Please use this identifier to cite or link to this item: http://mcuir.mcu.ac.th:8080/jspui/handle/123456789/570
Title: การผลิตภัณฑ์ท้องถิ่น : คุณค่าอัตลักษณ์และการสร้างมูลค่าเพิ่ม ด้วยวัฒนธรรมชุมชน
Other Titles: To Local Products Identity and Value Creation With a Community Culture
Authors: พระครูวัชรสุวรรณาทร
Keywords: การผลิตภัณฑ์ท้องถิ่น
คุณค่าอัตลักษณ์
การสร้างมูลค่าเพิ่ม
วัฒนธรรมชุมชน
Issue Date: 2561
Publisher: สถาบันวิจัยพุทธศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
Abstract: การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (๑) เพื่อศึกษาเอกลักษณ์และรูปแบบผลิตภัณฑ์จากต้นตาล ของจังหวัดเพชรบุรี (๒) เพื่อพัฒนา ผลิตภัณฑ์จากต้นตาลสร้างมูลค่าเพิ่มให้ท้องถิ่นด้วยอัตลักษณ์ชุมชน (๓) เพื่อยกระดับผลิตภัณฑ์ท้องถิ่นกับการสร้างมูลค่าเพิ่มทางเศรษฐกิจและการสืบสานวิถีวัฒนธรรมตาล เมืองเพชร การศึกษาครั้งนี้เป็นการศึกษาโดยการใช้การวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) เริ่มจาก การศึกษาแนวคิดเอกลักษณ์และรูปแบบผลิตภัณฑ์จากต้นตาลของจังหวัดเพชรบุรี โดยการศึกษาเอกสาร ตารา งานวิจัย ที่เกี่ยวข้องกับวิถีวัฒนธรรมตาลเมืองเพชร จากนั้นได้ทาการสัมภาษณ์ผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง เพื่อให้ทราบถึงเอกลักษณ์และรูปแบบผลิตภัณฑ์จากต้นตาลของจังหวัดเพชรบุรี เพื่อพัฒนาและยกระดับ ผลิตภัณฑ์จากต้นตาลสร้างมูลค่าเพิ่มและการสืบสานวิถีวัฒนธรรมตาลเมืองเพชร พร้อมทั้งรับฟัง ข้อเสนอแนะในด้านต่าง ๆ แล้วทาการสรุปวิเคราะห์ผลที่ได้ ไปทาการประเมินความเหมาะสมเพื่อ ปรับปรุงนาเสนอต่อไป ผลการวิจัยพบว่า ๑) เอกลักษณ์และรูปแบบผลิตภัณฑ์จากต้นตาลของจังหวัดเพชรบุรี พบว่า มีการคงอยู่ที่ดีทั้งใน ลักษณะคุณค่าอัตลักษณ์และการสร้างมูลค่าเพิ่มด้วยวัฒนธรรมชุมชนและความเป็นกลุ่มชุมชนในหลาย พื้นที่ เมื่อเทียบกับจังหวัดอื่นๆ ในละแวก โดยเฉพาะในพื้นที่ทาการศึกษาจะพบว่าชาวบ้านเห็นคุณค่า ความสาคัญและมีความภาคภูมิใจต่อการรักษาผลิตภัณฑ์ท้องถิ่นของตน สาหรับผลิตภัณฑ์ท้องถิ่นของตน นอกจากจะเป็นตัวแทนของบรรพบุรุษแล้ว ยังเป็นส่วนหนึ่งที่แสดงถึงเอกลักษณ์ของความเป็นจังหวัด เพชรบุรี หรืออาจหมายถึงความเป็นไทยในระดับภาพกว้าง อย่างไรก็ตามแม้ว่าจะมีการเก็บรักษา โดยเฉพาะผลิตภัณฑ์ท้องถิ่น แต่ก็จะพบการเปลี่ยนแปลงของเอกลักษณ์และรูปแบบผลิตภัณฑ์ท้องถิ่นใน