Please use this identifier to cite or link to this item: http://mcuir.mcu.ac.th:8080/jspui/handle/123456789/564
Title: การเสริมสร้างแหล่งเรียนรู้และการจัดการแหล่งโบราณคดีหริภุญชัย จังหวัดลำพูน
Other Titles: Learning Resources Promotion and Management of Archaeological Sites of Hariphunchai in Lamphun Province
Authors: ยาวิชัย, บุญเพลิน
Keywords: การเสริมสร้างแหล่งเรียนรู้
การจัดการแหล่งโบราณคดีหริภุญชัยจังหวัดลำพูน
Issue Date: 2561
Publisher: สถาบันวิจัยพุทธศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
Abstract: การศึกษาวิจัยเรื่อง การเสริมสร้างแหล่งเรียนรู้และการจัดการแหล่งโบราณคดีหริภุญชัย จังหวัดลำพูน มีวัตถุประสงค์ในการวิจัย คือ ๑) เพื่อศึกษาและการจัดการแหล่งโบราณคดีหริภุญชัย จังหวัดลำพูน ๒) เพื่อเสริมสร้างแหล่งเรียนรู้และการจัดการแหล่งเรียนรู้โบราณคดีหริภุญชัย จังหวัดลำพูน ๓) เพื่อวิเคราะห์และจัดการแหล่งเรียนรู้โบราณคดีหริภุญชัยจังหวัดลำพูน กับการส่งเสริมการเรียนรู้ในชุมชน การศึกษาวิจัยนี้ ผู้วิจัยได้ใช้การวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) โดยการเก็บรวบรวมข้อมูลด้วยวิธีการสัมภาษณ์เชิงลึก (In-Depth Interview) เพื่อแสดงให้เห็นถึงการเสริมสร้างและการจัดการแหล่งเรียนรู้โบราณหริภุญชัยจังหวัดลำพูน กับการส่งเสริมการเรียนรู้ในชุมชน ผู้ให้ข้อมูลสำคัญในการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ เจ้าอาวาส ผู้บริหารวัด บุคลากรหน่วยงานภาครัฐ จำนวน ๑๓ รูป/คน การวิเคราะห์ข้อมูลจัดทำโดยการรวบรวมข้อมูลจากการสัมภาษณ์เชิงลึกมาจัดกลุ่มข้อมูล (Data Grouping) แล้วทำการวิเคราะห์ข้อมูลโดยวิธีการวิเคราะห์เชิงเนื้อหา (Content Analysis Technique) พร้อมทั้งนำเสนอโดยวิธีการพรรณนาอ้างอิงคำพูดบุคคล ผลการวิจัยพบว่า ๑) การศึกษาและการสร้างองค์องค์ความรู้ของแหล่งโบราณคดีหริภุญชัย เป็นแหล่งสร้างองค์ความรู้ทางประวัติศาสตร์และโบราณคดีที่มีความสำคัญและเป็นประโยชน์ต่อประชาชนและนักท่องเที่ยว โดยมีการวิเคราะห์และการวางแผนพัฒนาชุมชน ดำเนินการให้ชุมชนแบบมีส่วนร่วม ยอมรับความแตกต่างหลากหลายทางวัฒนธรรม เทคนิควิธีการในการจัดการจะต้องปรับและประยุกต์ให้เหมาะสมกับบริบทของท้องถิ่น การทำงานต้องสอดคล้องกับแบบแผนการดำเนินวิถีชีวิตของคนในชุมชน การจัดกระบวนการเรียนรู้แบบเปิด ทำงานร่วมกันในลักษณะเป็นการเรียนรู้ร่วมกัน เพื่ออนุรักษ์ ปกป้อง คุ้มครอง ฟื้นฟูและสร้างคุณค่าใหม่ให้กับทรัพยากรทางโบราณคดีที่มีอยู่ มีการจัดกิจกรรมการท่องเที่ยวแหล่งโบราณคดี พร้อมกับการสร้างเครือข่ายเชื่อมโยง เป็นสื่อที่สามารถส่งข้อมูลข่าวสารไปยังกลุ่มเป้าหมายได้อย่างรวดเร็ว ๒) การเสริมสร้างและเรียนรู้ โดยการประชาสัมพันธ์ การพัฒนาระบบฐานข้อมูลเพื่อการศึกษาเป็นแหล่งเรียนรู้ด้านโบราณคดี โบราณวัตถุ โดยการขับเคลื่อนของชุมชนและองค์กรที่เกี่ยวข้อง เพื่อการอนุรักษ์ศิลปวัฒนธรรม การปรับสภาพภูมิทัศน์ที่คำนึงกลุ่มเป้าหมาย มีการจัดการแหล่งเรียนรู้ทางวัฒนธรรม ที่เป็นศูนย์รวมความรู้ และกิจกรรมที่เกี่ยวกับวิถีชีวิต ที่มีคุณค่าเป็นความรู้ทางวัฒนธรรมที่มีการปรับเปลี่ยน เพิ่มเติมอยู่เสมอ โดยคนในชุมชนมุ่งเน้นที่จะถ่ายทอดความรู้ความเข้าใจให้กับคนทั้งในและนอกท้องถิ่นของตนเอง และให้สังคมบุคคลภายนอกได้เข้าถึงประเพณีวัฒนธรรม การฟื้นฟูประเพณีเป็นการสร้างคุณค่า กำหนดบทบาทและหน้าที่ใหม่ให้กับทรัพยากรทางโบราณคดี ๓) การจัดการแหล่งเรียนรู้ เป็นกระบวนการเรียนรู้และการปลูกจิตสำนึกด้วยประเพณีที่แสดงถึงวิถีชีวิตในการประกอบพิธีกรรมด้วยความเชื่อและแรงศรัทธา ในการสืบทอดประเพณีวัฒนธรรมอันดีงามนี้ไว้ โดยการสร้างสรรค์และประดิษฐ์นวัตกรรมในการจัดการ การสร้างเครือข่ายเชื่อมโยงเพื่อพัฒนาและขับเคลื่อนให้แหล่งโบราณคดีหริภุญชัย ที่มีการวางแผนและการจัดการอย่างเป็นระบบ ทั้งสิ่งอำนวยความสะดวกและระบบสาธารณูปโภค มีระเบียบการเข้าเยี่ยมสักการะเพื่อเป็นการแสดงออกถึงความเคารพต่อสถานที่ เป็นหลักปฏิบัติร่วมกันในการเข้ามาสักการะในสถานที่ศักดิ์สิทธิ์
URI: http://mcuir.mcu.ac.th:8080/jspui/handle/123456789/564
Appears in Collections:รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
2561-225 นายบุญเพลิน ยาวิชัย.pdf3.41 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.