Please use this identifier to cite or link to this item: http://mcuir.mcu.ac.th:8080/jspui/handle/123456789/607
Title: การพัฒนารูปแบบและเครือข่ายการจัดการเรียนรู้ตลอดชีวิตของโรงเรียนผู้สูงอายุ
Other Titles: Model development and network management, lifelong learning, the school's seniors
Authors: พระครูพิสุทธิปัญญาภิวัฒน์
พระครูวศินวรกิจ
พระครูพิจิตรวรเวท
ไชยชนะ, วิชิต
ไชยชนะ, นพวรรณ์
Keywords: การพัฒนารูปแบบ
เครือข่ายการจัดการ
การเรียนรู้ตลอดชีวิต
โรงเรียนผู้สูงอายุ
Issue Date: 2561
Publisher: สถาบันวิจัยพุทธศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยเรื่อง “การพัฒนารูปแบบและเครือข่ายการจัดการเรียนรู้ตลอดชีวิตของโรงเรียนผู้สูงอายุ” มีวัตถุประสงค์ ๑. เพื่อศึกษาพฤติกรรมการเรียนรู้ตลอดชีวิตของผู้สูงอายุ ๒.เพื่อพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้ตลอดชีวิตของโรงเรียนผู้สูงอายุ และ ๓.เพื่อเสริมสร้างเครือข่ายแลกเปลี่ยนเรียนรู้ของโรงเรียนผู้สูงอายุ วิธีดาเนินการวิจัยแบบผสานวิธี (Mixed Methods Research) ประชากร นักเรียนบุคคลที่มีอายุ ๖๐ ปีขึ้นไป ในเครือข่ายพื้นที่การขับเคลื่อนงานศูนย์พัฒนาคุณภาพชีวิตและส่งเสริมอาชีพผู้สูงอายุ (ศพอส.) วิทยาลัยผู้สูง อายุปี ๒๕๖๑ จานวน ๒๑ แห่งๆ ละ ๓๐ คน รวม ๖๓๐ คน คณะกรรมการวิทยาลัยผู้สูงอายุ จานวน ๑๔๗ คน คณะกรรมการวิทยาลัยผู้สูงอายุส่วนกลางจานวน ๑๓ คน คณะกรรมการติดตามและประเมินผลจานวน ๗ คน กลุ่มตัวอย่าง ที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ มีการดาเนินการสุ่มตัวอย่างแบบหลายขั้นตอน ได้แก่นักเรียนบุคคลที่มีอายุ ๖๐ ปีขึ้นไป ๘ แห่ง จานวน ๒๔๐ คนกาหนดขนาดกลุ่มตัวอย่างจากตารางสาเร็จรูปของเครชี่และมอร์แกน ผู้ให้ข้อมูลสาคัญใช้วิธีเลือกแบบเจาะจง ประกอบด้วย กลุ่มตัวแทนผู้สูงอายุ จานวน ๓ คน กลุ่มผู้บริหาร จานวน ๕ คน กลุ่มผู้ทรงคุณวุฒิ จานวน ๓ คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยได้แก่แบบสอบถามและการสัมภาษณ์เชิงลึกแบบกึ่งมีโครงสร้าง สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัยพบว่า ๑). พฤติกรรมการเรียนรู้ตลอดชีวิตของผู้สูงอายุ จากการศึกษาผลการวิจัยพบว่าระดับความคิดเห็นของกลุ่มตัวอย่าง เกี่ยวกับพฤติกรรมการเรียนรู้ตลอดชีวิตของผู้สูงอายุทั้ง ๓ ด้าน คือ ๓ กลุ่มวิชาคือ ๑. วิชาชีวิตผู้สูงอายุส่วนใหญ่มี การใช้ชีวิตในวัยสูงอายุการเตรียมตัวก่อนวัยสูงอายุด้านต่างๆ ได้แก่ ด้านเศรษฐกิจสังคมและสุขภาพ, มีการดูแลสุขภาพกาย (๓อ) การออกกาลังกาย (เน้นการออกกาลังกายด้วยตนเอง) การออกกาลังกายเพื่อสุขภาพของผู้สูงอายุ, มีการจัดสภาพแวดล้อมที่ ข เหมาะสมและที่พักอาศัยในวัยผู้สูงอายุการจัดสิ่งอานวยความสะดวก ได้แก่ ห้องนอน พื้นที่ใช้สอยทั่วไป และห้องน้า, มีการถ่ายทอดภูมิปัญญาผู้สูงอายุภูมิปัญญาไทย, มีการเข้าร่วมกิจกรรมเข้าจังหวะลีลาศ ราไทย บาสะโลบ ดนตรี ร้องเพล งพัฒนาทักษะในการร้อง การเล่นดนตรีการนวดแผนไทย ธรรมชาติบาบัดประโยชน์ของสมุนไพร ๒. กลุ่มวิชาชีพผู้สูงอายุส่วนใหญ่มี.