Please use this identifier to cite or link to this item: http://mcuir.mcu.ac.th:8080/jspui/handle/123456789/583
Title: การสร้างเครือข่ายจิตสาธารณะในสังคมพหุวัฒนธรรม กับการพัฒนาสู่เมืองสันติภาพไร้รอยต่อ
Other Titles: The creating a public mental network in multicultural society and development towards a Unconditional peace
Authors: -, พระครูโฆสิตวัฒนานุกูล
สมเขาใหญ่, ธีระพงษ์
นุ่นกล่ำ, ดิเรก
อ่อนคง, สามิตร
วัฒนาชัยวณิช, รังสรรค์
พรหมกัลป์, อัครเดช
Keywords: เครือข่ายจิตสาธารณะ
สังคมพหุวัฒนธรรม
สันติภาพไร้รอยต่อ
Issue Date: 2563
Publisher: สถาบันวิจัยพุทธศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยเรื่องนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนาจิตสาธารณะในสังคมพหุวัฒนธรรมกับการ พัฒนาสู่เมืองสันติภาพไร้รอยต่อ ๒) สร้างเครือข่ายจิตสาธารณะในสังคมพหุวัฒนธรรมกับการพัฒนาสู่ เมืองสันติภาพไร้รอยต่อ การวิจัยในครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ และการวิจัยเชิงปฏิบัติการ ผ่านการ จัดกิจกรรมสาธารณประโยชน์ด้วยการลงพื้นที่ช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัยในจังหวัดนครศรีธรรมราชและ กิจกรรมสาธารณะกุศลอื่น กๆารประเมินผ่านเทคนิคการทบทวนหลังท่างาน และการคืนข้อมูลและการ สร้างเครือข่ายจิตอาสา จิตสาธารณะ ผลการศึกษาพบว่า 1. การพัฒนาจิตสาธารณะในสังคมพหุวัฒนธรรมส่วนใหญ่จะเกิดจากวิถีชีวิตและการ ประพฤติ ปฏิบัติ การร่วมแรงร่วมใจ การเสียสละสุขส่วนตนเพื่อเกื้อกูลเพื่อนร่วมชุมชนหรือผู้ที่ก่าลัง ประสบกับความยากล่าบากของคนในชุมชนและชุมชนอื่น ๆ ดังนี้ 1) การสนับสนุน ช่วยเหลือกันและ กันในชุมชน 2) การร่วมแรงใจกันพัฒนาชุมชนในมิติต่าง ๆ และ 3) การร่วมแรงร่วมใจกับชุมชนหรือ เครือข่ายอื่นที่ขยายวงกว้างมากขึ้น ขณะเดียวกันก็จะต้องประกอบด้วย 1) ภาวะผู้น่าทางจิตวิญญาณ ของแต่ละศาสนา 2) ข้อตกลงชุมชน 3) แกนน่าจิตอาสา 4) การปรับปรุงการขับเคลื่อนกิจกรรมจิต อาสา และ 5) การสร้างชุมชนแห่งการเรียนรู้ 2. การสร้างเครือข่ายจิตสาธารณะในสังคมพหุวัฒนธรรมกับการพัฒนาสู่เมืองสันติภาพไร้ รอยต่อบนพื้นฐานของความเข้าใจในหลักค่าสอนทางศาสนาและมีความเมตตาธรรม ซึ่งก่อ ให้เกิดจิต อาสาหรือจิตสาธารณะบนวิถีการด่าเนินชีวิตและกระบวนทัศน์ของชุมชน ที่มีการสนับสนุนช่วยเหลือ เกื้อกูล เอื้ออาทร แบ่งปัน และช่วยเหลือกิจกรรมของชุมชนและสังคม บนฐานการมีส่วน ทั้งนี้เพราะ เมตตาธรรมนั้นสามารถเกิดขึ้นได้กับคนในทุกศาสนา และความเมตตา นั้นถือเป็นวิถีแห่งการอยู่ ร่วมกันแบบสันติภาพไร้รอยต่อที่สะท้อนออกมา จากการ เข้าถึงแก่นทางศาสนาทั้งของตนเองและ ศาสนาอื่น ๆ
URI: http://mcuir.mcu.ac.th:8080/jspui/handle/123456789/583
Appears in Collections:รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
2563-051พระครูโฆสิตวัฒนานุกูล (ย่อย3).pdf13.92 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.