Please use this identifier to cite or link to this item:
http://mcuir.mcu.ac.th:8080/jspui/handle/123456789/597
Full metadata record
DC Field | Value | Language |
---|---|---|
dc.contributor.author | มังคลัง, สมาพร | - |
dc.contributor.author | หอมวัน, รุ่งสุริยา | - |
dc.contributor.author | พัฒนะสิงห์, ธนันต์ชัย | - |
dc.date.accessioned | 2022-03-23T14:37:38Z | - |
dc.date.available | 2022-03-23T14:37:38Z | - |
dc.date.issued | 2563 | - |
dc.identifier.uri | http://mcuir.mcu.ac.th:8080/jspui/handle/123456789/597 | - |
dc.description.abstract | การพัฒนาระบบสารสนเทศและกิจกรรมการเสริมสร้างอัตลักษณ์ทางศาสนาของชาว พุทธ คริสต์ อิสลามในสังคมไทย มีวัตถุประสงค์ ๑) เพื่อศึกษารูปแบบการเข้าถึงเทคโนโลยีเพื่อ การศึกษาด้านศาสนาของชาวพุทธ คริสต์ อิสลามในสังคมไทย ๒) เพื่อศึกษาระดับการของการ ใช้ประโยชน์ทางเทคโนโลยีเพื่อการศึกษาด้านศาสนาของชาวพุทธ คริสต์ อิสลามในสังคมไทย ๓) เพื่อสร้างนวัตกรรมระบบสารสนเทศเพื่อการเสริมสร้างกิจกรรมที่สะท้อนถึงอัตลักษณ์ด้านศาสนา ของชาวพุทธ คริสต์ อิสลามในสังคมไทย การวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) โดยใช้ กระบวนการวิจัยเชิงปฏิบัติการ (Action Research) มาเป็นส่วนหนึ่งของการดาเนินการวิจัยเน้น การศึกษาวิเคราะห์ทั้งในเชิงพื้นที่และกลุ่มเป้าหมาย มีการจัดกระบวนการวิจัยด้วยการถอด บทเรียนและการบูรณาการข้อมูลที่ได้จากการสัมภาษณ์ การสังเกต และการปฏิบัติการร่วมกันใน พื้นที่ศึกษา เป็นเครื่องมือในการดาเนินงานการวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วมในทุกขั้นตอน จากนั้นสรุปผลเป็นเชิงพรรณนา ผลการวิจัย ๑. รูปแบบการเข้าถึงเทคโนโลยีเพื่อการศึกษาด้านศาสนาของชาวพุทธ คริสต์ อิสลามใน สังคมไทย พบว่า ผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง ร้อยละ ๕๕.๕๐ มีอายุระหว่าง ๒๑- ๓๐ ปี มีระดับการศึกษาในระดับปริญญาตรี ส่วนใหญ่มีอาชีพรับจ้างและนับถือศาสนาพุทธ ผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่มีรูปแบบในการเข้าถึงเทคโนโลยีสารสนเทศผ่านเฟชบุ๊ค โดยมีความถี่ในการเข้าใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ ๕ ครั้งขึ้นไปต่อวัน ในแต่ละครั้งส่วนใหญ่ใช้เวลา ในการเข้าถึงเทคโนโลยีสารสนเทศ ๕ ชั่วโมงขึ้นไปต่อวัน และเนื้อหาของเทคโนโลยีสารสนเทศที่ เข้าถึงส่วนใหญ่เป็นการเข้าถึงเนื้อหาด้านการศึกษาและนันทนาการ ๒. การใช้ประโยชน์ทางเทคโนโลยีเพื่อการศึกษาด้านศาสนาของชาวพุทธ คริสต์ อิสลาม ในสังคมไทย มีรายละเอียดดังนี้ รูปแบบเว็บไซต์ พบว่า ผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่ใช้ประโยชน์ด้านการศึกษา โดยมีระดับการใช้ประโยชน์อยู่ในระดับมาก และมีค่าเฉลี่ย เท่ากับ ๔.๓๒ รูปแบบเฟชบุ๊ค พบว่า ผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่ใช้ประโยชน์ด้านการเผยแผ่ และสื่อสาร โดยมีระดับการใช้ประโยชน์อยู่ในระดับมาก และมีค่าเฉลี่ย เท่ากับ ๔.๒๘ รูปแบบไลน์ พบว่า ผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่ใช้ประโยชน์ด้านการเผยแผ่และ สื่อสาร โดยมีระดับการใช้ประโยชน์อยู่ในระดับมาก และมีค่าเฉลี่ย เท่ากับ ๔.