Please use this identifier to cite or link to this item: http://mcuir.mcu.ac.th:8080/jspui/handle/123456789/578
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.authorสุวรรณวงศ์, เบญจมาศ-
dc.contributor.authorรกฺขิตธมฺโม, พระมหาสุพร-
dc.contributor.authorยังทะเล, มนัสพล-
dc.contributor.authorจิตมั่นคงภักดี, เบญญาภา-
dc.date.accessioned2022-03-22T16:39:38Z-
dc.date.available2022-03-22T16:39:38Z-
dc.date.issued2563-
dc.identifier.urihttp://mcuir.mcu.ac.th:8080/jspui/handle/123456789/578-
dc.description.abstractการวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ ๔ ประการคือ ๑) เพื่อพัฒนาระบบนิเวศเชิงพุทธสาหรับ ผู้ประกอบการใหม่ Startup ในจังหวัดนครราชสีมา ๒) เพื่อพัฒนาระบบเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อ สนับสนุนการบริหารจัดการและการบริการของผู้ประกอบการใหม่ Startup ในจังหวัดนครราชสีมา ๓) เพื่อสร้างรูปแบบเครือข่ายความร่วมมือในการพัฒนาศักยภาพผู้ประกอบการใหม่ Startup ใน จังหวัดนครราชสีมา ๔) เพื่อเสนอรูปแบบการพัฒนาศักยภาพผู้ประกอบการใหม่เชิงพุทธเพื่อมุ่งสู่ “Smart City Korat Startup” การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยแบบผสานวิธีทั้งการวิจัยในเชิงคุณภาพ ภาคสนาม และการวิจัยเชิงปฏิบัติการ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสัมภาษณ์ และการจัดอบรม เชิงปฏิบัติการโครงการพัฒนาศักยภาพผู้ประกอบการใหม่เชิงพุทธเพื่อมุ่งสู่“Smart City Korat Startup” ผลการศึกษาการพัฒนาระบบนิเวศเชิงพุทธสาหรับผู้ประกอบการใหม่ Startup ในจังหวัด นครราชสีมา พบว่า Ecosystem ระบบนิเวศทางธุรกิจ Startup คือระบบที่เชื่อมโยงกันของห่วงโซ่ ทางคุณค่าของธุรกิจแต่ละหน่วยที่สามารถช่วยเหลือหรือสนับสนุนธุรกิจร่วมกันมีความเชื่อมโยง สัมพันธ์กันทาให้เกิดเป็นห่วงโซ่คุณค่า ได้แก่ ๑) Startup Company กลุ่มสตาร์ทอัพ ๒) Investor กลุ่มนักลงทุน ๓) Supporting Organization ได้แก่ Incubator / Accelerator, Government, Association,Coworking Space, Academy ,Event, Media การประยุกต์ใช้หลักพุทธธรรมในการ พัฒนาระบบนิเวศสาหรับผู้ประกอบการใหม่Startup ในจังหวัดนครราชสีมา แบ่งเป็น ๖ ด้าน ดังนี้ ๑)ด้านการบริหารจัดการกลุ่มและสมาชิก คือ หลักพรหมวิหารธรรม หลักอปริหานิยธรรม ๒) ด้าน การบริหารจัดการด้านการตลาดและลูกค้า คือ หลักปาปณิกธรรม หลักสังคหวัตถุ ๔ หลักบุญกิริยา วัตถุ ๓ หิริ และโอตตัปปะ ๓) ด้านการผลิตและงานสนับสนุนการผลิต คือ หลักสัปปุริสธรรม และ หลักทิฏฐธรรมิกัตถะ ๔) ด้านการบริหารจัดการด้านบัญชีและการเงิน