การใช้วัสดุเหล่านี้ เพื่อตอบสนองกับวิถีชีวิตความเป็นอยู่และเงื่อนไขของสภาพแวดล้อมที่แปรเปลี่ยนไป ด้วย ๒) การพัฒนา ผลิตภัณฑ์จากต้นตาลสร้างมูลค่าเพิ่มให้ท้องถิ่นด้วยอัตลักษณ์ชุมชน พบว่า ผลิตภัณฑ์ท้องถิ่นที่เป็นมรดกทางวัฒนธรรมในแต่ละชุมชนท้องถิ่นนั้น มีทั้งที่ยังคงรักษาไว้แต่อยู่อย่าง กระจัดกระจายและที่ถูกทาให้ลดจานวนลงอย่างมาก โดยเฉพาะการลดจานวนลงของต้นตาลในท้องถิ่น ต่าง ๆ ส่วนใหญ่เป็นผลมาจากการโยกย้ายเรือนออกไปอยู่ที่อื่น ๆ สวนบางส่วนถูกทิ้งร้าง และสวน บางส่วนถูกปรับปรุงและเปลี่ยนแปลงเพื่อตอบสนองความต้องการตามวิถีชีวิตที่ทันสมัยจนก่อให้เกิด ปัญหาด้านการเปลี่ยนแปลงรูปแบบและเอกลักษณ์ของผลิตภัณฑ์ท้องถิ่น เนื่องจากการพัฒนาการของ วัสดุและเทคโนโลยีที่ทันสมัยมากขึ้น ทาให้งานช่างไม้ตาลที่เป็นภูมิปัญญาสาคัญในการผลิตภัณฑ์ท้องถิ่น ข ของไทยไม่ได้รับการพัฒนาให้เกิดความต่อเนื่อง และกาลังสูญหายไปในบางท้องถิ่น สามารถมีบทบาทใน การสืบสานและพัฒนางานด้านนี้เพื่อเป็นส่วนในการพัฒนาและวัฒนธรรมตาลเมืองเพชรที่เป็นมรดกทาง วัฒนธรรมให้สืบเนื่องต่อไป ๓) ยกระดับผลิตภัณฑ์ท้องถิ่นกับการสร้างมูลค่าเพิ่มทางเศรษฐกิจและการสืบสานวิถีวัฒนธรรม ตาลเมืองเพชร พบว่า วัฒนธรรมตาลเมืองเพชรนับเป็นสิ่งสะท้อนให้เห็นความซับซ้อนทางสังคมและ วัฒนธรรมของแต่ละท้องถิ่นและช่วงเวลาการเปลี่ยนแปลงบ้านเรือนที่เป็นมรดกทางวัฒนธรรมของ ท้องถิ่นให้เกิดการรักษาความสาคัญวัฒนธรรมตาลเมืองเพชรนั้น ควรมาจากการรู้หรือการตระหนักใน คุณค่าของที่อยู่อาศัยของประชาชนหรือเจ้าของสวนเอง การเปลี่ยนแปลงนี้จึงจะสามารถเกิดการ สร้างสรรค์และรักษาวัฒนธรรมตาลเมืองเพชรให้คงคุณค่ากับท้องถิ่นต่อไป จึงควรส่งเสริมการใช้ ประโยชน์จากตาลให้คุ้มค่า เช่น งานหัตถกรรมจากตาล เพื่อสร้างรายได้ และสร้างเอกลักษณ์เฉพาะของ ชุมชนที่ต่างจากชุมชนอื่น จนเป็นผลิตภัณฑ์ติดตลาด สามารถสร้างรายได้แก่ชุมชนตามหลักเศรษฐกิจ พอเพียงแล้วจึงขยายเป็นแบบอย่างสู่ชุมชนอื่นต่อไป ตลอดจนมีการสร้างความตระหนักด้านการรักษา สภาพแวดล้อมด้วยการใช้บรรจุภัณฑ์จากวัสดุธรรมชาติแทนวัสดุสังเคราะห์ประเภทโฟมและพลาสติก
URI: http://mcuir.mcu.ac.th:8080/jspui/handle/123456789/570
Appears in Collections:รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
2562-005พระครูวัชรสุวรรณาทร, ดร..pdf3.48 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.