เศรษฐกิจพอเพียงเรียนรู้ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ๓. กลุ่มวิชาการผู้สูงอายุส่วนใหญ่มี.การเรียนรู้ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง มีการออมในวัยสูงอายุ ความหมายการออม และความสาคัญของเงินออม, มีโรคเรื้อรังและพบมากใน วัยสูงอายุการปฎิบัติตัวเบื้องต้น ๒) รูปแบบการจัดการเรียนรู้ตลอดชีวิตของโรงเรียนผู้สูงอายุจากการศึกษาผลการวิจัยพบว่าโครงการส่งเสริมศักยภาพผู้สูงอายุ “โรงเรียนผู้สูงอายุ : วิทยาลัยผู้สูงอายุ” แผนกิจกรรมกิจกรรมภายในโรงเรียน ๑.ให้ความรู้ด้านต่างๆ ๒.นันทนาการ ๓.ฝึกอาชีพ ๔.ถ่ายทอดภูมปัญญา ๕.ศิลปวัฒนธรรม ๖.สมุนไพร ธรรมชาติบาบัดกิจกรรมภายนอกโรงเรียน ๑.ศาสนาประเพณี ๒. ทัศนศึกษา ๓. อาสาสมัคร บาเพ็ญประโยชน์ ๔.เยี่ยมเยียนผู้สูงอายุโดยมี คณะกรรมการดาเนินงาน ๕ก กลุ่ม กรรมการ กติกา กิจกรรม กองทุนร่วมคิดจะทาอะไรจึงจะเกิดประโยชน์ต่อผู้สูงอายุร่วมทาทาเพื่อให้เกิดการพัฒนาคุณภาพชีวิตของคนทุกวัยร่วมสร้างสร้างชุมชนที่เป็นสุขด้วยมือของทุกคนเนื้อหาและโครงสร้างของหลักสูตรวิทยาลัยผู้สูงอายุจังหวัดพิจิตร หลักสูตร“วิทยาศาสตร์สุขภาพ และเศรษฐกิจชุมชนสาหรับผู้สูงอายุ” - ความจาเป็นในการดูแลผู้สูงอายุในสังคมไทย - การสร้างเสริมสุขภาพของผู้สูงอายุ- การมีบทบาทต่อกิจกรรมทางสังคมของผู้สูงอายุ - การจัดการความเครียดและอารมณ์- ความมั่นคงแห่งชีวิตและสวัสดิการของผู้สูงอายุ- เศรษฐกิจชุมชนสาหรับผู้สูงอายุ ๓) การเสริมสร้างเครือข่ายแลกเปลี่ยนเรียนรู้ของโรงเรียนผู้สูงอายุองค์การบริหารส่วนจังหวัดพิจิตรได้อนุมัติให้จัดทา “โครงการส่งเสริมศักยภาพผู้สูงอายุ” โดยมีกิจกรรมที่จัดขึ้นผ่านการจัดตั้ง “วิทยาลัยผู้สูงอายุจังหวัดพิจิตร” ซึ่งเป็นกระบวนการที่เกิดจากการบูรณาการร่วมกันผ่านหน่วยงานที่ดาเนินงานด้านผู้สูงอายุจังหวัดพิจิตร ประกอบด้วย องค์การบริหารส่วนจังหวัดพิจิตร สานักงานพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์จังหวัดพิจิตร สานักงานสาธารณสุขจังหวัดพิจิตร และชมรมผู้สูงอายุจังหวัดพิจิตร รวมถึงวิทยาลัยการปกครองท้องถิ่น มหาวิทยาลัยขอนแก่น ที่จะเข้ามาสนับสนุนการดาเนินงานในส่วนของการประชาสัมพันธ์และงานด้านวิชาการ
URI: http://mcuir.mcu.ac.th:8080/jspui/handle/123456789/607
Appears in Collections:รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
2561-145 พระครูพิสุทธิปัญญาภิวัฒน์.pdf5.45 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.