๐๒ รูปแบบยูทูป พบว่า ผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่ใช้ประโยชน์ด้านการศึกษา โดยมี ระดับการใช้ประโยชน์อยู่ในระดับมาก และมีค่าเฉลี่ย เท่ากับ ๔.๐๐ รูปแบบโทรทัศน์ พบว่า ผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่ใช้ประโยชน์ด้านนันทนาการ โดยมีระดับการใช้ประโยชน์อยู่ในระดับมาก และมีค่าเฉลี่ย เท่ากับ ๓.๘๖ ๓.สร้างนวัตกรรมระบบสารสนเทศเพื่อการเสริมสร้างกิจกรรมที่สะท้อนถึงอัตลักษณ์ ด้านศาสนาของชาวพุทธ คริสต์ อิสลามในสังคมไทย พบว่า ผลจากการวิเคราะห์ข้อมูลและสัมภาษณ์ผู้นาทางศาสนาทั้ง ๓ ศาสนา ใน ประเด็นการพัฒนาระบบสารสนเทศเพื่อการเสริมสร้างกิจกรรมที่สะท้อนถึงอัตลักษณ์ด้านศาสนา ของชาวพุทธ คริสต์และอิสลามในสังคมไทย ได้ระบบสารสนเทศที่สามารถเชื่อมโยงกับเครือข่าย อินเตอร์เน็ต ซึ่งระบบสารสนเทศนี้จะทางานด้วยโปรแกรม Web Browser พบว่า สื่อเทคโนโลยี สารสนเทศที่ผู้ใช้ต้องการให้มีการพัฒนาหรือสร้างขึ้นมามากที่สุดคือการพัฒนาเว็บไซต์ (Web Site) ในการดาเนินการสร้างนวัตกรรมที่เป็นเว็บไซต์ ได้มีการสร้างและพัฒนารูปแบบการ เข้าถึงของกลุ่มผู้ใช้บริการให้สามารถเข้าถึงได้ง่าย โดยเบื้องต้น ทางนักวิจัยได้ดาเนินการสร้างเว็บ เพจโดยเบื้องต้นได้ใช้เท็มเพลตสาเร็จรูปในการทดลองสร้างและพัฒนาเว็บไซต์ เพื่อการเข้าถึง ข้อมูล โดยใช้ชื่อเว็บไซต์ว่าศูนย์การเรียนรู้และการวิจัยพหุวัฒนธรรม (MLCBRBC) โดยในการ พัฒนาเว็บไซต์ในครั้งนี้ได้กาหนดวิสัยทัศน์ในการเสริมสร้างการเรียนรู้บนพื้นฐานความเท่าเทียม ของทุกคนในสังคมและเพื่อสร้างความเข้าใจในการศึกษาด้านศาสนาบนพื้นฐานความหลากหลาย โดยเน้นการ เสริมสร้าง เท่าเทียม เรียนรู้ จะเป็นการพัฒนาข้อมูลเบื้องต้น แบ่งกลุ่มข้อมูล ดังนี้ - ฐานข้อมูลศาสนาพุทธ - ฐานข้อมูลศาสนาคริสต์ - ฐานข้อมูลศาสนาอิสลาม โดย ฐานข้อมูลทั้ง ๓ ฐานข้อมูล ประกอบด้วย ประวัติความเป็นมา ความสาคัญของ ศาสนา องค์ประกอบความสาคัญของศาสนา หลักคาสอน ภาพกิจกรรม ข่าวประชาสัมพันธ์ ฐานข้อมูลวิทยาลัยสงฆ์บุรีรัมย์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัยและเครือข่ายวิทยาลัย ทั่วประเทศ เครือข่ายหมู่บ้าน ๙ ดี เครือข่ายชุมชนสันติสุข เครือข่ายฐานข้อมูลเพื่อการสืบค้น งานวิจัย และมีลิ้งค์กระดานตอบคาถาม สาหรับผู้มีข้อสงสัยในการสอบถามข้อมูลต่างๆซึ่ง ฐานข้อมูลทั้งหมดดังกล่าวนี้ จะถูกกาหนดไว้ในแถบสืบค้นภายในเว็บไซต์โครงการ เป็นต้น | en_US |
dc.publisher | สถาบันวิจัยพุทธศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย | en_US |
dc.subject | การพัฒนาระบบ | en_US |
dc.subject | ระบบสารสนเทศ | en_US |
dc.subject | อัตลักษณ์ทางศาสนา | en_US |
dc.subject | ชาวพุทธ คริสต์ และอิสลาม | en_US |
dc.title | การพัฒนาระบบสารสนเทศและกิจกรรมการเสริมสร้างอัตลักษณ์ทางศาสนา ของชาวพุทธ คริสต์ อิสลามในสังคมไทย | en_US |
dc.title.alternative | Development of information systems and activities to strengthen religious identity of Buddhists, Christians and Muslims in Thai society | en_US |
dc.type | Thesis | en_US |
Appears in Collections: | รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์ |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
2563-028สมาพร มังคลัง.pdf | 4.13 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.