Please use this identifier to cite or link to this item: http://mcuir.mcu.ac.th:8080/jspui/handle/123456789/580
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.author-, พระครูโฆษิตวัฒนานุกูล-
dc.contributor.authorอภินนฺโท, พระมหาชุติภัค-
dc.contributor.authorพรหมกัลป์, อัครเดช-
dc.contributor.authorเหนืออำนาจ, รัตติยา-
dc.contributor.authorคงอินทร์, สุภาวดี-
dc.contributor.authorสืบสกุลจินดา, วันพระ-
dc.date.accessioned2022-03-22T17:04:46Z-
dc.date.available2022-03-22T17:04:46Z-
dc.date.issued2563-
dc.identifier.urihttp://mcuir.mcu.ac.th:8080/jspui/handle/123456789/580-
dc.description.abstractรายงานวิจัยเรื่อง “สันติภาพไร้รอยต่อ : การพัฒนากระบวนทัศน์และความเข้าใจทางพหุ วัฒนธรรมกับการอยู่ร่วมกันอย่างสันติ” มีวัตถุประสงค์ คือ ๑) เพื่อวิเคราะห์รูปแบบการสร้างสังคม พหุวัฒนธรรมไร้รอยต่อทางศาสนา ๒) เพื่อพัฒนากระบวนทัศน์และความเข้าใจทางสังคมพหุ วัฒนธรรมกับการอยู่ร่วมกันอย่างสันติ และ ๓) เพื่อสร้างเครือข่ายจิตสาธารณะของสังคมพหุ วัฒนธรรมกับการพัฒนาสู่เมืองสันติภาพไร้รอยต่อ โดยเป็นการวิจัยเชิงปฏิบัติการ ประกอบด้วยการ วิจัยแบบคุณภาพภาคสนาม ผ่านการศึกษาเอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง การสัมภาษณ์เชิงลึก การ สนทนากลุ่ม แกนนาในระดับชุมชนและระดับนโยบาย สาหรับการวิจัยเชิงปฏิบัติการมีการจัดกิจกรรม พัฒนากระบวนทัศน์และความเข้าใจทางพหุวัฒนธรรมกับการอยู่ร่วมกันอย่างสันติด้วยเทคนิค A-I-C และการลงพื้นที่ขับเคลื่อนกิจกรรมจิตอาสา จิตสาธารณะ ก่อนที่จะมีการประเมินผลด้วยเทคนิค AAR และการจัดกิจกรรมสัมมนาทางวิชาการเพื่อคืนข้อมูลแก่ผู้ที่เกี่ยวข้อง ผลการวิจัยพบว่า 1. รูปแบบการสร้างสังคมพหุวัฒนธรรมไร้รอยต่อทางศาสนา ประกอบด้วย ๑) กระบวน ทัศน์พื้นฐานของชุมชน ได้แก่ ความคิด ความรู้สึกร่วมของคนในชุมชน ที่รู้สึกไม่แบ่งแยกจากกัน มี ความรู้สึกของการเป็นน้าหนึ่งใจเดียวกัน ไม่แบ่งพรรคแบ่งพวก ไม่แบ่งศาสนา ๒) ผู้นาทางศาสนาและ ปราชญ์ชาวบ้านในชุมชน ต้องเป็นผู้มีวิสัยทัศน์ มีคุณธรรม เป็นต้นแบบผู้มีคุณธรรมศีลธรรมที่ดีให้กับ ชุมชน ๓) กิจกรรมและการดาเนินชีวิตของคนในชุมชนบนพื้นฐานของหลักการมีส่วนร่วม ได้แก่ (๑) การมีส่วนร่วมในการศึกษาปัญหาของชุมชน (๒) การมีส่วนร่วมในการวางแผนกิจกรรมของชุมชน (๓) การมีส่วนร่วมในการปฏิบัติกิจกรรมของชุมน (๔) การมีส่วนร่วมในการรับผลประโยชน์ (๕) การมีส่วน ร่วมในการประเมินผลกิจกรรมของชุมชน และ ๔) ปัญหาและการแก้ไขความขัดแย้งในชุมชน 2. การ พัฒนากระบวนทัศน์และความเข้าใจทางสังคมพหุวัฒนธรรมกับการอยู่ร่วมกัน อย่างสันติจะต้องดาเนินการ ใน 5 มิติ คือ 1) การป้องกันการเข้าใจผิดซึ่งกันและกัน 2) การ สร้าง ความเสมอภาค เท่าเทียม ยุติธรรม