุนทางวัฒนธรรมไทย
Other Titles: Driving Mechanism Model of Economy and Society in the Development Capital of Resource and Thai Cultural Capital
Authors: ภู่โคกหวาย, พระครูใบฎีกาธีรยุทธ
-, พระเทพศาสนาภิบาล
Keywords: รูปแบบ
กลไกการขับเคลื่อนเศรษฐกิจและสังคม
ทุนทางทรัพยากร
ทุนทางวัฒนธรรมไทย
Issue Date: 2563
Publisher: สถาบันวิจัยพุทธศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
Abstract: การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ ๑) เพื่อสร้างกลไกการขับเคลื่อนเศรษฐกิจและสังคมในการพัฒนาศักยภาพทุนทางทรัพยากรและทุนทางวัฒนธรรมไทย ๒) เพื่อวิเคราะห์กลไกการขับเคลื่อนเศรษฐกิจและสังคมในการพัฒนาศักยภาพทุนทางทรัพยากรและทุนทางวัฒนธรรมไทย ๓) เพื่อนาเสนอกลไกการขับเคลื่อนเศรษฐกิจและสังคมในการพัฒนาศักยภาพทุนทางทรัพยากรและทุนทางวัฒนธรรมไทย กลุ่มตัวอย่าง และผู้ให้ข้อมูลสาคัญ ได้แก่ กลุ่มประชาชนในชุมชน กลุ่มผู้ค้าและผู้ผลิต และกลุ่มครูภูมิปัญญาท้องถิ่น จานวน ๒๕ คน โดยใช้วิธีการวิจัยเชิงปฏิบัติการ (Action Research Methodology) โดยการวิจัยแบบมีส่วนร่วม และการวิจัยเชิงปฏิบัติการ ผสมผสานเข้าด้วยกัน ผลการวิจัยพบว่า ๑. วิเคราะห์กลไกการขับเคลื่อนเศรษฐกิจและสังคมในการพัฒนาศักยภาพทุนทางทรัพยากรและทุนทางวัฒนธรรมไทย พบว่า เงื่อนไข ข้อจากัดในการพัฒนาเศรษฐกิจฐานรากในตาบลหนองลู อาเภอสังขละบุรี จังหวัดกาญจนบุรี ในมิติการขับเคลื่อนเศรษฐกิจและสังคมในการพัฒนาศักยภาพทุนทางทรัพยากรและทุนทางวัฒนธรรมไทยนี้ นาเสนอแบ่งเป็น ๓ ประเด็น ได้แก่ ๑) ชุมชนกับการจัดการตนเอง ๒) องค์การปกครองส่วนท้องถิ่นกับการพัฒนาเศรษฐกิจฐานราก และ ๓) ทุนทางทรัพยากรและทุนทางวัฒนธรรมไทยเพื่อการขับเคลื่อนเศรษฐกิจฐานราก การพัฒนาศักยภาพทุนทางทรัพยากรและทุนทางวัฒนธรรมในการพึ่งตนเองของชุมชนได้อย่างแท้จริงนั้น เป็นเรื่องที่ต้องใช้ความอดทน เพราะแต่ละขั้นตอนที่ทาจะต้องอาศัยความเข้าใจ และความร่วมมือร่วมใจจากชาวบ้านในชุมชน เพราะเป็นเรื่องที่จะเกิดผลในระยะยาวมากกว่า จึงอธิบายให้ชุมชนเข้าใจได้ยาก และเมื่อไม่เข้าใจก็มีอันต้องล้มเลิกเสียกลางคัน ทาให้ความพยายามทั้งหมดที่ผ่านมาเสียไปโดยเปล่าประโยชน์ แต่อย่างไรก็ดี ถ้าชุมชนหรือหมู่บ้านใดต้องการพัฒนาให้ท้องถิ่นของตนเองดีขึ้นก็จะต้องตั้งใจทา แล้วก็ต้องทาอย่างเป็นกระบวนการ เป็นขั้นเป็นตอน และที่สาคัญต้องจริงจังกับกระบวนการ (ข) ๒. สร้างกลไกการขับเคลื่อนเศรษฐกิจและสังคมในการพัฒนาศักยภาพทุนทางทรัพยากรและทุนทางวัฒนธรรมในการพึ่งตนเองของชุมชนได้อย่างแท้จริงนั้น