Please use this identifier to cite or link to this item: http://mcuir.mcu.ac.th:8080/jspui/handle/123456789/567
Title: การจัดการศึกษาตลอดชีวิตของกลุ่มชาติพันธุ์ในเขตภาคเหนือตอนล่าง
Other Titles: LIFELONG EDUCATION MANAGEMENT OF ETHNIC GROUP IN LOWER NORTH
Authors: อมรธมฺโม, พระศรีสวรรค์
สำเร็จดี, ลำยอง
เกิดศิลป์, ชูศรี
Keywords: การจัดการศึกษา
การศึกษาตลอดชีวิต
กลุ่มชาติพันธุ์
ภาคเหนือตอนล่าง
Issue Date: 2561
Publisher: สถาบันวิจัยพุทธศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
Abstract: การดำเนินวิจัยในครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์ ๑) เพื่อศึกษาการเรียนรู้ตลอดชีวิตของกลุ่มชาติ พันธุ์ในเขตภาคเหนือตอนล่าง ๒) เพื่อศึกษาการจัดการเรียนรู้ของกลุ่มชาติพันธุ์ในเขตภาคเหนือ ตอนล่าง ๓) เพื่อบูรณาการภูมิปัญญากับการศึกษาตลอดชีวิต เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยการ วิเคราะห์เอกสารด้วยการวิเคราะห์เนื้อหา (Content Analysis) และการสัมภาษณ์แบบเจาะลึก (Depth Interview) โดยการสนทนากลุ่ม (Focus Group) ผลการวิจัยพบว่า ๑) ผลการศึกษาการเรียนรู้ตลอดชีวิตของกลุ่มชาติพันธุ์ในเขตภาคเหนือตอนล่าง ประกอบด้วยการเรียนรู้ ๕ ด้าน คือ (๑) ด้านความเชื่อ (๒) ด้านพิธีกรรม (๓) ด้านประเพณี (๔) ด้านการทอผ้าและการแต่งกาย (๕) ด้านบ้านเรียนที่อยู่อาศัย การจัดการเรียนรู้ในลกษณะทั้ง ๕ ด้าน เป็นปัจจัยในการเรียนรู้ภูมิปัญญา และอนุรักษ์ดำรงความเป็นอัตลักษณ์ของกลุ่มชาติพันธุ์ได้ อย่างเหนียวแน่น ๒) การจัดการเรียนรู้ของกลุ่มชาติพันธุ์ในเขตภาคเหนือตอนล่าง มีการจัดการเรียนรู้ แบ่งออกเป็น ๔ ลักษณะ คือ (๑) จัดตั้งเป็นศูนย์การเรียนรู้วัฒนธรรม (๒) จัดตั้งเป็นชมรมของ กลุ่มชาติพันธุ์ (๓) จัดการเรียนรู้เป็นหลักสูตรท้องถิ่น (๔) การจัดกาเรียนรู้ตามภูมิปัญญาคติธรรม ความเชื่อ ๓) ผลการบูรณาการภูมปัญญากับการศึกษาตลอดชีวิต ในสถานการณ์ที่โลกกำลัง เปลี่ยนแปลงอยากรวดเร็ว แต่กลุ่มชาติพันธุ์เล็ก ๆ ก็ยังคงสืบทอดภูมิปัญญา ความเป็นมา ทั้ง วัฒนธรรมประเพณีและภาษาไว้อย่างเหนียวแน่น แม้ว่าการเรียนการสอน จะพัฒนามาไปสู่ ศตวรรษที่ ๒๑ แล้วก็ตาม ผลการศึกษาพบว่า การศึกษาตลอดชีวิตเป็นการศึกษาที่บุคคลได้รับ ตลอดชีวิตตั้งแต่เกิด จากการลงพื้นที่สำรวจ และเก็บข้อมูลทำให้ได้พบว่า กลุ่มชาติพันธ์มีกิจกรรม เกี่ยวกับวัฒนธรรมประเพณี ซึ่งเป็นสิ่งปลูกฝังให้ได้เรียนรู้แบบบูรณาการ ตามทฤษฎีหลักการ จัดการเรียนรู้แบบบูรณาการ คือ (๑) ต้องมีจุดมุ่งหมายที่แน่นอนว่า ต้องการให้ผู้เรียน เปลี่ยนแปลงพฤติกรรมอย่างไร (๒) ในการสอนแต่ละครั้ง ต้องพยายามสอดแทรกคุณสมบัติที่ ต้องการเน้นในตัวผู้เรียน (๓) บูรณาการความรู้ให้สอดคล้องกับความเป็นจริงในชีวิตประจำวัน (๔) จัดโอกาสให้ผู้เรียนได้รู้จักสังเกต วิเคราะห์ วิจารณ์ และอภิปรายถกเถียงด้วยเหตุและผล (๕) เร้าความสนใจแก่ผู้เรียน
URI: http://mcuir.mcu.ac.th:8080/jspui/handle/123456789/567
Appears in Collections:รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
2561-169พระศรีสวรรค์ อมรธมฺโม.pdf4.47 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.