และเป็นธรรม ๓) การ สร้างความสมัครสมานสามัคคี 4) การ ข ส่งเสริมความซื่อสัตย์ ซื่อตรง จริงใจ และเสียสละประโยชน์ส่วนตนเพื่อประโยชน์ส่วนรวม 5) การ สนับสนุนการอยู่ร่วมกันบนพื้นฐานความแตกต่างแต่ไม่แตกแยก สาหรับแนวปฏิบัติใน การพัฒนา กระบวนทัศน์ในการอยู่ร่วมกันอย่างสันติในสังคมพหุวัฒนธรรม ควร ส่งเสริม สนับสนุนให้ผู้คน ประพฤติปฏิบัติตามหลักบัญญัติ 10 ประการ คือ 1) การยึดมั่นในคาสอนของศาสนา 2) การเห็น คุณค่าและเคารพศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ 3) การยอมรับและเคารพในความแตกต่างระหว่างบุคคล 4) การเคารพสิทธิและเสรีภาพของตนเองและผู้อื่น 5) การมีความเสมอภาคและความยุติธรรม 6) การยึดถือประโยชน์ของส่วนรวมเป็นสาคัญ 7) การมีจิตสานึก จิตอาสา และจิตสาธารณะ 8) การรู้ หน้าที่ มีความรับผิดชอบ 9) การมีวิจารณญาณในพูดและการแสดงความคิดเห็น และ 10) การแก้ไข ความขัดแย้งด้วยสันติวิธี 3. การพัฒนาจิตสาธารณะในสังคมพหุวัฒนธรรมส่วนใหญ่จะเกิดจากวิถีชีวิตและการ ประพฤติ ปฏิบัติ การร่วมแรงร่วมใจ การเสียสละสุขส่วนตนเพื่อเกื้อกูลเพื่อนร่วมชุมชนหรือผู้ที่กาลัง ประสบกับความยากลาบากของคนในชุมชนและชุมชนอื่น ๆ ดังนี้ 1) การสนับสนุน ช่วยเหลือกันและ กันในชุมชน 2) การร่วมแรงใจกันพัฒนาชุมชนในมิติต่าง ๆ และ 3) การร่วมแรงร่วมใจกับชุมชนหรือ เครือข่ายอื่นที่ขยายวงกว้างมากขึ้น ขณะเดียวกันก็จะต้องประกอบด้วย 1) ภาวะผู้นาทางจิตวิญญาณ ของแต่ละศาสนา 2) ข้อตกลงชุมชน 3) แกนนาจิตอาสา 4) การปรับปรุงการขับเคลื่อนกิจกรรมจิต อาสา และ 5) การสร้างชุมชนแห่งการเรียนรู้ ทั้งนี้จะต้องตั้งอยู่บนพื้นฐานของความเข้าใจในหลักคา สอนทางศาสนาและมีความเมตตาธรรม ซึ่งก่อให้เกิดจิตอาสาหรือจิตสาธารณะที่ จะมีการสนับสนุน ช่วยเหลือ เกื้อกูล เอื้ออาทร แบ่งปัน ทั้งนี้เพราะเมตตาธรรมนั้นสามารถเกิดขึ้นได้กับคนในทุกศาสนา และความเมตตานั้นถือเป็นวิถีแห่งการอยู่ร่วมกันแบบสันติภาพไร้รอยต่อที่สะท้อนออกมาจากการ เข้าถึงแก่นทางศาสนาทั้งของตนเองและศาสนาอื่น ๆen_US
dc.publisherสถาบันวิจัยพุทธศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัยen_US
dc.subjectสันติภาพไร้รอยต่อen_US
dc.subjectการพัฒนากระบวนทัศน์en_US
dc.subjectพหุวัฒนธรรมen_US
dc.subjectการอยู่ร่วมกันอย่างสันติen_US
dc.titleสันติภาพไร้รอยต่อ : การพัฒนากระบวนทัศน์และความเข้าใจทางพหุวัฒนธรรม กับการอยู่ร่วมกันอย่างสันติen_US
dc.title.alternativeUnconditional peace: the development of multicultural paradigms and understanding for peaceful coexistenceen_US
dc.typeThesisen_US
Appears in Collections:รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
2563-051พระครูโฆษิตวัฒนานุกูล.pdf15.37 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.