เป็นเรื่องที่ต้องใช้ความอดทน เพราะแต่ละขั้นตอนที่ทาจะต้องอาศัยความเข้าใจ และความร่วมมือร่วมใจจากชาวบ้านในชุมชน เพราะเป็นเรื่องที่จะเกิดผลในระยะยาวมากกว่า จึงอธิบายให้ชุมชนเข้าใจได้ยาก และเมื่อไม่เข้าใจก็มีอันต้องล้มเลิกเสียกลางคัน ทาให้ความพยายามทั้งหมดที่ผ่านมาเสียไปโดยเปล่าประโยชน์ แต่อย่างไรก็ดี ถ้าชุมชนหรือหมู่บ้านใดต้องการพัฒนาให้ท้องถิ่นของตนเองดีขึ้นก็จะต้องตั้งใจทา การสร้างกลไกการขับเคลื่อนเศรษฐกิจและสังคมในการพัฒนาศักยภาพทุนทางทรัพยากรและทุนทางวัฒนธรรมนั้น สามารถยึดการจัดทาแผนชุมชนเป็นหลักได้ เนื่องจากการทาให้ชุมชนเข้มแข็ง ไม่สามารถทาได้โดยการสร้างจากบุคคลภายนอกชุมชน หรือทาโดยการสอน การฝึกอบรม ชุมชนที่เข้มแข็งจะมีกระบวนการในการจัดการของชุมชน มีการเรียนรู้ร่วมกัน มีกิจกรรมเพิ่มคุณค่าทุนทางสังคมและทุนทางวัฒนธรรมของคนในชุมชน ภายใต้ระบบความสัมพันธ์ระหว่างคนในชุมชน เป็นเครือข่ายชุมชน และมีการขยายพันธมิตรออกไปนอกชุมชนในลักษณะสร้างความสัมพันธ์” ดังนั้น ทุกชุมชนจึงต้องร่วมกัน สร้างพลังชุมชน และใช้พลังชุมชน ในการพัฒนาชุมชน ๓. รูปแบบกลไกการขับเคลื่อนเศรษฐกิจและสังคมในการพัฒนาศักยภาพทุนทางทรัพยากรและทุนทางวัฒนธรรม พบว่า ชุมชนบ้านวังกะได้มีการจัดทาแผนพัฒนาภายใต้หลักการดังกล่าว โดยมีกระบวนการสารวจข้อมูลของตนเองรู้จักตนเอง รู้จักท้องถิ่น ก็จะนาไปสู่กระบวนการพูดคุยปรึกษาระหว่างคนในชุมชนท้องถิ่นหน่วยงาน ภาคี ทุกกลุ่ม ทุกฝ่าย เพื่อร่วมกันระดมปัญหาและแนวทางการแก้ไขปัญหาร่วมกันทั้งปัญหาเร่งด่วนเฉพาะหน้า และสิ่งที่ต้องพัฒนาหรือฟื้นฟูชุมชนท้องถิ่น นามาจัดทาแผนปฏิบัติการแก้ไขปัญหาและพัฒนาชุมชนท้องถิ่นในทุกด้านทั้งแผนระยะสั้นระยะกลาง และระยะยาวที่สอดคล้องกับปัญหาความเดือดร้อน ความต้องการ และสร้างโอกาสการพัฒนาด้านต่างๆให้กับผู้คนในชุมชนท้องถิ่นของเราเอง ทั้งการแก้ไขปัญหาความยากจน หนี้สิน ที่ดินทากิน ราคาผลผลิตตกต่า การฟื้นฟูทรัพยากร ธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม การจัดระบบสวัสดิการชุมชน ฯลฯ รวมถึงมีเป้าหมายชัดเจน และมีระบบจัดการร่วมกันเพื่อให้สามารถบรรลุเป้าหมายการพัฒนานั้น ๆ ก็จะนาไปสู่การฟื้นฟูและพัฒนาชุมชนท้องถิ่นอย่างเข้มแข็ง และยั่งยืน รวมถึงนาไปสู่การจัดการตนเองของชุมชนท้องถิ่นในที่สุด
URI: http://mcuir.mcu.ac.th:8080/jspui/handle/123456789/610
Appears in Collections:รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์



Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.