Please use this identifier to cite or link to this item: http://mcuir.mcu.ac.th:8080/jspui/handle/123456789/579
Title: ผลิตภัณฑ์จากเชือก:รูปแบบการบูรณาการพระพุทธศาสนากับศาสตร์สมัยใหม่ ในการพัฒนาสัมมาชีพสู่ระดับสากลด้วยภูมิปัญญาท้องถิ่นทางวัฒนธรรมชุมชน ในจังหวัดนครราชสีมา
Other Titles: Model Rope products Integration Buddhism with Modern Science Development of the righteous to International level by local wisdom in Nakhonratchasima province
Authors: ยังทะเล, มนัสพล
ประกิ่ง, พระครูใบฏีกาหัสดี
-, พระครูภัทรจิตตาภรณ์
-, พระครูอัครศีลวิสุทธิ์
จิตมั่นคงภักดี, เบญญาภา
Keywords: ผลิตภัณฑ์จากเชือก
การบูรณาการพระพุทธศาสนากับศาสตร์ สมัยใหม่
สัมมาชีพ
ภูมิปัญญาท้องถิ่น
วัฒนธรรมชุมชน
จังหวัดนครราชสีมา
Issue Date: 2563
Publisher: สถาบันวิจัยพุทธศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยเรื่อง “ผลิตภัณฑ์จากเชือก:รูปแบบการบูรณาการพระพุทธศาสนากับศาสตรสมัยใหม่ ในการพัฒนาสัมมาชีพสู่ระดับสากลด้วยภูมิปัญญาท้องถิ่นทางวัฒนธรรมชุมชนในจังหวัดนครราชสีมา” มีวัตถุประสงค์ ๓ ประการ คือ ๑) เพื่อศึกษาสภาพปัญหา ค่านิยม และกระบวนการผลิตภัณฑ์จากเชือก ในจังหวัดนครราชสีมา ๒) เพื่อพัฒนาสัมมาชีพด้วยภูมิปัญญาท้องถิ่น (การผลิตเชือก) สู่สากลในจังหวัด นครราชสีมา ๓) เพื่อศึกษารูปแบบการบูรณาการพระพุทธศาสนากับศาสตร์สมัยใหม่ในการพัฒนา สัมมาชีพผลิตภัณฑ์จากเชือกสู่ระดับสากลด้วยภูมิปัญญาท้องถิ่นทางวัฒนธรรมชุมชนในจังหวัด นครราชสีมา โดยมีผลการศึกษาวิจัย ดังนี้ ผลการวิจัยพบว่าสภาพปัญหา ค่านิยม และกระบวนการผลิตภัณฑ์จากเชือกในจังหวัด นครราชสีมา ประกอบไปด้วยสมาชิกกลุ่มหัตถกรรมจักสานเชือกทั้ง ๔ กลุ่ม ตามแนวคิดและทฤษฏีที่ เกี่ยวข้องกับงานหัตถกรรมถักสานและการผลิตสินค้าชุมชน เป็นการวิเคราะห์ข้อมูลด้านสภาพปัญหา ค่านิยม และกระบวนการผลิตภัณฑ์จากเชือก พบปัญหาที่สำคัญในด้านการตลาด ช่องทางการจำหน่าย ที่จะสร้างค่านิยม และกระบวนการผลิต การออกแบบและตราสินค้าที่ยังขาดแบบแผนและแนวทางใน การปฏิบัติอย่างเป็นรูปธรรม ผลการวิจัยการพัฒนาสัมมาชีพด้วยภูมิปัญญาท้องถิ่น (การผลิตเชือก) สู่สากลในจังหวัด นครราชสีมา สภาพปัญหาของกลุ่มทั้ง ๔ กลุ่ม ขาดเงินทุนและปรงงานในการผลิต ไม่มีสถานที่จำหน่าย ผลิตภัณฑ์ที่เป็นรูปธรรม ขาดการประชาสัมพันธ์ ไม่มีโอกาสนำสินค้าไปร่วมในงานแสดงสินค้าเนื่องจาก ไม่มีค่าใช้จ่ายในการเดินทาง การจำหน่ายผลิตภัณฑ์แต่ละกลุ่มมีการกำหนดราคาสินค้าไม่ได้เป็น มาตรฐานเดียวกัน ขาดการสนับสนุนจากผู้ซื้อในชุมชน และสินค้ามีความคงทน จึงไม่มีการบริโภคซ้ำ เหมือนกับอาหารของกิน ส่งผลให้ผู้ประกอบอาชีพถักสานผลิตภัณฑ์จากเชือกต้องหาสินค้าใกล้เคียงกัน มาประกอบการจัดจำหน่ายเพื่อสร้างรายได้ สภาพปัญหาของวัสดุเชือกการพัฒนารูปแบบผลิตภัณฑ์ หัตถกรรมถักสานเชือก ได้ร่วมกันวิเคราะห์ปัญหาชุมชน โดยการอภิปรายแลกเปลี่ยนความคิดเห็น ใน ขั้นตอนการเรียนรู้ มาใช้ในการระดมความคิดเห็นของชุมชนด้วยการประชุมเชิงปฏิบัติการ ข ผลของการพัฒนารูปแบบการบูรณาการพระพุทธศาสนากับศาสตร์สมัยใหม่ในการพัฒนา สัมมาชีพผลิตภัณฑ์จากเชือกสู่ระดับสากลด้วยภูมิปัญญาท้องถิ่นทางวัฒนธรรมชุมชนในจังหวัด นครราชสีมา รูปแบบการเข้าร่วมกิจกรรมผลิตเชือกและจำหน่ายผลิตภัณฑ์จากเชือกที่งานมีความ ละเอียด ประณีต คงทนและสวยงาม โดยใช้ทรัพยากรในท้องถิ่นและทรัพยากรที่จัดซื้อมาจากโรงงาน เช่น เชือกร่ม เชือกมัดฟาง เชือกไนล่อน และเชือกเส้นพาลสติก เป็นต้น ซึ่งเกิดจากกระบวนการคิด และ ร่วมกันทำของสมาชิกกลุ่มออกจำหน่าย จนได้รับการยอมรับจากผู้บริโภคทั้งภายในจังหวัด ต่างจังหวัด และต่างประเทศ จนกระทั้งได้รับการสนับสนุนหน่วยงานพัฒนาชุมชนอำเภอและจังหวัด องค์การบริหาร ส่วนตำบล สหกรณ์การเกษตร ทั้งในเรื่องขององ์ความรู้ งบประมาณ วัสดุอุปรณ์ และแนะนำแนว ทางการบริหารจัดการกลุ่ม จึงกลายเป็นแรงเสริมให้กลุ่มได้รับการพัฒนาต่อยอด ให้กลุ่มมีความเข้มแข็ง พึ่งพาตนเองได้โดยมีวัตถุประสงค์ และกระบวนการบริหารจัดการอย่างชัดเจน มีวิสัยทัศน์ร่วมกัน เพื่อ ยกระดับคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น สร้างงาน สร้างอาชีพกับชุมชนและเกิดพัฒนาในด้านต่างๆ กลุ่มหัตถกรรม ถักสานผลิตภัณฑ์จากเชือกส่วนใหญ่มีการวางแผนที่ดีและเป้าหมายที่ชัดเจน และมีการนำเอาหลัก คุณธรรม จริยธรรม มาปรับใช้จนทำให้กลุ่มหัตถกรรมจักสานจากเชือกประสบผลสำเร็จ ดังนั้นกลุ่มหัตถกรรมเชือกมีความต้องการพัฒนาผลิตภัณฑ์ มีผู้เข้าร่วมดำเนินการ พัฒนา รูปแบบผลิตภัณฑ์หัตถกรรมเชือก มีการดำเนินการวิจัยปฏิบัติการ แบบมีส่วนร่วม ๔ กลุ่มๆ ๒ วงรอบ แนวทางหลักในการพัฒนารูปแบบผลิตภัณฑ์ คือ การนำผลิตภัณฑ์จากเชือกชนิดต่างกัน ได้แก่ เชือกไน ล่อน เชือกมัดฟาง เชือกร่ม และเชือกเส้นพลาสติก พัฒนารูปแบบผลิตภัณฑ์ใหม่ ๓ รูปแบบ ได้แก่ กระเป๋า ตระกร้า และกิ๊ฟช๊อบ ทำให้ได้ต้นแบบผลิตภัณฑ์จากเชือกที่หลากหลาย ผลิตภัณฑ์ที่ได้รับการ พัฒนาสามารถนำไปจำหน่ายตามช่องทางต่างๆ เช่น ทางระบบสื่อออนไลน์ จัดนิทรรศการ และอื่นๆ ตลอดจนถ่ายทอดความรู้เผยแพร่ให้กับผู้สนใจในท้องถิ่น ผลการวิจัยจึงเป็นประโยชน์ต่อชุมชน ในหลาย ด้าน ได้แก่ ๑)ด้านเทคนิคการผลิตเชือก ๒)ด้านการสร้างแบนด์ ๓)ด้านการตลาด ๔)ด้านการบรรจุหีบ ห่อ ๕)ด้านช่องทางการจำหน่าย ๖)ด้านการเผยแพร่ ๗)ด้านจริยธรรม ทำให้เกิดการพัฒนารูปแบบ ผลิตภัณฑ์หัตถกรรมถักสานเชือกอย่างเป็นรูปธรรม
URI: http://mcuir.mcu.ac.th:8080/jspui/handle/123456789/579
Appears in Collections:รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
2563-037ดร.มนัสพล ยังทะเล.pdf5.11 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.