Please use this identifier to cite or link to this item:
http://mcuir.mcu.ac.th:8080/jspui/handle/123456789/590
Title: | กระบวนการการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำเพื่ออุตสาหกรรมและการท่องเที่ยว ใน จังหวัดชลบุรี |
Other Titles: | The Process Water Resources Management for Industry and Tourism in Chonburi Province |
Authors: | ทองที, สุขสรร |
Keywords: | กระบวนการ การบริหารจัดการทรัพยากรน้ำ อุตสาหกรรมและการท่องเที่ยว จังหวัดชลบุรี |
Issue Date: | 2561 |
Publisher: | สถาบันวิจัยพุทธศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย |
Abstract: | วิจัยเรื่องกระบวนการบริหาจจัดการทรัพยากรน้ำเพื่ออุตสาหกรรมและท่องเที่ยว จังหวัด ชลบุรี เป็นการศึกษาเชิงปริมาณและคุณภาพมีวัตถุประสงค์ดังนี้ ๑. เพื่อศึกษากระบวนการบริหาร จัดการน้ำ ๒. เพื่อศึกษารูปแบบการบริหารจัดการน้ำ ผลการศึกษาพบว่า กระบวนการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำแบ่งออกเป็น ๓ ส่วนคือ ต้นน้ำ คือแหล่งน้ำที่มีอยู่ตามธรรมชาติ ได้แก่ห้วย หนอง คลอง บึง ฝาย อ่างเก็บน้ำ ซึ่งประชาชนใช้ในการ บริโภคและอุปโภค ใช้ในการเกษตรและอุตสาหกรรม เมื่อเกิดฝนแล้งหรือน้ำท่วมต้องมีหน่วยงานซึ่งมี หน้าที่บริหารจัดการน้ำโดยตรง สามารถตัดสินใจโดยไม่ต้องรอการอนุมัติหรือรอคำสั่งจากหน่วยงาน อื่น ในจังหวัดชลบุรีมีหน่วยงานที่ดูแลน้ำโดยตรงคือ บริษัทอิสท์ วอเตอร์ จำกัดมหาชน ซึ่งสูบน้ำจาก แหล่งน้ำ ๑๓ แหล่งในจังหวัดชลบุรี จังหวัดระยอง ๓ แหล่ง และจังหวัดฉะเชิงเทราคือการสูบน้ำจาก แม่น้ำบางประกง การบริหารจัดการกลางน้ำซึ่งได้ศึกษาเกี่ยวกับวัสดุอุปกรณ์ในการกักเก็บน้ำ ซึ่งได้มี การบำรุงรักษา ทดสอบอุปกรณ์ให้มีความพร้อมในการใช้งานอยู่เสมอ การตรวจสอบคุณภาพของน้ำ เพื่อให้ได้มาตรฐานตามที่กำหนดไว้ น้ำประปามีสารเคมี มีตะกอน มีสิ่งเจือปนหรือไม่ การประปาส่วน ภูมิภาคมีการทดสอบคุณภาพของน้ำทุก ๔ ชั่วโมงก็จะนำตัวอย่างของน้ำประปาไปตรวจสอบ เพื่อให้ ประชาชนเกิดความมั่นใจในคุณภาพของน้ำประปา เมื่อประชาชนเห็นท่อประปารั่วหรือแตกควรแจ้ง ให้การประปาทราบเพื่อจะได้ทำการซ่อมแซม การบริหารจัดการปลายน้ำ พบว่าผู้ใช้น้ำได้รับข่าวสาร จากการประปาซึ่งแจ้งผ่านทางเฟซ ไลน์ และการใช้รถเทศบาลแจ้งข่าวเมื่อมีการหยุดจ่ายน้ำเพื่อทำ การซ่อมบำรุงท่อประปาแตกหรือท่อประปารั่ว บ้านหรือสถานประกอบการ้านค้ามีการสำรองน้ำเก็บ ไว้เพื่อใช้ในกรณีที่การประปาไม่ไหล การจ่ายค่าน้ำประปาส่วนมากก็จะจ่ายทางแอปหรือพร้อมเพย์ คุณภาพน้ำส่วนใหญ่บอกว่าใสสะอาด รูปแบบของการบริหารจัดการน้ำแบ่งเป็น ๒ รูปแบบคือ รูปแบบการบริหารจัดการแบบปกติ และรูปแบบการบริหารจัดการยามฉุกเฉิน โดยภาครัฐบาลก็ต้องมีนโยบายรณรงค์และส่งเสริมให้ ประชาชนรู้จักใช้น้ำให้เกิดประโยชน์สูงสุด ทุกฝ่ายจะต้องช่วยกันรณรงค์การใช้น้ำอย่างประหยัด หรือ นำน้ำที่ใช้แล้วกลับมาใช้ใหม่ได้ หลักปฏิบัติเพื่อให้เกิดความยั่งยืนและบรรเทาวิกฤติการณ์น้ำที่จะ เกิดขึ้นในอนาคต โดยมุ่งสร้างพฤติกรรมในการใช้น้ำอย่างรู้คุณค่า ร่วมมือกันทุกภาคส่วนไม่ว่าจะเป็น ครัวเรือน เกษตรกรหรืออุตสาหกรรมให้เกิดการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการใช้น้ำ โดยใช้หลัก ๓ r คือ reduce =ลดระดับการใช้ปัจจุบัน ควบคุมปริมาณการใช้ให้อยู่ในสัดส่วนที่พอเหมาะ โดยลดการใช้ การบริโภคทรัพยากรที่ไม่จำเป็นลง, reuse = การใช้ซ้ำ เป็นการใช้ทรัพยากรให้คุ้มค่าที่สุด โดยการ นำน้ำมาใช้ซ้ำ ได้หลาย ๆ ครั้ง และrecycle = คัดน้ำแต่ละประเภท ที่สามารถนำกลับมาใช้ใหม่ หมุนเวียนกลับมาผลิตได้อีก |
URI: | http://mcuir.mcu.ac.th:8080/jspui/handle/123456789/590 |
Appears in Collections: | รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์ |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
2561-276นายสุขสรร ทองที.pdf | 1.93 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.