Please use this identifier to cite or link to this item: http://mcuir.mcu.ac.th:8080/jspui/handle/123456789/562
Title: เส้นและสี : คุณค่า อารมณ์ ความรู้สึกในงานจิตรกรรมล้านนา องค์ความรู้ เพื่อเสริมสร้างการเรียนรู้สู่สังคม
Other Titles: Lines and color: Contemporary Art through Studying the Value and Emotion in Lanna Folk Painting for the sake of Society’s Education
Authors: เสมบุตร, วาทิตย์
Keywords: เส้นและสี
คุณค่า
อารมณ์
ความรู้สึก
จิตรกรรมล้านนา
การเรียนรู้สู่สังคม
Issue Date: 2560
Publisher: สถาบันวิจัยพุทธศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
Abstract: การศึกษาวิจัยเส้นและสี คุณค่าอารมณ์ความรู้สึกในงานจิตรกรรมล้านนาโบราณ เป็นการศึกษาวิจัยเชิงสร้างสรรค์ มีวัตถุประสงค์เพื่อสืบค้นเทคนิคกระบวนการ ภูมิปัญญา และการแสดงอารมณ์ความรู้สึกในการสร้างสรรค์ผลงานของช่างพุทธศิลปกรรมล้านนาโบราณ และเพื่อจะนาผลการวิจัยนี้สู่การสร้างสรรค์ผลงานในรูปแบบจิตรกรรมร่วมสมัยนี้ เพื่อจะนาองค์ความรู้มาต่อยอดสร้างสรรค์สผุ่คนรุ่นใหม่ ผลการศึกษาวิจัยพบว่า ช่างเขียนภาพจิตรกรรมล้านนาโบราณมีการแสดงออกของเส้นที่ตรงไปตรงมาอย่างเรียบง่าย สร้างภาพเป็นเส้นง่ายๆ ๒ มิติ แต่ทับซ้อนกันไปมาเพื่อสร้างมิติความลึกตื้นของภาพทาให้เกิดระยะทางสายตาแบบง่ายๆ ส่วนสาหรับสีที่ใช้นั้นส่วนใหญ่เป็นสีสดใสจากสีฝุ่นธรรมชาติ การแสดงออกอารมณ์ของสีซื่อตรงไม่ซับซ้อนแบบแบนเรียบเกิดรูปร่างรูปทรงจากขอบเขตของสีที่แตกต่างกัน ในส่วนเรื่องราวที่เขียนจะเป็นความเชื่อหรือเรื่องเล่านิทานต่าง ๆ ตามจินตนาการของภูมิภาคทางเหนือและพุทธประวัติต่าง ๆ จากองค์ความรู้ที่ได้จากการวิจัยเส้นสีเทคนิคต่าง ๆ ของช่างพุทธศิลปกรรมล้านนาโบราณในครั้งนี้ ได้เกิดการนาเอาองค์ความรู้ที่ได้หยิบยืมนามาสร้างสรรค์ดัดแปลงประยุกต์ตามถนัดเกิดเป็นผลงานจิตรกรรมร่วมสมัยขึ้นมา แต่ยังคงกลิ่นอายเส้นและสีของภาพโบราณ ถือเป็นการช่วยอนุรักษ์ สืบสานรากเง้าองค์ความรู้ต่อยอดจากผลงานพุทธศิลปกรรมล้านนาโบราณ อีกทั้งเป็นการได้คงคุณค่า และเผยแพร่อัตลักษณ์ที่เฉพาะตัวของช่างพุทธศิลปกรรมล้านนาโบราณได้เป็นอย่างดียิ่ง
URI: http://mcuir.mcu.ac.th:8080/jspui/handle/123456789/562
Appears in Collections:รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
2560-055 วาทิตย์ เสมบุตร.pdf5.91 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.