Please use this identifier to cite or link to this item: http://mcuir.mcu.ac.th:8080/jspui/handle/123456789/601
Title: การศึกษาเปรียบเทียบละครชาตรีเมืองเพชรและละครชาตรีกรมศิลปากร
Other Titles: The Comparative Study Between Lakhon Chatri in Petchaburi and Lakhon Chatri The Fine Arts Department
Authors: เกตุเขียว, พระครูวัชรสุวรรณาทร
ธมฺมวํโส, พระวรพงศ์
พลกุล, อนุชา
Keywords: ละครชาตรีเมืองเพชร
ละครชาตรีกรมศิลปากร
Issue Date: 2563
Publisher: สถาบันวิจัยพุทธศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
Abstract: การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (๑) เพื่อศึกษาประวัติความเป็นมาและวิวัฒนาการของละคร ชาตรีเมืองเพชร ละครชาตรีกรมศิลปากร (๒) เพื่อเปรียบเทียบ ความแตกต่างระหว่างละครชาตรีเมือง เพชรและละครชาตรีกรมศิลปากร (๓) เพื่อศึกษาการอนุรักษ์ละครชาตรีเมืองเพชรและละครชาตรีกรม ศิลปากร การศึกษาครั้งนี้เป็นการศึกษาโดยการใช้การวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) เริ่มจาก การศึกษาประวัติความเป็นมาและวิวัฒนาการของละครชาตรีเมืองเพชร ละครชาตรีกรมศิลปากร โดย การศึกษาเอกสาร ตำรา งานวิจัย ที่เกี่ยวข้องกับละครชาตรีเมืองเพชรและละครชาตรีกรมศิลปากร จากนั้นได้ทำการสัมภาษณ์ผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง เพื่อให้ทราบถึงเปรียบเทียบ ความแตกต่างระหว่างละคร ชาตรีเมืองเพชรและละครชาตรีกรมศิลปากรและเพื่อศึกษาการอนุรักษ์ละครชาตรีเมืองเพชรและละคร ชาตรีกรมศิลปากร พร้อมทั้งรับฟังข้อเสนอแนะในด้านต่าง ๆ แล้วทำการสรุปวิเคราะห์ผลที่ได้ ไปทำการ ประเมินความเหมาะสมเพื่อปรับปรุงนำเสนอต่อไป ผลการวิจัยพบว่า ๑) ประวัติความเป็นมาและวิวัฒนาการของละครชาตรีเมืองเพชร ละครชาตรีกรมศิลปากร พบว่า ละครชาตรีเมืองเพชร ถือเป็นศิลปะการแสดงพื้นบ้านอย่างหนึ่งของคนเพชรบุรี ที่ไม่มีใครเหมือน และไม่เหมือนใคร ที่คนเพชรบุรีมีความภูมิใจ ละครชาตรีกรมศิลปากรปัจจุบันนี้ละครชาตรีถูกกดดันจาก ละครประเภทอื่น และลิเก จนทำให้ใกล้เสื่อมสูญไปแล้ว แม้ที่แสดงกันอยู่ทั่ว ๆ ไปก็เพียงไหว้ครู และรำ ซัดตอนต้นแบบละครชาตรีนิดหน่อย พอเข้าเรื่องก็กลายเป็นแบบละครนอกปนลิเกไปหมด ๒) เปรียบเทียบ ความแตกต่างระหว่างละครชาตรีเมืองเพชรและละครชาตรีกรมศิลปากร พบว่า การแสดงละครชาตรีเมืองเพชรไม่คำนึงถึงเรื่องฉาก เพราะถือว่าเป็นการสิ้นเปลือง การแสดงจะมีฉากก็ ต่อเมื่อแสดงตอนกลางคืน และมักเป็นฉากเดียวตลอดเรื่อง ไม่มีการเปลืองฉาก ส่วนการแสดงละครชาตรี ของกรมศิลปากรนั้น คำนึงถึงการใช้ฉากมาก ฉากการแสดงจะต้องสมจริงตามเนื้อเรื่องทุกตอน ๓) การอนุรักษ์ละครชาตรีเมืองเพชรและละครชาตรีกรมศิลปากร พบว่า เรื่องของการอนุรักษ์ ศิลปวัฒนธรรม ท้องถิ่นให้ดำรงอยู่มีความสอดคล้องกับวิถีชุมชน แต่เนื่องด้วยเรื่องดังกล่าวเป็นเรื่อง ค่อนข้าง ใหม่ที่คนในชุมชนยังขาดความรู้และความเข้าใจอย่างถ่องแท้ จึงไม่สามารถร่วมขับเคลื่อนกลุ่ม เยาวชนให้ก้าวต่อไปได้ และจากการวิจัยยังพบว่าประชาชนในท้องถิ่นไม่ค่อยตระหนักในการอนุรักษ์สืบ สานละครชาตรีมากนัก ทั้งนี้อาจเนื่องมาจากการที่เยาวชนรุ่นใหม่เข้าถึงสื่อเทคโนโลยีต่างๆ ได้ง่ายขึ้น มี ข สื่อสารสนเทศด้านศิลปวัฒนธรรม ความบันเทิงและอื่นๆ ที่หลากหลายน่าสนใจให้ เลือกศึกษามากขึ้น อีก ทั้งความจำเป็นด้านการศึกษา กล่าวคือ เมื่อสำเร็จการศึกษาขั้นพื้นฐาน
URI: http://mcuir.mcu.ac.th:8080/jspui/handle/123456789/601
Appears in Collections:รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
2563-010พระครูวัชรสุวรรณาทร.pdf2.63 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.