Please use this identifier to cite or link to this item: http://mcuir.mcu.ac.th:8080/jspui/handle/123456789/589
Title: การอนุรักษ์และฟื้นฟูการใช้ภาษาไทหล่มของวัดและชุมชนในจังหวัดเพชรบูรณ์
Other Titles: The Preservation and the Restoration of Using Tai Lom Language in the Temples and the Communications in Phetchabun Province
Authors: กิตฺติปญฺโญ, พระมหาธนกร
Issue Date: 2561
Publisher: สถาบันวิจัยพุทธศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
Abstract: การศึกษาวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์ ๓ ประการ คือ (๑) เพื่อศึกษาประวัติความเป็นมาภาษาไทหล่ม จังหวัดเพชรบูรณ์ (๒) เพื่อรวบรวมและจัดทาพจนานุกรมภาษาไทหล่ม จังหวัดเพชรบูรณ์ และ (๓) เพื่อส่งเสริมการอนุรักษ์และฟื้นฟูการใช้ภาษา ไทหล่มของวัดและชุมในจังหวัดเพชรบูรณ์ งานวิจัยฉบับนี้เป็นงานวิจัยเป็นการวิจัยเชิงเอกสาร (Documentary Research) ดาเนินการเก็บรวบรวมข้อมูลโดยการ การสัมภาษณ์เชิงลึก (In-depth interview) และการสังเกตแบบมีส่วนร่วม (Participatory observations) จากปราชญ์ชาวบ้าน นักวิชาการ ผู้นาชุมชน ประชาชนผู้สูงอายุ รวม ๑๗ รูป/คน วิเคราะห์ข้อมูลสรุปประมวลเขียนเชิงพรรณนา ผลการวิจัยพบว่า สาเนียงภาษา ไทหล่มจะเรียกตนเองว่าเป็น คนลาว มีวัฒนธรรมลาวที่ชัดเจนมากทางด้านภาษาพูด บริเวณเมืองหล่มเก่าและเมืองหล่มสักนั้น มีการรวมตัวกันของวัฒนธรรมลาวที่หนาแน่นและหลากหลาย แต่ที่สาคัญนั้นมีอยู่ ๒ ตระกูล คือ ตระกูลลาวหลวงพระบาง และตระกูลลาวเวียงจันทร์ ถ้าจะแยกแยะลาวทั้งสองตระกูลนี้ ต่างกันด้านสาเนียงการพูดเท่านั้น บริเวณที่พูดภาษาสาเนียงหลวงพระบาง ได้แก่ ในอาเภอหล่มเก่าบ้านนาซา บ้านหินกลิ้ง บ้านตาดกลอย เป็นต้น ในอาเภอหล่มสัก ได้แก่ บ้านน้าก้อ บ้านบุ่งยาง เป็นต้น ส่วนสาเนียงเวียงจันทน์ ในอาเภอหล่มเก่า ได้แก่ บ้านนาแซง บ้านพรวน เป็นต้น ในอาเภอหล่มสัก ได้แก่ บ้านฝายนาแซง บ้านติ้ว บ้านหวาย บ้านโสก เป็นต้น จากการสัมภาษณ์เชิงลึก และการสังเกตแบบมีส่วนร่วม จากปราชญ์ชาวบ้าน นักวิชาการ ผู้นาชุมชน ประชาชนผู้สูงอายุ ของอาเภอหล่มสักและอาเภอหล่มเก่า ได้รวบรวมศัพท์ภาษาไทหล่ม จานวน ๑,๖๐๓ ศัพท์ส่วนสาเนียงการออกเสียงภาษาไทหล่มของทั้ง ๒ อาเภอ ในบางศัพท์มีความแตกต่างกัน แต่มีความหมายเหมือนกัน เช่นคาว่า “เบิ๊ด” ใช้ในอาเภอหล่มสัก “เหมิ๊ด” ใช้ในอาเภอ หล่มเก่า มีความหมายว่า หมด หรือคาว่า “หัวขี้ไค” ใช้ในอาเภอหล่มสัก “หัวสีไค” ใช้ในอาเภอหล่มเก่า มีความหมายว่า ตะไคร้ เป็นต้น การส่งเสริมการอนุรักษ์และฟื้นฟูการใช้ภาษาไทหล่ม เพื่อไม่ให้ ภาษาถิ่น สูญหายไปจากสังคมไทยในความจริงด้วยตัวการจะอนุรักษ์ภาษาถิ่นไว้ จะต้องรณรงค์ ส่งเสริมในทุกรูปแบบ ให้มีการใช้ภาษาถิ่น ภายในท้องถิ่นของตน เริ่มจากบ้าน ภายในบ้านควรใช้ภาษาถิ่น เมื่อเด็กมาโรงเรียนก็ต้องให้ใช้ภาษาถิ่นในการสื่อสารระหว่างกัน ในขณะเรียนจะใช้ภาษากลางที่เป็นภาษาทางการ เด็กรุ่นใหม่จะกล้าที่จะแสดงออกในการใช้ภาษาถิ่น ในการอนุรักษ์และฟื้นฟูภาษาถิ่น หรือภาษาไทหล่มซึ่งเป็นภาษาประจาท้องถิ่นของจังหวัดเพชรบูรณ์นั้น ผู้ที่มีส่วนเกี่ยงข้องที่สาคัญที่สุดก็คงต้องเป็นเจ้าของภาษาหรือคนในท้องถิ่นนั้น ซึ่งเป็นเจ้าของภาษา และมีความเกี่ยวข้องสืบเนื่องด้านภาษามาโยงบรรพบุรุษผู้สืบเชื้อสายมาโดยตรง อันจะเป็นผู้ที่ซึมซับวัฒนธรรม ดังกล่าวมาตั้งแต่เกิด ได้เห็นความสาคัญและความคงอยู่ของภาษาท้องถิ่นมานานจนสามารถรู้ได้ถึงความคงอยู่ และสามารถอนุรักษ์ได้โดยไม่ยากนัก ซึ่งสามารถทาได้โดยการสืบต่อ ๆ กันไปตามสายเลือด และหน่วยงานของรัฐ, โรงเรียน, องค์กรท้องถิ่น ควรมีหัวข้อ การอนุรักษ์พื้นที่ภาษาถิ่นอยู่ในแผนงานด้วย มีการกาหนดรูปแบบกิจกรรมให้เป็นรูปธรรมขึ้น เพื่อให้ชุมชนตื่นตัวและตระหนักถึงความสาคัญของภาษาไทหล่ม
URI: http://mcuir.mcu.ac.th:8080/jspui/handle/123456789/589
Appears in Collections:รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
2561-192พระมหาธนกร กิตฺติปญฺโญ.pdf9.77 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.