Please use this identifier to cite or link to this item: http://mcuir.mcu.ac.th:8080/jspui/handle/123456789/600
Title: การสร้างเครือข่ายกลุ่มสัจจะสะสมทรัพย์สวัสดิการอย่างยั่งยืน
Other Titles: Networking the organization of active saving group for sustainable welfare
Authors: ขนฺติธโร, พระธงชัย
Keywords: การสร้างเครือข่าย
กลุ่มสัจจะสะสมทรัพย์
สวัสดิการ
Issue Date: 2563
Publisher: สถาบันวิจัยพุทธศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยฉบับนี้ มีวัตถุประสงค์ คือ (1) ศึกษาการมีส่วนร่วมของเครือข่ายกลุ่มสัจจะสะสม ทรัพย์(2) เพื่อการสร้างระบบความร่วมมือกลุ่มสัจจะสะสมทรัพย์ (3) วิเคราะห์การสร้างเครือข่ายกลุ่ม สัจจะสะสมทรัพย์เพื่อสวัสดิการอย่างยั่งยืน งานวิจัยเรื่องนี้ใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงคุณภาพ จาการเก็บ รวบรวมข้อมูลโดยการศึกษาเอกสารและการสัมภาษณ์เชิงลึก จากกลุ่มผู้ให้ข้อมูลหลัก ได้แก่ ผู้นำกลุ่ม และคณะกรรมการ สมาชิกในพื้นที่ ที่มีส่วนร่วมในการจัดตั้งกลุ่ม เครื่องมือที่ใช้ได้แก่ แบบสัมภาษณ์ เชิงลึก การวิเคราะห์ข้อมูลใช้การวิเคราะห์เนื้อหา (Content Analysis) ผลการศึกษาพบว่า การมีส่วนร่วมของเครือข่ายกลุ่มสัจจะสะสมทรัพย์ เป็นเครื่องมือที่กลุ่มสัจจะสะสม ทรัพย์ใช้ในการบริหารจัดการงานให้มีสมรรถนะสูง เพื่อให้เกิดการมีส่วนร่วมในกระบวนการบริหาร จัดการ เนื่องจากกระบวนการสร้างเครือข่ายและการมีส่วนร่วมเป็นปัจจัยสำคัญที่สนับสนุน และ ส่งเสริมให้กลุ่มสัจจะสะสมทรัพย์มีพลังในการพัฒนาประเทศอย่างสร้างสรรค์ อันเป็นเป้าหมายหลัก ของการพัฒนาของกลุ่มสัจจะสะสมทรัพย์ ทั้งนี้กลุ่มสัจจะสะสมทรัพย์ต้องสร้างระบบการดำเนินงาน ร่วมกับภาคีที่เกี่ยวข้อง เพื่อสร้างเครือข่ายการปฏิบัติงานอย่างเป็นระบบร่วมกันส่วนการมีส่วนร่วม แบ่งระดับได้ 5 เครือข่าย ได้แก่ 1)เครือข่ายพระสงฆ์ 2) เครือข่ายกลุ่มมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณ ราชวิทยาลัย (มจร. 3) เครือข่ายกลุ่มกองทุนหมู่บ้าน 4) เครือข่ายกลุ่มเทศบาล 5) เครือข่ายกลุ่ม สัจจะสะสมทรัพย์ในพื้นที่ การสร้างระบบความร่วมมือกลุ่มสัจจะสะสมทรัพย์สวัสดิการอย่างยั่งยืน หลังจากลง พื้นที่เก็บข้อมูลแล้วถอดบทเรียนแนวปฏิบัติที่ดีจากกลุ่มสัจจะสะสมทรัพย์วัดท่าโสม จนได้แนวคิด และวิธีการทำงาน รวมถึงปัจจัยแห่งความสำเร็จของกลุ่มสัจจะสะสมทรัพย์วัดท่าโสมแล้ว วิทยาลัย สงฆ์ศรีสะเกษ ในฐานะสถาบันการศึกษาในพื้นที่ และเป็นต้นสังกัดของนักวิจัย จะทำหน้าที่เป็นผู้ ประสานงานระหว่างองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ผู้นำชุมชน และกลุ่มสัจจะสะสมทรัพย์ในการ ขับเคลื่อนการทำงานให้เป็นไปตามแผนที่วางไว้ ในประเด็นที่เกี่ยวข้องกับการสร้างเครือข่ายกลุ่ม ข สัจจะสะสมทรัพย์ ซึ่งได้เห็นบทบาทของหน่วยงานและพระสงฆ์ที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการการสร้าง เครือข่ายกลุ่มสัจจะสะสมทรัพย์ ดังนี้ 1) บทบาทพระสงฆ์ 2) บทบาทสถานศึกษา 3) บทบาทองค์การ บริหารส่วนตำบล ( อบต.)/เทศบาล 4) บทบาทเครือข่ายสัจจะสะสมทรัพย์ในพื้น รูปแบบการสร้างเครือข่ายกลุ่มสัจจะสะสมทรัพย์เพื่อสวัส ดิการอย่างยั่งยืน จากการศึกษาการสร้างเครือข่ายกลุ่มสัจจะสะสมทรัพย์เพื่อสวัสดิการอย่างยั่งยืน นั้นพบว่า กลุ่มสัจจะ สะสมทรัพย์วัดท่าโสม ได้มีรูปแบบการพัฒนาเครือข่ายกลุ่มสัจจะสะสมทรัพย์เพื่อสวัสดิการชุมชน อย่างยั่งยืน ร่วมกับกลุ่มสัจจะสะสมทรัพย์วัดกันทรอมใต้และกลุ่มสัจจะสะสมทรัพย์วัดกันทรอมอุดม โดยการสนทนากลุ่มกับคณะกรรมการบริหารกลุ่มในประเด็นที่ได้จากการศึกษาจากกลุ่มสัจจะสะสม ทรัพย์ จังหวัดตราด เพื่อนำมาสร้างรูปแบบการพัฒนาเครือข่ายกลุ่มสัจจะสะสมทรัพย์ในจังหวัดศรีสะ เกษ ซึ่งมีรูปแบบการบริหารจัดการกลุ่มเป็นแบบเครือข่าย 3 ระดับ ได้แก่ 1.ระดับกลุ่มหรือระดับวัด 2.ระดับเขต และ 3.ระดับจังหวัด
URI: http://mcuir.mcu.ac.th:8080/jspui/handle/123456789/600
Appears in Collections:รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
2563-023พระธงชัย ขนฺติธโร.pdf2.04 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.