Please use this identifier to cite or link to this item:
http://mcuir.mcu.ac.th:8080/jspui/handle/123456789/591
Title: | การพัฒนาหลักสูตรปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐานเพื่อเสริมสร้างพุทธิปัญญาสาหรับแกนนา ชาวพุทธจังหวัดเชียงใหม่ |
Other Titles: | The Development of Training Curriculum on Buddhist Wisdom Enhancement for Adolescents in Chiang Mai |
Authors: | ปุญฺญฺธโร, พระบุญทรง |
Keywords: | การพัฒนาหลักสูตร ปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐาน เสริมสร้างพุทธิปัญญา แกนนำชาวพุทธ จังหวัดเชียงใหม่ |
Issue Date: | 2561 |
Publisher: | สถาบันวิจัยพุทธศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย |
Abstract: | งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ ๓ ประการ คือ ๑) เพื่อศึกษาจริตของนิสิตแกนนาชาวพุทธกับ การปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐานสาหรับแกนนาชาวพุทธจังหวัดเชียงใหม่ ๒) เพื่อพัฒนาหลักสูตรการ ปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐานในการเสริมสร้างพุทธิปัญญาสาหรับแกนนาชาวพุทธจังหวัดเชียงใหม่ ๓) เพื่อประเมินหลักสูตรการปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐานในการเสริมสร้างพุทธิปัญญาสาหรับแกนนาชาว พุทธจังหวัดเชียงใหม่ การวิจัยนี้เป็นแบบผสมผสานระหว่างการวิจัยเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพเข้า ด้วยกัน ผลการวิจัยพบว่า ๑. จริตของแกนนาชาวพุทธกลุ่มเป้าหมายทั้ง ๒๐ คน โดยภาพรวม มีลักษณะศรัทธาจริต อยู่ในระดับมากที่สุด พุทธิจริตอยู่ในระดับมาก ส่วนราคจริต โทสจริต โมหจริต และวิตกจริตอยู่ใน ระดับปานกลาง ๒. หลักสูตรวิปัสสนากรรมฐานเพื่อเสริมสร้างพุทธปัญญาสาหรับแกนนาชาวพุทธ โดย พัฒนาตามหลักมหาสติปัฏฐานสูตร คือ ๑) การพิจารณากายโดยมีตัวสติเข้าไปรับรู้เพื่อละสุภสัญญา ๒) การพิจารณาความสุข ความทุกข์ และอาการเฉยๆ โดยมีตัวสติเข้าไปรับรู้เพื่อละสุขสัญญา ๓) การ พิจารณาจิตที่รับรู้อารมณ์โดยการมีสติเป็นตัวรับรู้เพื่อละนิจจสัญญา ๔) การพิจารณาสภาวธรรมที่ ปรากฏทางจิตใจตามกฎของไตรลักษณ์โดยมีตัวสติเข้าไปรับรู้เพื่อละอัตตสัญญา ๓. หลักสูตรการพัฒนาพุทธิปัญญาสาหรับแกนนาชาวพุทธจังหวัดเชียงใหม่ มีค่าเฉลี่ย ระดับความเหมาะสมของการประเมินคุณภาพจากผู้เชี่ยวชาญ ๓ คน อยู่ในระดับมาก และมีค่าเฉลี่ย ความคิดเห็นทั่วไปเกี่ยวกับหลักสูตรอยู่ในระดับมากที่สุด สามารถนาไปใช้ในการพัฒนาพุทธิปัญญา ให้แก่แกนนาชาวพุทธได้ ความรู้ที่ได้จากการวิจัยในครั้งนี้คือ ได้เห็นคุณธรรมจริยธรรมของนิสิตแกนนาชาวพุทธ เป็นผู้มีศรัทธาในพระพุทธศาสนา มีความซื่อสัตย์ อดทน มีน้าใจเอื้อเฟือต่อผู้อื่นและการรักษา วัฒนธรรมของชนเผ่าไว้อย่างมั่นคงซึ่งเป็นอัตลักษณ์ที่โดดเด่นและได้เห็นเมตตาธรรมของท่าน อธิการบดีพระพรหมบัณฑิตและแม่ชีทองสุขพร้อมคณะที่เห็นความสาคัญของการศึกษามอบทุนให้ นิสิตได้เรียนในระดับมหาวิทยาลัย มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตเชียงใหม่ ตลอดจนบทบาท ของพระบัณฑิตอาสาพัฒนาชาวเขาผู้เสียสละความสุขส่วนตัวเพื่อประโยชน์ส่วนรวมที่ได้ไปเผยแผ่ พระพุทธศาสนาในชุมชนของนิสิตและได้แนะนาเรื่องการศึกษาในระดับปริญญาตรีจึงเป็นที่มาของคา ว่านิสิตแกนนาชาวพุทธจังหวัดเชียงใหม่ |
URI: | http://mcuir.mcu.ac.th:8080/jspui/handle/123456789/591 |
Appears in Collections: | รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์ |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
2561-211พระบุญทรง ปุญฺญฺธโร, ผศ.ดร..pdf | 4.25 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.