Please use this identifier to cite or link to this item: http://mcuir.mcu.ac.th:8080/jspui/handle/123456789/599
Title: การบริหารจัดการกลุ่มสัจจะสะสมทรัพย์โดยการมีส่วนร่วมของชุมชนอย่างยั่งยืน
Other Titles: Management of Collective Trusts by Sustainable Community Participation
Authors: ขอเจริญ, ธยายุส
Keywords: การบริหารจัดการ
กลุ่มสัจจะสะสมทรัพย์
การมีส่วนร่วมของชุมชน
Issue Date: 2561
Publisher: สถาบันวิจัยพุทธศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยฉบับนี้ มีวัตถุประสงค์ คือ (1) ศึกษากระบวนการบริหารจัดการกลุ่มสัจจะสะสม ทรัพย์ (2) ปัญหา และอุปสรรค ระบบการบริหารจัดการกลุ่มสัจจะสะสมทรัพย์โดยการมีส่วนร่วมของ ชุมชนอย่างยั่งยืน (3) รูปแบบการบริหารจัดการกลุ่มสัจจะสะสมทรัพย์โดยการมีส่วนร่วมของชุมชน อย่างยังยืน งานวิจัยเรื่องนี้ใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงคุณภาพ จาการเก็บรวบรวมข้อมูลโดยการศึกษา เอกสารและการสัมภาษณ์เชิงลึก จากกลุ่มผู้ให้ข้อมูลหลัก ได้แก่ ผู้นำกลุ่ม และคณะกรรมการ สมาชิก ในพื้นที่ ที่มีส่วนร่วมในการจัดตั้งกลุ่ม เครื่องมือที่ใช้ได้แก่ แบบสัมภาษณ์เชิงลึก การวิเคราะห์ข้อมูล ใช้การวิเคราะห์เนื้อหา (Content Analysis) ผลการศึกษาพบว่า กระบวนการบริหารจัดการกลุ่มสัจจะสะสมทรัพย์ เป็นการพึงตนเองและการช่วยเหลือ เกื้อกูล ชุมชนต้องไม่รอภาครัฐจัดสวัสดิการให้ แต่ต้อง ริเริมสร้างสรรค์ ร่วมกันสร้างระบบหลักประกัน ความมันคงของชีวิต มีการดำเนินการโดยการมีส่วนร่วมของสมาชิก ขั้นตอนในการดำเนินงาน ขั้นตอนต่างๆ เปิดโอกาสให้สมาชิกเข้ามามีส่วนร่วม ทั้งในการวางแผน กำหนดทิศทางในการ ดำเนินงาน การตัดสินใจ ลงมือปฏิบัติการติดตามผลการดำเนินการร่วมกัน มีการประชาสัมพันธ์ ข้อมูลข่าวสารต่างๆ ที่เป็นประโยชน์ต่อกลุ่ม และสมาชิกกลุ่ม ซึ่งสิ่งเหล่านี้ ทำให้สมาชิกรู้สึกเป็น ส่วนหนึ่งของการดำเนินการกลุ่มส่งผลให้การดำเนินงานของกลุ่ม อย่างมีประสิทธิภาพ การบริหารจัดการกลุ่มสัจจะสะสมทรัพย์โดยการมีส่วนร่วมของชุมชนอย่างยั่งยืน เป็น กลุ่มที่จัดตั้งขึ้นจากในวัด ซึ่งสามารถดึงประชาชนให้เข้ามาร่วมบุญในวัด มาทำงานเพื่อชุมชน อันเป็น การสร้างความเชื่อมโยงระหว่างวัดและประชาชนส่วนใหญ่ในชุมชน นำไปสู่กิจกรรมการสร้างสรรค์ ชุมชน เป็นการสร้างรูปแบบการมีส่วนร่วมของคนหมู่มากโดยเฉพาะคนในชุมชน ที่จะต้องมี ผลประโยชน์ร่วมกัน ผ่านกิจกรรมกลุ่มสัจจะสะสมทรัพย์ ซึ่งแม้ว่าจะเอื้อประโยชน์ต่อชุมชน แต่ก็มี ปัญหาและมีข้อจำกัดหลายประการได้แก่ ผู้นำแบบพระสงฆ์ ซึ่งปัจจุบันมีพระสงฆ์รูปเดียวที่เป็นผู้นำ กลุ่มทุกกลุ่มในจังหวัดตราด ทำหน้าที่เป็นผู้ก่อตั้งกลุ่มในระยะเริ่มต้น และเป็นที่ปรึกษากลุ่มในกรณีที่ มีปัญหาเกิดขึ้นกับกลุ่ม ผู้นำแบบชาวบ้าน บางกลุ่มยังขาดผู้นำแต่ก็มีการแก้ไขปัญหาโดยการใช้ผู้นำ ร่วมกันกับกลุ่มอื่น ปัญหาทางด้านการเงินที่เติบโตขึ้นอย่ารวดเร็ว จำนวนสมาชิกและเงินทุนมีมากขึ้น ผู้กู้ลดลง ทำให้เงินดอกเบี้ยลดลงตาม ส่งผลให้เงินปั่นผล และเงินสวัสดิการลดลง ปัญหาด้าน บริบทพื้นที่ ที่ต่างกัน จะเป็นผลกระทบกับความเข้มแข็งและยังยืนของกลุ่มด้วย ถึงแม้ว่าจะมี ข พระสงฆ์เป็นที่ปรึกษาแต่สุดท้ายในการแก้ปัญหาก็มักจะเป็นหน้าที่ของพระอาจารย์สุบิน ปณีโต ซึ่งไม่ สามารถจะดำเนินการได้ทันกับสถานการณ์ของทุกกลุ่ม โดยเฉพาะกลุ่มที่อยู่ห่างไกลจากกลุ่มต้นแบบ รูปแบบการบริหารจัดการกลุ่มสัจจะสะสมทรัพย์โดยการมีส่วนร่วมของชุมชนอย่างยังยืน สมาชิกกลุ่มสัจจะสะสมทรัพย์ให้ความสำคัญในเรื่องดังต่อไปนี้ (1)ผลกำไรของกลุ่มสัจจะสะสมทรัพย์ ส่วนหนึ่งคืนสู่สมาชิกในรูปสวัสดิการเช่น การรักษาพยาบาล เงินสงเคราะห์ญาติผู้เสียชีวิต เป็นต้น(2) การฝากเงินสะสมประจำทุกเดือนหรือผ่านชำระหนี้เงินกู้จากกลุ่มสัจจะสะสมทรัพย์ต้องฝากและส่ง อย่างสม่ำเสมอ (3) พระสงฆ์เป็นบุคคลที่ทำให้กลุ่มสัจจะสะสมทรัพย์ประสบความสำเร็จ สิ่งจูงใจที่ทำ ให้สมัครเป็นสมาชิกของกลุ่ม เพราะเห็นว่ามีพระสงฆ์เป็นผู้นำ และที่ปรึกษาของกลุ่มควรเป็นพระที่ เคร่งวัตรปฏิบัติที่งดงามและเป็นพระนักพัฒนา
URI: http://mcuir.mcu.ac.th:8080/jspui/handle/123456789/599
Appears in Collections:รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
2563-023ธยายุส ขอเจริญ.pdf2.12 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.