Please use this identifier to cite or link to this item: http://mcuir.mcu.ac.th:8080/jspui/handle/123456789/572
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.authorแสงหล้า, ปัณณวิชญ์-
dc.date.accessioned2022-03-22T16:08:36Z-
dc.date.available2022-03-22T16:08:36Z-
dc.date.issued2561-
dc.identifier.urihttp://mcuir.mcu.ac.th:8080/jspui/handle/123456789/572-
dc.description.abstractการศึกษาเรื่อง กระบวนการสร้างมูลค่าเพิ่มและช่องทางการตลาดโดยใช้เทคโนโลยี สารสนเทศของกลุ่มเกษตรอินทรีย์ อาเภอศรีประจันต์ จังหวัดสุพรรณบุรีมีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษา รูปแบบการจาหน่ายสินค้าเกษตรของกลุ่มเกษตรอินทรีย์ วิเคราะห์กระบวนการใช้เทคโนโลยี สารสนเทศเพื่อเพิ่มมูลค่าสินค้าเกษตรของกลุ่มเกษตอินทรีย์ และพัฒนาช่องทางการตลาดโดยใช้ เทคโนโลยีสารสนเทศเพิ่มมูลค่าสินค้าเกษตรของกลุ่มเกษตรอินทรีย์ อาเภอศรีประจันต์ จังหวัดสุพรรณบุรี ประชาชนและกลุ่มเป้าหมายได้แก่ กลุ่มเกษตรกรอินทรีย์เขตตาบลวังหว้าและ ตาบลบางงาม ที่ดาเนินการวิจัย จานวน ๒๐ คน โดยการสัมภาษณ์เชิงลึกและโดยมุ่งเน้นการวิเคราะห์ โดยการสรุปตามสาระสาคัญด้านเนื้อหาที่กาหนดไว้ โดยวิธีการวิเคราะห์เนื้อหา ได้แก่ ปัจจัย ข้อมูลพื้นฐานกับระดับการปฏิบัติของเกษตรกรที่ดาเนินการอยู่ปัจจุบันมีความสอดคล้องกับ กระบวนการสร้างมูลค่าเพิ่มและช่องทางการตลาดโดยใช้เทคโนโลยีสารสนเทศของเกษตรกร ผลการศึกษาวิจัยพบว่า รูปแบบการจาหน่ายสินค้าของเกษตรกรมี ๒ ช่องทาง มีพื้นที่จัดจาหน่ายผลผลิต และจากการใช้โทรศัพท์เคลื่อนที่ผ่านระบบออนไลน์ได้แก่ระบบ Line@ รองลง Facebook และ Page ส่วนเกษตรกรที่มีอายุเกิน ๕๕ ปียังขาดทักษะในการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ การใช้เทคโนโลยี สารสนเทศในการเพิ่มช่องทางจาหน่ายผลผลิตทางเกษตรของกลุ่มเกษตรอินทรีย์แบบประเภทธุรกิจ กับผู้บริโภคมุ่งเน้นการบริการลูกค้าโดยตรงลักษณะเป็นการประกาศซื้อขาย ผลผลิต นาเสนอราคา ข แบบเจาะจงระหว่างเกษตรกรและผู้ซื้อที่สามารถสื่อสารกันโดยตรง ผ่านสมาชิกกลุ่มที่เป็น ผู้ประสานงาน ในการนาเสนอผลผลิตทางการเกษตรของกลุ่มสมาชิกผ่านออนไลน์ พบว่าผู้บริโภค และผู้ประกอบการสามารถสอบถามและระบุความต้องการประเภทผลผลิตได้เร็วสะดวกทาให้ยอด การจาหน่ายผ่านระบบออนไลน์มีมูลค่าสูงกว่าระบบออฟไลน์ที่นาผลผลิตไปจาหน่ายผ่านหน้าร้าน ของกลุ่มสมาชิก ส่วนการพัฒนาช่องทางการตลาดของกลุ่มเกษตรอินทรีย์ ใช้แนวทางการตลาด แบบไร้รอยต่อ(Omni Chanel Marketing) ได้แก่ ๑)ช่องทางการสื่อสารการตลาด ๒) การเชื่อมโยง ช่องทางการตลาด ๓) การเข้าใจพฤติกรรมและความคาดหวังของผู้บริโภค ๔)การส่งมอบ ประสบการณ์ที่ตรงต่อความต้องการของผู้บริโภคอย่างต่อเนื่อง ๕) การสร้างความผูกพันกับผู้บริโภค โดยเชื่อมโยงผ่านระบบออนไลน์และควบคู่ไปกับระบบออฟไลน์เพื่อให้ไปในทิศทางเดียวกัน ในการจาหน่ายผลผลิตเกษตรอินทรีย์ โดยผ่านกระบวนการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในการใช้สื่อ การเข้าถึงสื่อ และการนาสื่อไปใช้เชื่อมโยงช่องทางการตลาด ด้านผลผลิต ราคา ช่องทางการ จาหน่ายและการให้บริการแบบเจาะจงนาไปสู่การสร้างมูลค่าเพิ่มสินค้าเกษตรอินทรีย์en_US
dc.publisherสถาบันวิจัยพุทธศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัยen_US
dc.subjectกระบวนการen_US
dc.subjectช่องทางการตลาดen_US
dc.subjectการสร้างมูลค่าเพิ่มen_US
dc.subjectเทคโนโลยีen_US
dc.subjectสารสนเทศen_US
dc.subjectกลุ่มเกษตรอินทรีย์en_US
dc.subjectอำเภอศรีประจันต์en_US
dc.subjectจังหวัดสุพรรณบุรีen_US
dc.titleกระบวนการสร้างมูลค่าเพิ่มและช่องทางการตลาดโดยใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ ของกลุ่มเกษตรอินทรีย์ อาเภอศรีประจันต์ จังหวัดสุพรรณบุรีen_US
dc.title.alternativeThe Process of Adding Valued and Marketing Channels by Using Information Technology of Organic Group Sri Prachan District, Suphan Burien_US
dc.typeThesisen_US
Appears in Collections:รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
2561-305 นายปัณณวิชญ์ แสงหล้า.pdf4.08 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.