Please use this identifier to cite or link to this item: http://mcuir.mcu.ac.th:8080/jspui/handle/123456789/606
Title: การยกระดับโครงการหมู่บ้านรักษาศีล ๕ เพื่อสร้างความมั่นคงและยั่งยืนของชุมชนในสังคมไทย
Other Titles: The Enhancement of the five Precepts Observing Village Project to Create Security and Sustainability of Communities in Thai society
Authors: พระสุธีรัตนบัณฑิต
พระเทพศาสนาภิบาล
อินฺทปญฺโญ, พระมหาเกรียงศักดิ์
Keywords: การยกระดับ
โครงการหมู่บ้านรักษาศีล ๕
ความมั่นคงและยั่งยืน
ชุมชนในสังคมไทย
Issue Date: 2563
Publisher: สถาบันวิจัยพุทธศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
Abstract: โครงการวิจัยเรื่องนี้มีวัตถุประสงค์ ๓ ประการ คือ เพื่อศึกษาการพัฒนากิจกรรมการ รักษาศีล ๕ ของหมู่บ้านรักษาศีล ๕ เพื่อศึกษาการขับเคลื่อนและเสริมสร้างเครือข่ายความร่วมมือ โครงการหมู่บ้านรักษาศีล ๕ และเพื่อวิเคราะห์ผลการดาเนินการโครงการหมู่บ้านรักษาศีล ๕ กับการ พัฒนาสังคมวิถีพุทธ การวิจัยนี้เป็นการวิจัยแบบผสมผสานทั้งในเชิงเอกสาร เชิงปริมาณ เชิงคุณภาพ และเชิงปฏิบัติการ โดยเก็บรวบรวมข้อมูลจากพระสงฆ์ ผู้แทนภาครัฐ ผู้นาท้องถิ่นและประชาชน จานวน ๔๙๐ รูป/คน ทั้งในระดับนโยบาย คณะสงฆ์ในระดับจังหวัดและประชาชนในหมู่บ้านรักษาศีล ๕ ต้นแบบจานวน ๑๐ หมู่บ้าน ในพื้นที่ ๑๐ จังหวัด ประกอบด้วย เชียงราย น่าน พิจิตร สกลนคร นครพนม บุรีรัมย์ กาญจนบุรี ชลบุรี สงขลา สตูล จากนั้นนาข้อมูลมาวิเคราะห์ในเชิงสถิติพรรณนา และข้อมูลเชิงคุณภาพเพื่อให้เห็นกระบวนการและผลลัพธ์ของการวิจัย ผลการศึกษาพบว่า ๑. ผลการศึกษาการรับรู้และการมีส่วนร่วมการดาเนินการโครงการหมู่บ้านรักษาศีล ๕ จากการศึกษาความคิดเห็นของพระสงฆ์และประชาชนจานวน ๔๐๐ ราย ซึ่งส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง อายุอยู่ในระหว่าง ๒๐-๓๐ ปี และสาเร็จการศึกษาในระดับมัธยมศึกษา พบว่า กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่ ร้อยละ ๘๗ เคยรับรู้ข่าวสารเกี่ยวกับโครงการหมู่บ้านรักษาศีล ๕ ผ่านช่องทางที่ทางวัดเป็นผู้แจ้งให้ ทราบมากที่สุด รองลงมา ผ่านสื่อ social media อาทิ เฟซบุ๊ค ไลน์ เว็บไซต์ ในด้านการรักษาศีล ๕ พบว่า กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่สนใจและตั้งใจสมาทานศีลในวันพระหรือวันสาคัญทางพระพุทธศาสนา มีเพียงจานวนน้อยระบุว่าตั้งใจรักษาศีลในทุกวัน ซึ่งกลุ่มตัวอย่างระบุว่า มีการรักษาศีลข้อที่ ๓ คือ มี ความรับผิดชอบต่อการกระทาทางเพศของตัวเองมากที่สุด รองลงมา ได้แก่ การไม่เอาของคนอื่นมา โดยพลการหรือมีจิตคิดจะขโมยของผู้อื่น (ศีลข้อ ๒ ) การไม่มีจิตโกหกพูดให้ผู้อื่นเสียหาย (ศีลข้อ ๓) การไม่ยุ่งเกี่ยวกับสุรายาเสพติด (ศีลข้อ ๕) และการไม่เบียดเบียนฆ่าหรือทาร้ายกัน (ศีลข้อ ๑) ๒. ผลศึกษาการพัฒนากิจกรรมการรักษาศีล ๕ ของหมู่บ้านรักษาศีล ๕ ต้นแบบ พบว่า หมู่บ้านรักษาศีล ๕ ต้นแบบในพื้นที่ ๑๐ จังหวัดในสังคมไทย ได้ปรับเปลี่ยนหลักการของศีล ๕ ให้เป็นรูปธรรมเพื่อให้เหมาะสมกับการพัฒนาหมู่บ้านในเชิงศีลธรรมของสังคม คือ ๑) การรักษาศีลข้อ ที่ ๑ ไม่มุ่งร้ายต่อกันสอนให้รู้จักคุณค่าของความเป็นคนและให้มีเมตตาต่อสรรพสัตว์ มีกฎของหมู่บ้าน คือ ห้ามจับสัตว์น้าฤดูวางไข่ ห้ามพกพาอาวุธ จัดกิจกรรมปล่อยนก ปล่อยปลา ตั้งเขตอภัยทานของ หมู่บ้าน หากฝ่าฝืนมีการปรับเงินผู้ที่ละเมิดกติกาหมู่บ้าน ๒) การรักษาศีลข้อ ๒ ห้ามลักขโมย หากมี การละเมิดปรับ ๒ เท่าของราคาทรัพย์สิน และมุ่งเน้นการตั้งกองทุนหมู่บ้าน กลุ่มออมทรัพย์เพื่อให้ ประกอบสัมมาชีพ ๓) การรักษาศีลข้อที่ ๓ ห้ามคบชู้ นอกใจ ฝ่าฝืนตักเตือน ให้ข้อคิด โดยมีกิจกรรม ค ส่งเสริมครอบครัวสัมพันธ์และส่งเสริมเยาวชนให้มีความรับผิดชอบต่อพฤติกรรมทางเพศของตนเอง ๔) การรักษาศีลข้อที่ ๔ ห้ามทะเลาะวิวาท ห้ามส่งเสียงดังรบกวนผู้อื่น ฝ่าฝืนให้ชดใช้ค่าเสียหาย รวมทั้งส่งเสริมให้คนมีสัจจะต่อกันตามภูมิปัญญาและประเพณีของชุมชน ๕) การรักษาศีลข้อ ๕ ห้าม ยุ่งเกี่ยวกับยาสเพติดให้โทษ ฝ่าฝืนตักเตือนและส่งเจ้าหน้าที่ตามความผิดที่ปรากฎ โดยมีการพัฒนา กิจกรรมงานบุญปลอดเหล้างานเศร้าปลอดอบายมุข เพื่อให้สังคมหมูบ้านเกิดสันติสุข ๓. ผลการขับเคลื่อนและเสริมสร้างเครือข่ายความร่วมมือโครงการหมู่บ้านรักษาศีล ๕ พบว่า รูปแบบการขับเคลื่อนและการเสริมสร้างเครือข่ายโครงการหมู่บ้านรักษาศีล ๕ นั้น ดาเนินการ คล้ายกับโครงการในระดับหมู่บ้านของภาครัฐ เช่น โครงการแผ่นดินธรรม แผ่นดินทอง โครงการ หมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียง โครงการหมู่บ้านสีขาว-ช่อสะอาด ชุมชนคุณธรรม เป็นต้น มีการขับเคลื่อน โดยคณะกรรมการที่มาจากคณะสงฆ์ ภาครัฐ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ภาคเอกชน และประชาชน ตามหลัก “พลังบวร” โดยมีพระสงฆ์เป็นแกนนาในการพัฒนาหมู่บ้านให้มีการรักษาศีล ๕ มีความรัก ความสามัคคีพร้อมกับการส่งเสริม “สัมมาชีพ” อันเป็นการพัฒนาหมู่บ้านให้เกิดความมั่นคงยั่งยืน ๔. ผลการวิเคราะห์การดาเนินการของหมู่บ้านรักษาศีล ๕ ต้นแบบกับการพัฒนา สังคมวิถีพุทธ พบว่า ผลลัพธ์ของโครงการหมู่บ้านรักษาศีล ๕ นั้น ได้นาไปสู่การสร้างหมู่บ้านต้นแบบ และชุมชนคุณธรรมบนฐานพุทธธรรม เพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตที่ดีของประชาชน โดยผ่านกระบวนการ ทางานของคณะสงฆ์ ภาครัฐ ภาคเอกชน องค์กรชุมชนท้องถิ่นและภาคประชาสังคม ซึ่งเป็นไปตาม หลักศีล ๕ และหลักภาวนา ๔ ที่สอดคล้องกับการพัฒนาสังคมวิถีพุทธ คือ ๑) การพัฒนาคนหรือ ทรัพยากรมนุษย์ให้มีคุณธรรมจริยธรรมตามหลักหลักพุทธธรรม และมีคุณภาพชีวิตที่ดี อนุเคราะห์ เกื้อกูลต่อกัน ๒) การอนุรักษ์และส่งเสริมจัดการทรัพยากรวัฒนธรรม ภูมิปัญญาท้องถิ่นให้เกิดการ สร้างสรรค์ใหม่ที่เป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาเศรษฐกิจสร้างสรรค์ ๓) การจัดการและอนุรักษ์ ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมให้ยั่งยืน และ ๔) การบูรณาการเทคโนโลยีในการจัดการหมู่บ้าน และชุมชนให้มีประสิทธิภาพเพื่อส่งเสริมการเรียนรู้และการพัฒนาที่ยั่งยืนของสังคม
URI: http://mcuir.mcu.ac.th:8080/jspui/handle/123456789/606
Appears in Collections:รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
2563-009พระสุธีรัตนบัณฑิต, รศ.ดร..pdf10.11 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.