Please use this identifier to cite or link to this item:
http://mcuir.mcu.ac.th:8080/jspui/handle/123456789/565
Title: | การสร้างเครือข่ายหมู่บ้านพุทธเกษตรในการจัดการป่าและพัฒนาสัมมาชีพ ในพื้นที่จังหวัดน่าน |
Other Titles: | The Creating Network of Buddhist Agricultural Villages in Forest Management and Development of Honest Livelihood In Nan |
Authors: | ยศนรินทร์, ประทีป สุทธิแสน, มุกดา |
Keywords: | เครือข่าย การประกอบสัมมาชีพ หมู่บ้านพุทธเกษตรในจังหวัดน่าน |
Issue Date: | 2561 |
Publisher: | สถาบันวิจัยพุทธศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย |
Abstract: | งานวิจัยเรื่อง “การสร้างเครือข่ายหมู่บ้านพุทธเกษตรในการจัดการป่าและพัฒนาสัมมาชีพ ในพื้นที่จังหวัดน่าน”มีวัตถุประสงค์ ๓ ประการ คือ ๑) เพื่อสร้างเครือข่ายหมู่บ้านพุทธเกษตรในการ จัดการป่า และพัฒนาสัมมาชีพในพื้นที่จังหวัดน่าน ๒) เพื่อพัฒนาศักยภาพเครือข่ายหมู่บ้านพุทธ เกษตรในการจัดการป่า และพัฒนาสัมมาชีพในพื้นที่จังหวัดน่าน ๓) เพื่อเสนอยุทธศาสตร์หมู่บ้านพุทธ เกษตรในการจัดการป่า และพัฒนาสัมมาชีพในพื้นที่จังหวัดน่าน โดยใช้วิธีการวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) เป็นการศึกษาจากการสืบค้นข้อมูล การสัมภาษณ์เชิงลึกและการสนทนา กลุ่ม ผู้ให้ข้อมูล คือ กลุ่มเกษตรกรในจังหวัดน่าน ๔ หมู่บ้าน จานวน ๓๙ คน ผลการวิจัยพบว่า การสร้างเครือข่ายหมู่บ้านพุทธเกษตรเป็นทางออกของเกษตรกรจังหวัด น่านเพื่อให้อยู่กับป่าอย่างยั่งยืน โดยเริ่มจากการจัดการป่าน่านโดยใช้มาตรการทางกฎหมาย มาตรการชุมชน การสร้างจิตสานึกและความเชื่อในชุมชน ภายใต้การหนุนเสริมจากภาครัฐและเอกชน มีวิธีการสร้างเครือข่าย ได้แก่ การสร้างแรงจูงใจ กาหนดบทบาทของสมาชิกและภาคีเครือข่าย การรับ ผลประโยชน์ร่วมกันอย่างเป็นธรรม รูปแบบของเครือข่าย เป็นแบบทางการ และไม่เป็นทางการ ใช้ กระบวนการพัฒนาศักยภาพเครือข่ายหมู่บ้านพุทธเกษตร โดยการวิเคราะห์ชุมชนค้นหาเป้าหมาย ร่วมกัน เพื่อกาหนดยุทธศาสตร์หมู่บ้านพุทธเกษตรจานวน 4 ข้อได้แก่ ยุทธศาสตร์ที่ ๑ ส่งเสริมการ วิจัย การสร้างนวัตกรรม และเผยแพร่องค์ความรู้การจัดการป่าและพัฒนาสัมมาชีพ ยุทธศาสตร์ที่ ๒ พัฒนาสินค้า บริการกลุ่มเกษตรอินทรีย์และสัมมาชีพ ยุทธศาสตร์ที่ ๓ พัฒนาตลาดสินค้าและบริการ รับรองมาตรฐานเกษตรอินทรีย์และผลผลิตจากการประกอบสัมมาชีพ ยุทธศาสตร์ที่ ๔ ขับเคลื่อน และพัฒนาสัมมาชีพ จนเกิดองค์ความรู้ที่ได้รับจากการวิจัย ได้แก่ หลักธรรม ความเชื่อความศรัทธา แนวพุทธ การจัดการสิ่งแวดล้อมโดยใช้แนวคิดการปล่อยป่า การปลูกป่าด้วยการคืนป่าและการปรับตัว ของมนุษย์ต่อการดารงชีวิตภายใต้บริบทชุมชน สามารถนามาใช้ในการพัฒนาเครือข่ายได้อย่างมี ประสิทธิภาพ สอดคล้องกัน และมีความยั่งยืน |
URI: | http://mcuir.mcu.ac.th:8080/jspui/handle/123456789/565 |
Appears in Collections: | รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์ |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
2561-128 นายประทีป ยศนรินทร์.pdf | 4.26 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.