Please use this identifier to cite or link to this item: http://mcuir.mcu.ac.th:8080/jspui/handle/123456789/608
Title: การจัดการระบบนิเวศแบบพหุภาคีในอาเภอหล่มสัก จังหวัดเพชรบูรณ์
Other Titles: Multilateral Ecosystem Management in Lomsak District, Phetchabun Province
Authors: ละคร, ปิยวัช
Keywords: การจัดการ
ระบบนิเวศแบบพหุภาคี
อำเภอหล่มสัก
จังหวัดเพชรบูรณ์
Issue Date: 2561
Publisher: สถาบันวิจัยพุทธศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
Abstract: การศึกษาการจัดการระบบนิเวศแบบพหุภาคีเครือข่ายในอาเภอหล่มสัก จังหวัดเพชรบูรณ์ในครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์คือ ๑) เพื่อศึกษาการจัดระบบนิเวศของภาคีเครือข่ายชุมชนในจังหวัดเพชรบูรณ์ ๒) เพื่อพัฒนาพื้นที่และกิจกรรมเชิงสร้างสรรค์กับการเสริมสร้างความสมดุลในระบบนิเวศ ในจังหวัดเพชรบูรณ์ ๓) เพื่อวิเคราะห์ปัญหาอุปสรรคและเสนอองค์ประกอบการจัดการระบบนิเวศแบบพหุภาคี ในจังหวัดเพชรบูรณ์ การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพแบบผสมผสาน คือการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยเก็บข้อมูลด้วยการสัมภาษณ์ผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง ผลการศึกษาพบว่า การจัดระบบนิเวศแบบพหุภาคีเครือข่ายของชุมชนในอาเภอหล่มสัก จังหวัดเพชรบูรณ์ ทั้ง ด้านน้า ด้านดิน ด้านเกษตรอินทรีย์ ด้านการจัดการขยะ ทุกพื้นที่ ต้องมีการทาความเข้าใจกับชุมชนให้มีความรู้ในเรื่องดิน น้า โดยการมีส่วนร่วมของพหุภาคี ให้ครอบคลุมทุกพื้นที่ เพื่อการจัดการทรัพยากรน้าที่ยั่งยืน มีแนวคิดจะพัฒนาลาน้า โดยขุดเป็นบ่อน้าในลาห้วย เป็นขั้นบันไดทอดลงไปสู่ด้านล่าง และมีแนวคิดทาธนาคารน้าใต้ดิน เพื่อเพิ่มระดับน้าบาดาล การบริหารจัดการทรัพยากรน้าอย่างยั่งยืน โดยกระบวนการมีส่วนร่วมของภาคีเครือข่าย ระบบนิเวศดินเป็นทรัพยากรธรรมชาติที่สาคัญในการดารงชีพของมนุษย์ การทาเกษตรกรรมที่ต้องใช้ที่ดินเป็นปัจจัยหลัก ดังนั้น การจัดการดินเป็นการเพิ่มอินทรียวัตถุให้แก่ดิน ทาได้โดยการใช้ปุ๋ยอินทรีย์ ซึ่งมีหลายชนิดด้วยกันเช่น การใช้ปุ๋ยคอก ปุ๋ยหมัก ดังนั้นวิธีการเพิ่ม อินทรียวัตถุ ให้แก่ดินอีกวิธีหนึ่ง ที่มีวิธีการปฏิบัติง่ายก็คือ การใช้ปุ๋ยพืชสด ปุ๋ยพืชสด คือ ปุ๋ยอินทรีย์ชนิดหนึ่ง ที่ได้จากการไถกลบ ต้น ใบ และส่วนต่างๆของพืช โดยเฉพาะพืชตระกูลถั่ว ในระยะช่วงออกดอก ซึ่งเป็นช่วงที่มีธาตุอาหารสูงสุด แล้วปล่อยทิ้งไว้ให้เน่าเปื่อยผุพัง ย่อยสลายเป็นอาหารแก่พืชที่จะปลูกตามมา พืชที่ใช้ปลูกเป็นปุ๋ยพืชสด ได้แก่ โสนอินเดีย ปอเทือง อัญชัน ไมยราพไร้หนาม พืชตระกูลถั่วต่างๆ มีความพอเพียงกับการดารงชีวิต สุขภาพแข็งแรงด้วยการทาเกษตรอินทรีย์ไว้บริโภคในครัวเรือนบ้าง นาไปขายบ้าง ลดการใช้สารเคมีกาจัดศัตรูพืช โดยใช้วิธีทางธรรมชาติในการกาจัดศัตรูพืชแทน และการจัดการขยะชุมชนที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมและการจัดการขยะอย่างเป็นระบบระเบียบ ไม่ให้มีมลภาวะซึ่งส่งผลต่อ สุขภาพ จึงหันมาให้ความสนใจในการที่จะดูแลรักษาสิ่งแวดล้อม ให้อยู่ในสภาพที่ดีอย่างยั่งยืน โดยมีหลักการพัฒนาที่จะนาไปสู่ความยั่งยืน คือ การรักษาสิ่งแวดล้อมโดยคานึงถึงการอนุรักษ์ทรัพยากรควบคุมการปล่อยของเสียสู่ธรรมชาติ การใช้ทรัพยากรอย่างมีประสิทธิภาพ และเห็นคุณค่าควบคุมจานวนประชากร เพื่อลดความต้องการการใช้ทรัพยากรของมนุษย์ นอกจากนี้ยังมีการคัดแยก ณ แหล่งกาเนิดและแยกประเภทเก็บขน โดยการจัดถังแยกประเภทเพื่อให้ประชาชนแยกประเภทขยะทิ้ง โดยแยกออกเป็นขยะรีไซเคิล ขยะที่รีไซเคิลไม่ได้ และขยะอันตรายก็ตาม การดาเนินการสร้างวินัยในการจัดการขยะ จึงจัดทาโครงการชุมชนปลอดขยะ (Zero Waste) เพื่อส่งเสริมและสนับสนุนให้เกิดความร่วมมือและการมีส่วนร่วมของประชาชนและองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในการดาเนินงานด้านการจัดการขยะมูลฝอยแบบครบวงจร โดยนาแนวคิด “Zero Waste” หรือ “การจัดการขยะเหลือศูนย์” ตามหลัก ๓Rs คือ Reduce หรือ การลดปริมาณขยะ Reuse หรือ การใช้ซ้า และ Recycle หรือ การนากลับมาใช้ใหม่ ส่งเสริมให้ชุมชนมีการจัดการขยะจากต้นทางแหล่งกาเนิดขยะ การพัฒนาพื้นที่และกิจกรรมเชิงสร้างสรรค์กับการเสริมสร้างความสมดุลในระบบนิเวศ ในอาเภอหล่มสัก จังหวัดเพชรบูรณ์ ซึ่งในแต่ละพื้นที่มีกิจกรรม พัฒนาที่ให้ความสมดุลการระบบนิเวศ เช่นกิจกรรมปลูกป่าต้นน้าทางฝั่งซ้ายของน้าป่าสัก คลองชลประทานสาหรับส่งน้าเพื่อการเกษตร ปลูกพืชเสริมแร่ธาตุให้กับดิน ซึ่งจะส่งผลให้เกษตรกรปลูกพืชได้ผลผลิตมากขึ้น ส่งเสริมให้เกษตรกรลดการใช้ปุ๋ยเคมี หรือสารเคมีชนิดต่างๆ ให้ใช้ปุ๋ยอินทรีย์แทนปุ๋ยเคมี ส่งเสริมให้ทาเกษตรอินทรีย์ปลอดสารพิษมากขึ้น และรณรงค์ให้ชุมชนคัดแยกขยะก่อนทิ้งด้วย ซึ่งเป็นการง่ายต่อการจัดการมากขึ้น ปัญหาและอุปสรรคคือ ความร่วมมือ ความรู้ ความเข้าใจของชุมชนที่จะเข้ามามีส่วนร่วมในการจัดการระบบนิเวศ ส่วนการเสนอองค์ประกอบการจัดการระบบนิเวศแบบพหุภาคี คือ ภาครัฐ ภาคประชาชน ต้องร่วมกันจัดการกับปัญหาที่เกิดขึ้น ในส่วนของภาครัฐสนับสนุนงบประมาณ สนับสนุนเครื่องมือ และภาคประชาชนให้ความร่วมมือปฏิบัติตามให้เป็นไปในทิศทางเดียวกันจึงจะสาเร็จลุล่วงตามเป้าหมายได้ วิเคราะห์ปัญหาอุปสรรคและเสนอองค์ประกอบการจัดการระบบนิเวศแบบพหุภาคี ในอาเภอหล่มสัก จังหวัดเพชรบูรณ์ พบปัญหาทรัพยากรน้า ได้แก่ ปัญหาการขาดแคลนน้า และภัยแล้ง และปัญหาป่าต้นน้าเสื่อมโทรม ปัญหาการกัดเซาะหน้าดิน ดินถล่ม น้าป่าไหลหลาก และปัญหาน้าท่วม ปัญหาคุณภาพน้า เมื่อแยกเป็นก็จะมีปัญหาน้าเสียที่เกิดจากกิจกรรมในการดารงชีวิตในชุมชน ความไม่เข้าใจในเรื่องการทาเกษตรอินทรีย์ การจัดการขยะขาดความรู้ในการคัดแยก และไม่เอาใจใส่
URI: http://mcuir.mcu.ac.th:8080/jspui/handle/123456789/608
Appears in Collections:รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
2561-190นายปิยวัช ละคร.pdf2.53 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.