Please use this identifier to cite or link to this item: http://mcuir.mcu.ac.th:8080/jspui/handle/123456789/582
Title: การยกระดับแหล่งทุนชุมชนตามศาสตร์พระราชาสู่การพัฒนาที่ยั่งยืน
Other Titles: INCREASING COMMUNITY FUNDING ACCORDING TO THE KING'SPHILOSOPHY TO SUSTAINABLE DEVELOPMENT
Authors: ทองอินทร์, เติมศักดิ์
เย็นใจมา, รัฐพล
ดำจุติ, กาญจนา
Keywords: การยกระดับ
แหล่งทุนชุมชน
ศาสตร์พระราชา
การพัฒนาที่ยั่งยืน
Issue Date: 2563
Publisher: สถาบันวิจัยพุทธศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ ๑) เพื่อยกระดับแหล่งทุนชุมชนตามศาสตร์พระราชาสู่ การพัฒนาที่ยั่งยืน ๒) เพื่อสร้างเครือข่ายแหล่งทุนชุมชนในอาเภอหนองบัว จังหวัดนครสวรรค์สู่การ พัฒนาที่ยั่งยืน การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยแบบผสมผสานทั้งวิจัยในเชิงเอกสาร (Documentary Research) และการวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) ในภาคสนาม โดยใช้วิธีวิทยาการวิจัย แบบผสมผสาน เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษา ประกอบด้วย แบบสอบถามประกอบการสัมภาษณ์ (Interview Guideline) และแนวคาถามสาหรับการสนทนากลุ่ม เก็บรวบรวมข้อมูลด้วยตนเอง วิเคราะห์ ข้อมูลโดยวิธีการวิเคราะห์เนื้อหา (Content analysis) ผลการวิจัยพบว่า สามารถรวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับการยกระดับแหล่งทุนชุมชนตามศาสตร์ พระราชาสู่การพัฒนาที่ยั่งยืนที่เกี่ยวกับวิถีชีวิต ความเชื่อ ประวัติศาสตร์ ศิลปวัฒนธรรมและประเพณี ท้องถิ่นที่มีความสาคัญ พร้อมทั้งการบูรณาการภูมิปัญญาหรือแหล่งทุนที่เกี่ยวกับวิถีชีวิตตามแนว พระพุทธศาสนาและการน้อมนาศาสตร์พระราชาสู่การปฏิบัติ อันนาไปสู่การยกระดับให้เป็นแหล่ง เรียนรู้ตามวิถีพอเพียงสร้างมูลค่าทางเศรษฐกิจที่สอดรับกับแผนท่องเที่ยวชุมชนภายใต้แผนการวิจัย โดยที่เป็นการศึกษาภายใต้แนวคิดและทฤษฎีเกี่ยวกับการพัฒนาชุมชน การยกระดับทุนทางสังคม ศาสตร์พระราชากับการพัฒนาที่ยั่งยืน การท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม การมีส่วนร่วมของชุมชน เป็น การศึกษาแหล่งทุนทางวัฒนธรรมที่เกี่ยวข้องกับวิถีชีวิต เพื่อค้นหาจุดเด่นของชุมชน ซึ่งสามารถตอบ วัตถุประสงค์ของงานวิจัยข้อที่ ๑ ในการศึกษาและรวบรวมแหล่งทุนชุมชนได้ ส่วนในเรื่องขององค์ ความรู้ที่เกิดขึ้นจะต้องเป็นแหล่งเรียนรู้ให้กับชุมชน และเชื่อมโยงแผนการท่องเที่ยวของชุมชนไป พร้อมกัน และเมื่อประชากรส่วนใหญ่เป็นเกษตรกรที่แม้จะมีการพัฒนาอย่างต่อเนื่องทางด้าน กายภาพ แต่กลับพบว่ามีปัญหาในการดาเนินชีวิตอย่างเช่น ขาดเงินในการลงทุน จึงส่งผลให้มีคุณภาพ ชีวิตในด้านเศรษฐกิจแย่ลงกว่าเดิม การขาดองค์ความรู้ในด้านการอยู่แบบวิถีพอเพียงและการขาด กระบวนการแลกเปลี่ยนเรียนรู้นั้นจะต้องดาเนินการยกระดับแหล่งทุนให้สามารถแก้ไขปัญหาได้อย่าง ยั่งยืน จึงเป็นการตอบวัตถุประสงค์ข้อที่ ๒ เพราะจะต้องมีการสร้างเครือข่ายและการทาหน้าที่ของ เครือข่ายชุมชนวิถีพอเพียง มีการสร้างรูปแบบการเรียนรู้ที่เหมาะสมกับชุมชนโดยใช้หลักธรรมทาง พระพุทธศาสนาผนวกกับหลัก “ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง” เป็นกลไกขับเคลื่อนการทางานเชิง รูปธรรม
URI: http://mcuir.mcu.ac.th:8080/jspui/handle/123456789/582
Appears in Collections:รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
2563-118รศ.ดร.เติมศักดิ์ ทองอินทร์.pdf3.06 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.