Please use this identifier to cite or link to this item:
http://mcuir.mcu.ac.th:8080/jspui/handle/123456789/605
Title: | การพัฒนาระบบนิเวศเชิงพุทธสาหรับผู้ประกอบการใหม่ Startup ในจังหวัดนครราชสีมา |
Other Titles: | The Development of Ecosystem Buddhist for Startup Entrepreneurs in Nakhon Ratchasima Province |
Authors: | สุวรรณวงศ์, เบญจมาศ รกฺขิตธมฺโม, พระมหาสุพร |
Keywords: | การพัฒนา ระบบนิเวศเชิงพุทธ Startup จังหวัดนครราชสีมา |
Issue Date: | 2563 |
Publisher: | สถาบันวิจัยพุทธศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย |
Abstract: | การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ๑) ศึกษาแนวคิดและการพัฒนาระบบนิเวศสาหรับ ประกอบการใหม่ Startup ในจังหวัดนครราชสีมา ๒) ศึกษาการประยุกต์ใช้หลักพุทธธรรมในการ พัฒนาระบบนิเวศสาหรับผู้ประกอบการใหม่Startup ในจังหวัดนครราชสีมา ๓) เสนอรูปแบบการ พัฒนาระบบนิเวศเชิงพุทธสาหรับผู้ประกอบการใหม่Startup ในจังหวัดนครราชสีมา การวิจัยครั้งนี้ เป็นการวิจัยแบบผสานวิธีทั้งการวิจัยในเชิงคุณภาพภาคสนาม และการวิจัยเชิงปฏิบัติการ เครื่องมือที่ ใช้ในการวิจัย คือ แบบสัมภาษณ์ และการจัดอบรมเชิงปฏิบัติการโครงการพัฒนาศักยภาพ ผู้ประกอบการใหม่เชิงพุทธเพื่อมุ่งสู่ “Smart City Korat Startup” ผลการวิจัยพบว่า Ecosystem ระบบนิเวศทางธุรกิจ Startup คือระบบที่เชื่อมโยงกันของ ห่วงโซ่ทางคุณค่าของธุรกิจแต่ละหน่วยที่สามารถช่วยเหลือหรือสนับสนุนธุรกิจร่วมกันมีความเชื่อมโยง สัมพันธ์กันทาให้เกิดเป็นห่วงโซ่คุณค่า ได้แก่ ๑) Startup Company กลุ่มสตาร์ทอัพ ๒) Investor กลุ่มนักลงทุน ๓) Supporting Organization ได้แก่ Incubator / Accelerator, Government, Association,Coworking Space, Academy ,Event, Media การประยุกต์ใช้หลักพุทธธรรมในการพัฒนาระบบนิเวศสาหรับผู้ประกอบการใหม่Startup ในจังหวัดนครราชสีมา แบ่งเป็น ๖ ด้าน ดังนี้ ๑)ด้านการบริหารจัดการกลุ่มและสมาชิก คือ หลัก พรหมวิหารธรรม หลักอปริหานิยธรรม ๒) ด้านการบริหารจัดการด้านการตลาดและลูกค้า คือ หลัก ปาปณิกธรรม หลักสังคหวัตถุ ๔ หลักบุญกิริยาวัตถุ ๓ หิริ และโอตตัปปะ ๓) ด้านการผลิตและงาน สนับสนุนการผลิต คือ หลักสัปปุริสธรรม และหลักทิฏฐธรรมิกัตถะ ๔) ด้านการบริหารจัดการด้าน บัญชีและการเงิน คือ หลักฆราวาสธรรม หลักคิหิสุข ๕) ด้านการปรับปรุงและพัฒนาธุรกิจชุมชนสู่ ความยั่งยืน คือ หลักอิทธิบาท ๔ หลักกัลยาณมิตร ๖)ด้านการส่งเสริมสัมมาชีพของกลุ่มผู้ประกอบการ ธุรกิจ Startup ได้แก่ หลักสัมมาอาชีวะ หลักโภควิภาค ผลจากการอบรมเชิงปฏิบัติการในโครงการ พัฒนาศักยภาพผู้ประกอบการใหม่เชิงพุทธเพื่อมุ่งสู่ “Smart City Korat Startup”ทาให้เกิดการ ถ่ายทอดบทเรียนรูปแบบในการพัฒนาระบบนิเวศเชิงพุทธสาหรับผู้ประกอบการใหม่ Startupใน จังหวัดนครราชสีมาได้อย่างเป็นรูปธรรม |
URI: | http://mcuir.mcu.ac.th:8080/jspui/handle/123456789/605 |
Appears in Collections: | รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์ |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
2563-030เบญจมาศ ย่อย1.pdf | 4.04 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.