Please use this identifier to cite or link to this item:
http://mcuir.mcu.ac.th:8080/jspui/handle/123456789/587
Title: | ต้นแบบความเอื้ออาทรต่อผู้สูงอายุขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ในอาเภอเมือง จังหวัดหนองคาย |
Other Titles: | Model of Generosity for and aging man of local government in Mueang District Nongkhai Province |
Authors: | น้อยเจริญ, ภัณฑิลา |
Keywords: | ต้นแบบความเอื้ออาทร ผู้สูงอายุ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น อำเภอเมือง จังหวัดหนองคาย |
Issue Date: | 2561 |
Publisher: | สถาบันวิจัยพุทธศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย |
Abstract: | การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อการจัดสวัสดิการด้วยความเอื้อ อาทรแก่ผู้สูงอายุขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในอาเภอเมือง จังหวัดหนองคาย เพื่อสร้าง ต้นแบบการจัดสวัสดิการด้วยความเอื้ออาทรต่อผู้สูงอายุขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในอาเภอ เมือง จังหวัดหนองคายในเชิงนโยบายสาธารณะและเพื่อศึกษาข้อเสนอแนะต่อการจัดสวัสดิการ ด้วยความเอื้ออาทรต่อผู้สูงอายุขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในอาเภอเมือง จังหวัดหนองคาย โดยกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยเป็น ผู้สูงอายุหรือตัวแทนผู้สูงอายุ จานวน 400 คน ได้มาโดย วิธีการกาหนดขนาดกลุ่มตัวอย่างด้วยระบบโควตา ตัวแทนภาครัฐ คือ ผู้บริหารและเจ้าหน้าที่ ผู้ปฏิบัติงานด้านสวัสดิการขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในอาเภอเมือง จังหวัดหนองคาย จานวน ๑๐ คน และกลุ่มที่ ๒ คือ ตัวแทนภาคประชาชน ได้แก่ ผู้นาชุมชน/หมู่บ้าน ในเขต องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในอาเภอเมือง จังหวัดหนองคาย จานวน ๑๐ คน รวมเป็น ๒๐ คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถามมาตราส่วนประมาณค่า ตามวิธีการของ ลิเคอร์ท มี 5 ระดับ มีความเชื่อมั่นเท่ากับ .92 และแบบสัมภาษณ์ ตามแบบกาหนดแนวทางไว้ ซึ่งสถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ การแจกแจงความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบน มาตรฐาน การทดสอบสมมติฐานด้วยสถิติ สัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน นัยสาคัญทางสถิติ ที่ระดับ .05 และการวิเคราะห์ถดถอยเชิงพหุ โดยวิธี Stepwise นัยสาคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ข้อมูลเชิงคุณภาพ ผู้วิจัยใช้วิธีการพรรณนาและอภิปรายผล ผลการศึกษา พบว่า 1. ปัจจัยที่มีค่าสหสัมพันธ์กับการจัดสวัสดิการด้วยความเอื้ออาทรแก่ผู้สูงอายุของ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ในอาเภอเมือง จังหวัดหนองคาย มีความสัมพันธ์กับตัวแปรปัจจัย ด้านการสร้างบริการทางสังคมและเครือข่ายเกื้อหนุน มากที่สุด รองลงมาคือ ปัจจัยด้านความ มั่นคงของครอบครัว ผู้ดูแลและการคุ้มครอง ปัจจัยด้านนันทนาการ และปัจจัยด้านสุขภาพและ การรักษาพยาบาล มีความสัมพันธ์อย่างมีนัยสาคัญทางสถิติที่ .05 และปัจจัยด้านรายได้และ ปัจจัยด้านที่อยู่อาศัย มีความสัมพันธ์ อย่างมีนัยสาคัญทางสถิติที่ ระดับ .01 2. ผลการวิเคราะห์การถดถอยเชิงพหุ พบว่า ตัวแปรอิสระ 6 ปัจจัย สามารถ อธิบายตัวแปรตาม สามารถอธิบายได้ ว่า ปัจจัยที่มีผลต่อการจัดสวัสดิการด้วยความเอื้ออาทรแก่ ผู้สูงอายุขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในอาเภอเมือง จังหวัดหนองคาย โดยรวม ได้ร้อยละ ข ๗.๒ มีค่า R๒= .๐๗๒ และมีค่าของ F เท่ากับ ๔.๕๘๓ ซึ่งมีนัยสาคัญทางสถิติที่ระดับ α.๐๑ มี ตัวแปรที่สาคัญเข้าสู่สมการ 3 ตัวแปร และมีความสัมพันธ์เชิงบวกเรียงตามลาดับสูงมากไปต่า มาก คือ ตัวแปรปัจจัยมาตรฐานด้านการสร้างบริการทางสังคมและเครือข่ายเกื้อหนุน ปัจจัย มาตรฐานด้านความมั่นคงของครอบครัว ผู้ดูแลและการคุ้มครอง ตัวแปรปัจจัยมาตรฐานด้าน สุขภาพและการรักษาสุขภาพ สมการทานาย Y = ๒.๖๘๓ + -.119x1 + 168x2 + .241x3 3. ผลการยืนยันผลการวิจัยจากการสัมภาษณ์ พบว่า ผู้ให้เห็นด้วยกับผลการวิจัย ในระยะที่ 1 คือ ปัจจัยที่ส่งผลต่อคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ทั้ง 3 ตัว แปรปัจจัยมาตรฐานด้านการสร้างบริการทางสังคมและเครือข่ายเกื้อหนุน ปัจจัยมาตรฐานด้าน ความมั่นคงของครอบครัว ผู้ดูแลและการคุ้มครอง ตัวแปรปัจจัยมาตรฐานด้านสุขภาพและการ รักษาสุขภาพ ๔. ข้อเสนอแนะต่อการจัดสวัสดิการสาหรับผู้สูงอายุคือ ควรมีกฎหมายที่ให้องค์กร ปกครองส่วนท้องถิ่นเพิ่มงบประมาณสาหรับการจัดสวัสดิการในการดูแลสุขภาพผู้สูงอายุ องค์กร ปกครองส่วนท้องถิ่น ต้องส่งเสริมให้มีการจัดกิจกรรมนันทนาการสาหรับผู้สูงอายุให้มากขึ้นยิ่ง กว่าเดิม รัฐบาลควรเพิ่มงบประมาณในการฝึกอบรมสร้างอาชีพให้กับผู้สูงอายุตามศักยภาพของ ผู้สูงอายุในแต่ละท้องถิ่น การดาเนินงานตามนโยบายของรัฐบาลต้องมีการจัดสรรงบประมาณให้ เพียงพอต่อการดาเนินงานขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และควรมีการตรวจสอบสิทธิในการ รักษาพยาบาลของผู้สูงอายุว่าได้รับสิทธิการรักษาอย่างไร |
URI: | http://mcuir.mcu.ac.th:8080/jspui/handle/123456789/587 |
Appears in Collections: | รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์ |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
2561-021ดร.ภัณฑิลา น้อยเจริญ.pdf | 4.12 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.