Please use this identifier to cite or link to this item:
http://mcuir.mcu.ac.th:8080/jspui/handle/123456789/568
Full metadata record
DC Field | Value | Language |
---|---|---|
dc.contributor.author | พุ่มทุเรียน, สมคิด | - |
dc.contributor.author | -, พระครูอุทัยกิจจารักษ์ | - |
dc.contributor.author | แก้วบุตรดี, ภราดร | - |
dc.contributor.author | นวลระออง, สมบัติ | - |
dc.contributor.author | ลินลา, จรรยา | - |
dc.date.accessioned | 2022-03-22T15:42:24Z | - |
dc.date.available | 2022-03-22T15:42:24Z | - |
dc.date.issued | 2560 | - |
dc.identifier.uri | http://mcuir.mcu.ac.th:8080/jspui/handle/123456789/568 | - |
dc.description.abstract | การวิจัยเรื่อง “จิตวิทยาเชิงพุทธกับการเสริมสร้างความมั่นคงทางครอบครัวพ่อ-แม่มือใหม่” มีวัตถุประสงค์ดังนี้ ๑) เพื่อศึกษาแนวคิด หลักการ และสถานการณ์ความมั่นคงทางครอบครัว พ่อ-แม่มือใหม่ ๒) เพื่อศึกษาจิตวิทยาเชิงพุทธ ระบบและกลไกในการเสริมสร้างความมั่นคงของครอบครัวพ่อ-แม่มือใหม่ ๓) เพื่อบูรณาการจิตวิทยาเชิงพุทธกับการเสริมสร้างความมั่นคงทางครอบครัวพ่อ-แม่มือใหม่ ผลการวิจัยพบว่า ผลการวิจัยตามวัตถุประสงค์ข้อที่ ๑ พบว่า แนวคิดหลักการเสริมสร้างความมั่นคงทางครอบครัวพ่อ-แม่มือใหม่ ต้องอาศัยหลักการทางพระพุทธศาสนาบูรณาการกับวิถีชีวิต ระบบกลไกครอบครัวเพื่อเสริมสร้างความเข้มแข็ง มั่นคง และมีความยั่งยืน โดยยึดหลักกาปฏิบัติดังต่อไปนี้ คือ ๑) การส่งเสริมความสัมพันธ์ที่ดีในครอบครัว ความรักความเข้าใจกันของคนในครอบครัว การดูแลเอาใจใส่กัน ความเสียสละเอื้ออาทรต่อกัน ความไว้เนื้อเชื่อใจกัน 2) การปลูกฝังให้มีวิถีการดำเนินชีวิตที่ดี พ่อแม่ถือเป็นปัจจัยสำคัญในการที่จะปลูกฝังคุณธรรมและวิถีการดำเนินชีวิตที่ดีแก่สมาชิกภายในครอบครัว พ่อแม่ต้องเป็นแบบอย่างที่ดีเพราะพ่อแม่คือครูคนแรกของลูก อยากให้ลูกมีศีลธรรม จริยธรรม พ่อแม่ก็ต้องตั้งตนอยู่ในศีลธรรม และ 3) การมีส่วนร่วมรับผิดชอบต่อสังคม สถาบันครอบครัวมีบทบาทสำคัญในการปลูกฝัง คุณธรรม จริยธรรม แก่สมาชิกภายในครอบครัว การอบรมสั่งสอนและปลูกฝังคุณธรรมจริยธรรมให้กับสมาชิกในครอบครัว ก็เพื่อไม่สร้างปัญหาให้กับตนเอง ครอบครัว และสังคม เป็นต้น ในส่วนของสถานการณ์ความมั่นคงทางครอบครัวพ่อ-แม่มือใหม่ พบว่า ครอบครัวพ่อแม่มือใหม่ที่หัวหน้าครอบครัวยังเป็นวัยรุ่น ยังคงประสบปัญหาและอุปสรรคในการสร้างครอบครัวให้เข้มแข็งสามารถสรุปได้ ดังนี้ ๑) ปัญหาด้านความยากจน ๒) ปัญหาด้านการใช้ความรุนแรงในครอบครัว ๓) ปัญหาด้านยาเสพติด ๔) ปัญหาด้านสัมพันธภาพภายในครอบครัวเสื่อมถอยลง ๕) ปัญหาด้านการหย่าร้าง ๖) ปัญหาด้านการมีปฏิสัมพันธ์ต่อชุมชนและสังคมมีแนวโน้มลดลง ซึ่งปัจจัยเหล่านี้ส่งผลให้ครอบครัวพ่อแม่มือใหม่ขาดความมั่นคง ผลการวิจัยตามวัตถุประสงค์ข้อที่ ๒ พบว่า