Please use this identifier to cite or link to this item:
http://mcuir.mcu.ac.th:8080/jspui/handle/123456789/592
Title: | ศึกษา และฟื้นฟูโครงการมัคคุเทศก์น้อยกับการรองรับการท่องเที่ยวของแหล่งท่องเที่ยวในฝั่งธนบุรี กรุงเทพมหานคร |
Other Titles: | Education and rehabilitation for the little guides to support tourism location in Thonburi, Bangkok |
Authors: | ไชยชนะ, ธีรภัค ปริชาโน, พระมหาวิเชียร อิศรเดช, ธัชชนันท์ |
Keywords: | ศึกษาและฟื้นฟู โครงการมัคคุเทศก์น้อย การรองรับการท่องเที่ยว แหล่งท่องเที่ยวในฝั่งธนบุรี กรุงเทพมหานคร |
Issue Date: | 2561 |
Publisher: | สถาบันวิจัยพุทธศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย |
Abstract: | การวิจัยเกี่ยวกับ “การศึกษาและฟื้นฟูโครงการมัคคุเทศก์น้อยกับการรองรับการท่องเที่ยวของแหล่งท่องเที่ยวในฝั่งธนบุรี กรุงเทพมหานคร” มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาและวิเคราะห์การบริหารพื้นที่ พัฒนาความสามารถของบุคลากร และนาเสนอรูปแบบการบริหารการจัดการและโครงการมัคคุเทศก์น้อยสู่แหล่งท่องเที่ยวเครือข่ายในการรองรับการท่องเที่ยว โดยทาการวิจัยในพื้นที่แหล่งท่องเที่ยว ๙ วัด ฝั่งธนบุรี กรุงเทพมหานคร ซึ่งเป็นพระอารามหลวง ได้แก่ วัดระฆังโฆสิตาราม วรมหาวิหาร วัดพระยาทา วรวิหาร วัดเครือวัลย์วรวิหาร วัดนาคกลาง วรวิหาร วัดอรุณราชวราราม ราชวรมหาวิหาร วัดโมลีโลกยาราม ราชวรวิหาร วัดหงส์รัตนาราม ราชวรวิหาร วัดกัลยาณมิตร วรมหาวิหาร วัดประยุรวงศาวาส วรวิหารและกลุ่มประชากรประกอบด้วย ๓ ภาคส่วนได้แก่ พระสงฆ์ ประชาชนในชุมชน นักเรียนที่ศึกษาอยู่ในโรงเรียนในพื้นที่ ๙ วัด มีประชากรรวมจานวน ๑๗,๗๙๒ รูป/คน และได้มาซึ่งเส้นทาง “การท่องเที่ยวสายวัฒนธรรม ๙ วัด กรุงธนบุรี ศรีมหาสมุทร” เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถาม แบบสัมภาษณ์ และสนทนากลุ่ม และวิเคราะห์ข้อมูลโดยการหาค่าความถี่ ค่าเฉลี่ย ค่าร้อยละ ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐานและการจัดระบบจาแนกชนิดข้อมูล เปรียบเทียบและวิเคราะห์เชิงเนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า พื้นที่การท่องเที่ยวของแหล่งท่องเที่ยวฝั่งธนบุรี กรุงเทพมหานครได้มีการเตรียมความพร้อมในการรองรับการท่องเที่ยวอย่างครบถ้วน ได้แก่ ๑) ด้านบุคลากรได้มีการจัดฝึกอบรมมัคคุเทศก์ ฝึกอบรมการทาอาหาร ฝึกอบรมด้านสิ่งแวดล้อม และฝึกอบรมการจัดทาบัญชี ๒) ด้านการบริการได้จัดให้มีเส้นทางท่องเที่ยว ๙ วัด ควรมีรถรับส่งและมีมัคคุเทศก์บรรยายประวัติศาสตร์ มีอาหารและเครื่องดื่มที่สะอาดให้บริการ ๓) ด้านการบริหารจัดการมีการจัดตั้งคณะกรรมการเข้ามาดาเนินการโดยมี “เครือข่ายสมัชชาองค์กรชุมชนท่องเที่ยวสายวัฒนธรรม ๙ วัด กรุงธนบุรี ศรีมหาสมุทร” เป็นแกนกลางในการขับเคลื่อน ๔) ด้านเศรษฐกิจชุมชนมีการประชาสัมพันธ์นาเสนอข้อมูลทางออนไลน์ และช่องทางอื่นๆเพื่อนานักท่องเที่ยวเข้ามาในพื้นที่ และกระจายนักท่องเที่ยว กระจายรายได้สู่วัด และชุมชนทั้ง ๙ วัดอย่างทั่วถึง ส่งผลให้ประชาชนมีความพอมี พออยู่ พอกินพึ่งพาอาศัยตนเองได้ ภายใต้ชื่อ “เชิญท่องเที่ยว นวัตวิถีสองแผ่นดินบนถนนสายวัฒนธรรม ๙ วัด กรุงธนบุรีศรีมหาสมุทร” |
URI: | http://mcuir.mcu.ac.th:8080/jspui/handle/123456789/592 |
Appears in Collections: | รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์ |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
2561-249ผศ.ดร.ธีรภัค ไชยชนะ.pdf | 8.71 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.