Please use this identifier to cite or link to this item: http://mcuir.mcu.ac.th:8080/jspui/handle/123456789/588
Title: การเสริมสร้างสมรรถนะในการอนุรักษ์ การใช้ประโยชน์ และการแบ่งปันผลประโยชน์จากป่าชุมชนในลุ่มน้าอิง จังหวัดพะเยา-เชียงราย
Other Titles: The Enhancement on Community Forest Conservation, Utilization and Benefit Sharing in Ing Basin in Phayao – Chiang Rai Province
Authors: พระครูโสภณปริยัติสุธี
Keywords: การเสริมสร้างสมรรถนะ
การอนุรักษ์
การใช้ประโยชน์
การแบ่งปันผลประโยชน์
ป่าชุมชน
ลุ่มน้าอิง
จังหวัดพะเยา-เชียงราย
Issue Date: 2561
Publisher: สถาบันวิจัยพุทธศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
Abstract: แผนงานวิจัยมีวัตถุประสงค์ ๑) เพื่อศึกษารูปแบบการเสริมสร้างสมรรถนะในการอนุรักษ์ การใช้ประโยชน์ และการแบ่งปันผลประโยชน์จากป่าชุมชนในลุ่มน้าอิง ในด้านองค์ความรู้ทางพระพุทธศาสนาและภูมิปัญญาท้องถิ่น ด้านการพัฒนาข้อบัญญัติขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นและชุมชน ด้านการเสริมสร้างศักยภาพของเครือข่ายชุมชน และด้านการเสริมสร้างสมรรถนะชุมชนรอบพื นที่ป่าโดยการมีส่วนร่วมของชุมชนและองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในลุ่มน้าอิงตามแนวทางพระพุทธศาสนา ๒) เพื่อวิเคราะห์องค์ความรู้การเสริมสร้างสมรรถนะในการอนุรักษ์ การใช้ประโยชน์ และการแบ่งปันผลประโยชน์จากป่าชุมชนในลุ่มน้าอิง และ ๓) เพื่อสังเคราะห์แนวทางการเสริมสร้างสมรรถนะในการอนุรักษ์ การใช้ประโยชน์ และการแบ่งปันผลประโยชน์จากป่าชุมชนในลุ่มน้าอิง ตามหลักพระพุทธศาสนา การวิจัยนี เป็นงานวิจัยเชิงคุณภาพ ใช้วิธีการศึกษาเอกสาร และศึกษาภาคสนามโดยลงพื นที่ประชุมกลุ่มย่อย สัมภาษณ์ผู้ให้ข้อมูลหลัก และเข้าร่วมในกิจกรรมของชุมชน กลุ่มตัวอย่างในการศึกษาได้แก่ พระสงฆ์ ผู้น้าชุมชน คณะกรรมการป่าชุมชน ตัวแทนผู้บริหารและเจ้าหน้าที่ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น หน่วยงานภาครัฐที่เกี่ยวข้อง และภาคประชาสังคม พื นที่ในการศึกษาได้แก่ ชุมชนในลุ่มน้าอิงในจังหวัดพะเยา และจังหวัดเชียงราย ผลการวิจัยพบว่า ๑. รูปแบบการเสริมสร้างสมรรถนะในการอนุรักษ์ การใช้ประโยชน์ และการแบ่งปันผลประโยชน์จากป่าชุมชนในลุ่มน้าอิง ประกอบด้วย ๑) ความเชื่อ จารีตประเพณี พิธีกรรมของท้องถิ่นที่มีความสัมพันธ์กับการอนุรักษ์ ประกอบด้วย การประยุกต์ประเพณีทางพระพุทธศาสนากับการอนุรักษ์ และภูมิปัญญาท้องถิ่นในการอนุรักษ์โดยใช้ความเชื่อ พิธีกรรม และจารีตประเพณี ได้แก่ การเลี ยงผีขุนน้า และการเลี ยงผีเจ้าที่ ๒) ภูมิปัญญาสมัยใหม่และความรู้ทางวิทยาศาสตร์ในการอนุรักษ์ การใช้ประโยชน์ และการแบ่งปันผลประโยชน์จากป่าชุมชน ๓) กลไก และมาตรการทางกฎหมายของชุมชนและท้องถิ่นในการอนุรักษ์ และ ๔) การมีส่วนร่วมของชุมชนและองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในการอนุรักษ์ ๒. องค์ความรู้การเสริมสร้างสมรรถนะในการอนุรักษ์ การใช้ประโยชน์ และการแบ่งปันผลประโยชน์จากป่าชุมชนในลุ่มน้าอิง ประกอบด้วย ๑) หลักธรรมทางพระพุทธศาสนาในการอนุรักษ์ ได้แก่ หลักอิทัปปจยตา หลักไตรสิกขา หลักอิทธิบาท หลักสังคหวัตถุ และหลักอปริหานิยธรรม ๒) การจัดการความสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์กับมนุษย์ ความสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์กับธรรมชาติ และความสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์กับสิ่งเหนือธรรมชาติในการอนุรักษ์ ๓) ความรู้ ความเข้าใจในระบบนิเวศ ของป่าชุมชน ๔) การจัดการป่าชุมชนอย่างเป็นองค์รวม ๕) การบูรณาการภูมิปัญญาท้องถิ่นกับความรู้ใหม่ และ ๖) สิทธิชุมชนในการบริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ๓. แนวทางการเสริมสร้างสมรรถนะในการอนุรักษ์ การใช้ประโยชน์ และการแบ่งปันผลประโยชน์จากป่าชุมชนในลุ่มน้าอิง ตามหลักพระพุทธศาสนา ประกอบด้วย ๑) ด้านกระบวนการแบบไตรสิกขา ๒) ด้านการจัดความสัมพันธ์ภายในชุมชนแบบสังคหวัตถุ และแบบสัปปุริสัทธรรม และ ๓) แนวทางด้านวิถีปฏิบัติแบบพุทธนิเวศวิทยา โดยแนวทางแรกเป็นการเสริมสร้างสมรรถนะด้านกระบวนการที่ขับเคลื่อนชุมชนให้เป็นไปด้วยความเรียบร้อยโดยมีข้อตกลงร่วมระหว่างกัน ส่วนแนวทางที่สองเป็นแนวทางการเสริมสร้างสมรรถนะการจัดการความสัมพันธ์ระหว่างคนภายในชุมชนให้เกิดการอยู่ร่วมกันอย่างมีความสุขได้ประโยชน์อย่างเท่าเทียมกัน ร่วมรับทราบปัญหาและแก้ไขร่วมกัน และสุดท้ายการเสริมสร้างสมรรถนะด้านวิถีปฏิบัติที่จะท้าให้คนในชุมชนได้ตระหนักถึงศักยภาพและขีดความสามารถของตนเองอย่างแท้จริง โดยสามารถน้าไปเป็นวิถีปฏิบัติอย่างรู้เท่าทันสังคมโลกที่ก้าลังเปลี่ยนแปลง
URI: http://mcuir.mcu.ac.th:8080/jspui/handle/123456789/588
Appears in Collections:รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
2561-183พระครูโสภณปริยัติสุธี.pdf3.63 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.