Please use this identifier to cite or link to this item: http://mcuir.mcu.ac.th:8080/jspui/handle/123456789/573
Title: ขันติธรรม : กระบวนการสร้างสันติของผู้นาชุมชนตามแนวชายแดนไทย-กัมพูชา
Other Titles: Toleration: Peace building process of community leaders along the Thai-Cambodian border
Authors: -, พระครูสิริคณาภิรักษ์
งาหอม, สราวุฒิ
ศรีราตรี, ชุมพล
ทิพย์สมบัติ, สมปอง
Keywords: ขันติธรรม
กระบวนการสร้างสันติ
ผู้นำชุมชน
ชายแดนไทย-กัมพูชา
Issue Date: 2561
Publisher: สถาบันวิจัยพุทธศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
Abstract: การวิจัย ขันติธรรม : กระบวนการสร้างสันติของผู้นาชุมชนตามแนวชายแดนไทย-กัมพูชา เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) เป็นการสัมภาษณ์แบบเจาะลึก (in-depth interview) มีวัตถุประสงค์ ๓ ประการ คือ ๑) เพื่อศึกษาหลักขันติธรรมกับการดาเนินงานของผู้นาชุมชนตามแนวชายแดนไทย - กัมพูชา ๒) เพื่อศึกษากระบวนการสร้างสันติของผู้นาชุมชนตามแนวชายแดนไทย-กัมพูชา และ ๓) เพื่อวิเคราะห์กระบวนการสร้างสันติของผู้นาชุมชนตามแนวชายแดนไทย-กัมพูชา ผู้วิจัยเลือกใช้วิธีการศึกษาเชิงคุณภาพ คือ เน้นการศึกษาวิจัยเชิงเอกสาร (Documentary Research) และการวิจัยเชิงภาคสนาม (Field Research) ซึ่งสามารถสรุปผลของการวิจัยตามข้อค้นพบได้ดังต่อไปนี้ ผลการวิจัยพบว่า หลักขันติธรรมกับการดาเนินงานของผู้นาชุมชนตามแนวชายแดนไทย-กัมพูชา พบว่า ผู้นามีการดาเนินงานทางสังคม การเมือง เศรษฐกิจ และการศึกษา โดยตั้งอยู่บนพื้นฐานของหลักขันติ ๔ ประการ คือ ๑) ความอดทน อดกลั้นต่อความลาบาก ตรากตรา ๒) อดทนต่อทุกขเวทนาที่เกิดขึ้นทางกาย ๓) อดกลั้นต่อ ถ้อยคาด่าว่าหยาบคาย คาเสียดสี และ๔) อดกลั้นต่อพลังอานาจบีบคั้นของกิเลส กระบวนการสร้างสันติของผู้นาชุมชนตามแนวชายแดนไทย – กัมพูชา พบว่า มี ๔ ด้าน คือ ๑) ด้านสังคม ประกอบด้วย (๑) กระบวนการทางกฎหมาย (๒) กระบวนการทางหลักธรรม (๓) กระบวนการทางวัฒนธรรม และ(๔) กระบวนการทางประเพณี ๒) ด้านการเมือง ๓) ด้านเศรษฐกิจ และ๔) ด้านการศึกษา วิเคราะห์กระบวนการสร้างสันติของผู้นาชุมชนตามแนวชายแดนไทย-กัมพูชา พบว่า ผู้นามีกระบวนการสร้างสันติ ๔ ด้าน คือ ๑) ด้านสังคม ได้แก่ (๑) การใช้กฎหมายปกครองเพื่อให้เกิดความสงบเรียบร้อย (๒) การใช้หลักธรรม เช่น หลักสาราณียธรรม และหลักขันติธรรม เพื่อให้เกิดความรัก สามัคคี ความเข้มแข็ง ๓) วัฒนธรรม ส่งเสริมให้มีการแต่งกาย การเคารพผู้สูงอายุ เพื่อให้เกิดความงดงาม และความรักเมตตา และ ๔) ประเพณี เช่น ประเพณีฮีตสิบสองครองสิบสี่ เพื่อให้เกิดความ ผูกพัน ความสุข สงบ ๒) ด้านการเมือง ส่งเสริมหลักประชาธิปไตย มีการไปใช้สิทธิเลือกตั้ง๓) ด้านเศรษฐกิจ ส่งเสริมการค้าขาย และการสร้างอาชีพ และ ๔) ด้านการศึกษา ผู้นามีความรู้ ความเข้าใจ สามารถให้คาแนะนาที่เป็นประโยชน์ในชุมชน และให้การพัฒนาชุมชนอยู่เสมอ
URI: http://mcuir.mcu.ac.th:8080/jspui/handle/123456789/573
Appears in Collections:รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
2562-041พระครูสิริคราภิรักษ์.pdf2.65 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.