กลุ่มพ่อแม่มือใหม่ได้ใช้หลักจิตวิทยาเชิงพุทธ ในการเสริมสร้างความมั่นคงทางครอบครัว โดยยึดหลักดังนี้ ผัวหาบ เมียคอน รักยาวให้บั่น รักสั้นให้ต่อ ผัวเป็นช้างเท้าหน้า เมียเป็นช้างเท้าหลัง หนักนิดเบาหน่อยให้อภัยกัน ขยันหา รักษาดี หนักเอา เบาสู้ ปลูกเรือนแต่พอตัว หวีหัวแต่พอเกล้า เข้าเมืองตาหลิ่ว ต้องหลิ่วตาตาม รักวัวให้ผูก รักลูกให้ตี ขี้เกียจเป็นแมลงวัน ขยันเป็นแมลงผึ้ง รักดีหามจั่ว รักชั่วหามเสา อย่าหมิ่นเงินน้อย นอนคอยวาสนา เรียนผูกก็ต้องเรียนแก้ อย่าไว้ใจทางอย่าวางใจคน และบูรณาการกับระบบและกลไกการเสริมสร้างความมั่นคงให้กับครอบครัว ใน ๓ ด้าน คือ ๑) ระบบและกลไกการเสริมสร้างความมั่นคงด้านชีวิตคู่ ๒) ระบบและกลไกการเสริมสร้างวิถีการดำเนินชีวิตที่ดี และ ๓) ระบบและกลไกการเสริมสร้างความมั่นคงด้านการอบรมเลี้ยงดูบุตร ผลการวิจัยตามวัตถุประสงค์ข้อที่ ๓ พบว่า การบูรณาการหลักจิตวิทยาเชิงพุทธกับการเสริมสร้างความมั่นคงของครอบครัวพ่อ-แม่มือใหม่ คือการนำหลักจิตวิทยาเชิงพุทธ มาบูรณาการประยุกใช้กับระบบและกลไกการเสริมสร้างความมั่นคงทางครอบครัวพ่อแม่มือใหม่ใน ๓ ด้าน ประกอบด้วย ๑) บูรณาการจิตวิทยาเชิงพุทธกับการเสริมสร้างความมั่นคงด้านการครองคู่ โดยยึดหลัก ดังนี้ ผัวหาบ เมียคอน รักยาวให้บั่น รักสั้นให้ต่อ ผัวเป็นช้างเท้าหน้า เมียเป็นช้างเท้าหลัง หนักนิดเบาหน่อยให้อภัยกัน ๒) บูรณาการจิตวิทยาเชิงพุทธกับการเสริมสร้างความมั่นคงด้านการใช้ชีวิตประจำวัน โดยยึดหลักดังนี้ ขยันหา รักษาดี หนักเอา เบาสู้ ปลูกเรือนแต่พอตัว หวีหัวแต่พอเกล้า เข้าเมืองตาหลิ่ว ต้องหลิ่วตาตาม และ ๓) บูรณาการจิตวิทยาเชิงพุทธกับการเสริมสร้างความมั่นคงด้านการอบรมเลี้ยงดูบุตร โดยยึดหลักดังนี้ รักวัวให้ผูก รักลูกให้ตี ขี้เกียจเป็นแมลงวัน ขยันเป็นแมลงผึ้ง รักดีหามจั่ว รักชั่วหามเสา อย่าหมิ่นเงินน้อย นอนคอยวาสนา เรียนผูกก็ต้องเรียนแก้ อย่าไว้ใจทางอย่าวางใจคน หากครอบครัวใดสามารถยึดถือปฏิบัติดังนี้ ก็จะสามารถสร้างครอบครัวที่เข้มแข็งและมั่นคงได้ในที่สุด | en_US |
dc.publisher | สถาบันวิจัยพุทธศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย | en_US |
dc.subject | จิตวิทยาเชิงพุทธ | en_US |
dc.subject | การเสริมสร้างความมั่นคงทางครอบครัว | en_US |
dc.subject | พ่อ-แม่มือใหม่ | en_US |
dc.title | จิตวิทยาเชิงพุทธกับการเสริมสร้างความมั่นคงทางครอบครัวพ่อ-แม่มือใหม่ | en_US |
dc.title.alternative | Buddhist psychology to strengthen the Stability of the Inexperienced Family | en_US |
dc.type | Thesis | en_US |
Appears in Collections: | รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์ |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
2560-336ผศ.ดร.สมคิด พุ่มทุเรียน.pdf | 2.58 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.