คือ หลักฆราวาสธรรม หลักคิหิ สุข ๕) ด้านการปรับปรุงและพัฒนาธุรกิจชุมชนสู่ความยั่งยืน คือ หลักอิทธิบาท ๔ หลักกัลยาณมิตร ๖)ด้านการส่งเสริมสัมมาชีพของกลุ่มผู้ประกอบการธุรกิจ Startup ได้แก่ หลักสัมมาอาชีวะ หลักโภค วิภาค ผลการศึกษาสภาพการบริหารจัดการระบบสารสนเทศเพื่อสนับสนุนการบริการของของ ผู้ประกอบการ Startup ในจังหวัดนครราชสีมา พบว่ามีปัจจัยที่เกี่ยวข้อง ๓ ด้าน ได้แก่ ๑) ด้านการ ออกแบบและพัฒนาระบบสารสนเทศ ๒) ด้านปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับความสาเร็จของระบบสารสนเทศ ๓) ด้านการใช้ระบบสารสนเทศเพื่อการบริหารและจัดการความรู้ การพัฒนาระบบเทคโนโลยี ข สารสนเทศในการสนับสนุนการบริหารจัดการและการบริการของผู้ประกอบการ Startupในจังหวัด นครราชสีมา เป็นลักษณะของการพัฒนา ๑) การเปลี่ยนแปลงด้านเทคโนโลยี เทคโนโลยีที่ใช้อยู่ใน ระบบสารสนเทศปัจจุบันล้าสมัย ค่าใช้จ่ายในการบารุงรักษาระบบมีราคาสูง จึงต้องรับเอาเทคโนโลยี ใหม่ๆ มาประยุกต์ใช้ซึ่งทาให้มีการเปลี่ยนแปลงระบบการทางานที่มีอยู่เดิม ๒) การปรับองค์การและ สร้างความได้เปรียบในการแข่งขัน ระบบที่ใช้งานอยู่ปัจจุบันมีขั้นตอนการทางานที่ยุ่งยากซับซ้อน ขนาดเอกสารอ้างอิงหรือเอกสารที่มีอยู่ไม่ได้มาตรฐาน ทาให้การปรับปรุงหรือแก้ไขทาได้ยาก ความ ต้องการปรับองค์การให้เหมาะสมเพื่อสามารถตอบสนองต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพแวดล้อมทางธุรกิจ ระบบปัจจุบันไม่สามารถรองรับการเปลี่ยนแปลงในอนาคตได้ เช่น ไลน์ การจ่ายโอนเงินแบบคิวอาร์ โค๊ด และพร้อมเพย์ เป็นต้น ผลการศึกษาการสร้างรูปแบบเครือข่ายความร่วมมือในการพัฒนาศักยภาพผู้ประกอบการ ใหม่ Startup ในจังหวัดนครราชสีมา พบว่าสภาพปัญหาความร่วมมือเพื่อการพัฒนาศักยภาพ ผู้ประกอบการใหม่ Start up ยังขาดการส่งเสริมและพัฒนาผู้ประกอบการรุ่นใหม่ ขาดการสนับสนุน การเข้าถึงแหล่งเงินทุน ขาดการส่งเสริมสนับสนุนเครื่องมือในการพัฒนาศักยภาพผู้ประกอบการรุ่น ใหม่ให้มีประสิทธิภาพ กระบวนการของเครือข่ายความร่วมมือเพื่อการพัฒนาศักยภาพผู้ประกอบการ ใหม่ Start up แบ่งออกได้เป็น ๕ ขั้นตอน ขั้นที่ ๑ การช่วยให้ผู้ประกอบการรุ่นใหม่เข้าถึงแหล่ง เงินทุน ขั้นที่ ๒ การช่วยเหลือการตั้งต้นธุรกิจและการทาแผนธุรกิจ ขั้นที่ ๓ การพัฒนาผลิตภัณฑ์การ สร้างตราสินค้า ขั้นที่ ๔ การนาสินค้าออกวางตลาดเพื่อจ่าหน่ายในระดับท้องถิ่น ขั้นที่ ๕ การเข้าสู่ ตลาดต่างประเทศ การสร้างรูปแบบเครือข่ายความร่วมมือในการพัฒนาศักยภาพผู้ประกอบการ Start up ในจังหวัดนครราชสีมา เป็นเครือข่ายที่เน้นการช่วยเหลือ สนับสนุนทุน การพัฒนาด้าน เทคนิคและนวัตกรรมใหม่ การพัฒนาศักยภาพผู้ประกอบการ Startup แนวทางส่งเสริมและพัฒนา ผู้ประกอบการรุ่นใหม่มีดังนี้ ๑)การพัฒนาการยกระดับผลิตภาพ เทคโนโลยี และนวัตกรรม ๒)การ ส่งเสริมการเข้าถึงแหล่งเงินทุน ๓) การเสริมสร้างขีดความสามารถผู้ประกอบการรุ่นใหม่ ๔) การ พัฒนากลไกเพื่อขับเคลื่อนการส่งเสริมผู้ประกอบการรุ่นใหม่อย่างเป็นระบบ การประเมินผลการใช้ รูปแบบเครือข่ายความร่วมมือในการพัฒนาศักยภาพผู้ประกอบการ Startup ในจังหวัดนครราชสีมา โดยใช้หลัก ๑) มุมมองด้านงบประมาณและทรัพยากร ๒) มุมมองด้านลูกค้า ๓) มุมมองด้าน กระบวนการภายใน ๔) มุมมองด้านการเรียนรู้และการพัฒนา ผลการศึกษารูปแบบการพัฒนาศักยภาพผู้ประกอบการใหม่เชิงพุทธเพื่อมุ่งสู่ “Smart City Korat Startup” พบว่า คุณสมบัติเบื้องต้นของผู้ประกอบการ Startup คือ ๑)มีความปรารถนาอย่าง แรงกล้า ๒)มีความคิดสร้างสรรค์ ๓)มีความเป็นนักกลยุทธ์ ๔)มีความเป็นผู้นาและกล้าตัดสินใจ ๕)มี ความกล้าเสี่ยง ปัจจัยที่ส่งผลต่อความสาเร็จในการประกอบธุรกิจ StartUp ของผู้ประกอบการใหม่มี ดังนี้ ๑)ปัจจัยด้านความรู้ ไอเดีย ๒)ปัจจัยด้านการเมืองและสภาพเศรษฐกิจ ๓)ปัจจัยด้านสังคม ๔)ปัจจัยด้านพฤติกรรมของผู้บริโภคและการลดต้นทุนด้วยเทคโนโลยี ๕)ปัจจัยด้านการเรียนรู้ข่าวสาร ๖)ปัจจัยด้านแหล่งวัตถุดิบและเครือข่ายชุมชนส่งผลต่อการตัดสินใจ การพัฒนาศักยภาพ ผู้ประกอบการใหม่ Startupเชิงพุทธในจังหวัดนครราชสีมาผ่านการอบรมเชิงปฏิบัติการในโครงการ พัฒนาศักยภาพผู้ประกอบการใหม่เชิงพุทธ พบว่ามีการประยุกต์หลักธรรมทางพระพุทธศาสนามาใช้ ในการพัฒนาศักยภาพผู้ประกอบการใหม่ Startup ได้แก่ ๑)หลักพรหมวิหาร ๔ ( เมตตา,เมตตา ค กรุณา มุทิตาและอุเบกขา) ๒)หลักอิทธิบาท ๔ (ฉันทะ, วิริยะ, จิตตะ และวิมังสา), ๓)หลักไตรสิกขา (ศีล,สมาธิ,ปัญญา) ,๔)หลักทศพิธราชธรรม (ทาน , ศีล,บริจาค,ความซื่อตรง,ความอ่อนโยน,ความ เพียร,ความไม่โกรธ,ความไม่เบียดเบียน,ความอดทน,ความเที่ยงธรรม)en_US
dc.publisherสถาบันวิจัยพุทธศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัยen_US
dc.subjectการพัฒนาen_US
dc.subjectศักยภาพผู้ประกอบการใหม่เชิงพุทธen_US
dc.subjectSmart City Korat Startupen_US
dc.titleการพัฒนาศักยภาพผู้ประกอบการใหม่เชิงพุทธเพื่อมุ่งสู่ “Smart City Korat Startup”en_US
dc.title.alternativeTHE DEVELOPMENT OF POTENTIAL A NEW BUDDHIST ENTREPRENEURIAL FOR THE SMART CITY KORAT START UPen_US
dc.typeThesisen_US
Appears in Collections:รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
2563-030เบญจมาศ.pdf5.7 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.