Please use this identifier to cite or link to this item: http://mcuir.mcu.ac.th:8080/jspui/handle/123456789/571
Title: กระบวนการส่งเสริมสุขภาวะของผู้สูงอายุเชิงพุทธบูรณาการจังหวัดนครพนม
Other Titles: Movement process well being of the elderly Buddhist integration of the Nakhon Phanom
Authors: วงศ์จำปาศรี, พรรณี
Keywords: กระบวนการส่งเสริม
สุขภาวะของผู้สูงอายุ
เชิงพุทธบูรณาการ
จังหวัดนครพนม
Issue Date: 2561
Publisher: สถาบันวิจัยพุทธศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
Abstract: การศึกษาวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์ ๑) เพื่อศึกษากระบวนการส่งเสริมสุขภาวะผู้สูงอายุตาม แนวของหลักพุทธรรมในจังหวัดนครพนม ๒) เพื่อศึกษาวิธีการบูรณาการพุทธธรรมกับการส่งเสริมสุข ภาวะผู้สูงอายุในจังหวัดนครพนม การดาเนินการวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) ได้ทาการเก็บข้อมูลจากผู้ให้ข้อมูลสาคัญ (Key Informants) รวม ๑๐๕ รูป/คน จาก บุคคลผู้มีส่วนร่วมเกี่ยวข้องกับผู้สูงอายุ โดยการสัมภาษณ์แบบเจาะลึก (In-deph Interview) และใช้ การวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้วิธีการพรรณนาความพบว่า กระบวนการส่งเสริมสุขภาวะของผู้สูงอายุตามแนวหลักของพุทธธรรมในจังหวัดนครพนม มี ๔ กระบวนการคือ ๑. กระบวนการให้ความรู้เน้นการย้าคิดย้าทาและแนวคิดต่าง ๆ เช่น ถ้า ลูกหลานดูแลพ่อแม่ไม่ได้ถือว่าลูกหลานอกตัญญูเพราะ ปัจจัยทางสังคมเปลี่ยนไปจากเดิมการเตรียม ตัวเข้าผู้สูงอายุแบบพึ่งพาตนเองได้เป็นสิ่งสาคัญ ถือว่าเป็นกระบวนการการหนึ่งที่ผู้สูงอายุทาได้ โดย การดูแลกายใจของผู้สูงอายุด้วยตนเอง ๒. กระบวนการดูแลตนเองของแต่ละท่าน ได้แก่ อาหาร การ ขับถ่าย การพักผ่อนการออกกาลังกายและการดูแลตนเองด้านสิ่งแวดล้อมทั่วไปเช่น การแต่งกายตาม กาลเทศะ ๓. กระบวนการเยี่ยมเยียนผู้สูงอายุ การพึ่งพาตัวเองได้เป็นความภาคภูมิใจอย่างหนึ่งแต่ เมื่อสังขารร่วงโรย ความรักและความเอาใจใส่ ของลูกหวานคือ พลังที่ทาให้ผู้สูงอายุมีสุขภาวะที่ดี เสมอ ๔. กระบวนการสร้างพลังมวลชน การรักษาศีลปะขนบธรรมเนียมประเพณีท้องถิ่นวัฒนธรรม ดั้งเดิมของชุมชน ล้วนเกี่ยวข้องและผูกผันกับผู้สูงอายุอันเป็นส่วนส่งเสริมสุขภาวะของผู้สูงอายุจังหวัด นครพนม วิธีบูรณาการพุทธธรรมกับการส่งเสริมสุขภาวะผู้สูงอายุจังหวัดนครพนม โดยใช้หลัก ภาวนา ๔ คือ กายภาวนา เป็นการกาหนดลมหายใจไปยังร่างกายจุดที่เคลื่อนไหวเพื่อให้ร่างกายปรับ ความยืดหยุ่นและการเคลื่อนย้ายร่างกายไปตามสภาพแวดล้อม เพื่อทาให้ตัวเองมีความสุข ศีล ภาวนา โดยการเจริญศีล ๕ ก่อนนอนผู้สูงอายุจะสมาทานศีล ๕ ก่อนนอนเพราะเมื่อนอนหลับจะ สามารถรักษาศีล ๕ ได้อย่างบริสุทธิ์แต่เมื่อตื่นนอนสามารถเจริญศีลได้ทุกวัน คือ ข้อ ๒ ศีลข้อ๓ และ ศีลข้อ ๕ ส่วนศีลข้อ ๑ และศีลข้อ ๔ อยู่ระหว่างการประคับประคองให้ตนเองละเว้น เพื่อส่งเสริม การสร้างความสัมพันธ์ที่ดีต่อตนเองต่อคนอื่นและสิ่งแวดล้อมจิตภาวนา การทาจิตสงบนิ่งและรู้ ข สภาวะอารมณ์ของตนเองเป็นกุศลอย่างหนึ่งโดยมีวิธีหลายรูปแบบ เช่น การสวดมนต์ การฟังธรรมการเสวนาธรรม การแผ่เมตตาและการฝึกทาสมาธิโดยการดูกายดูใจตัวเอง ฝึกทาบ่อย ๆ ทุกวันย่อมส่งผลให้จิตใจและร่างกายแข็งแรง ปัญญาภาวนา ผู้สูงอายุเข้าใจถึงความจริงตามหลัก สัจธรรมคือ เรามีความแก่ ความเจ็บ ความตายเป็นธรรมดา เราจะหลีกหนีความแก่ ความเจ็บ ความตายไม่พ้น การพลัดพรากสิ่งอันเป็นที่รักที่ชอบเป็นทุกข์เราจะต้องพบการพลัดพรากอย่างหลีกไม่พ้น และใครทาสิ่งใดไว้ย่อมได้รับสิ่งนั้นเสมอ จงทาแต่กรรมดี กรรมไม่ดีจงอย่าทา กรรมจัดสรร ยุติธรรมเสมอไม่มีใครหลีกหนีกรรมตนเองพ้น เครื่องมือการทากรรมดีคือ ความอดทนที่มีมากกว่าธรรมดา ความเพียรพยายามที่มีให้มากขึ้น ความอดทนความเพียรพยายามเป็นสมบัติของผู้เจริญภาวนา ๔
URI: http://mcuir.mcu.ac.th:8080/jspui/handle/123456789/571
Appears in Collections:รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
2561-334พรรณี วงศ์จำปาศรี.pdf11.21 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.