Please use this identifier to cite or link to this item:
http://mcuir.mcu.ac.th:8080/jspui/handle/123456789/555
Title: | การจัดการเรียนรู้พระพุทธศาสนาสาหรับผู้สูงอายุในภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน |
Other Titles: | Management on Learning Buddhism of the Elderly in The North-Eastern |
Authors: | พรมกุล, สุรพล ทองดี, วิทยา |
Keywords: | หลักบริหารจัดการ, การจัดการเรียนรู้, ไตรสิกขา ผู้สูงอายุ |
Issue Date: | 2560 |
Publisher: | สถาบันวิจัยพุทธศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย |
Abstract: | การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์คือ ๑) เพี่อศึกษานโยบายการบริหารจัดการด้านผู้สูงอายุใน ภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน ๒) เพื่อศึกษาหลักบริหารจัดการสาหรับผู้สูงอายุและหลัก พระพุทธศาสนาเพื่อผู้สูงอายุ ๓) เพื่อศึกษากระบวนการจัดการเรียนรู้พระพุทธศาสนาสาหรับผู้สูงอายุ ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน ประชากรที่ใช้ในการวิจัยคือ พระสงฆ์ ผู้สูงอายุ เจ้าหน้าที่ภาครัฐ ผู้นาชุมชน ปราชญ์ชาวบ้าน ในขอนแก่น จานวน ๓๔ รูป/คน เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสัมภาษณ์ แบบ สนทนากลุ่มเฉพาะ และแบบสังเกต การวิเคราะห์ข้อมูลใช้การวิเคราะห์เนื้อหาประกอบบริบท ผลการวิจัยพบว่า ๑) นโยบายรัฐให้ความสาคัญกับเรื่องคุณภาพชีวิต สวัสดิการ สุขภาพของผู้สูงอายุ และ การเตรียมตัวคนที่จะเข้าสู่การวัยผู้สูงอายุเป็นหลัก สาหรับแผนผู้สูงอายุแห่งชาตินั้นมีการดาเนินการ มากว่า ๑๕ ปี ปัจจุบันอยู่ในช่วงระยะเวลาของแผนผู้สูงอายุแห่งชาติ ฉบับที่ ๒ (พ.ศ.๒๕๔๕ - ๒๕๖๔) แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติและยุทธศาสตร์ชาติ ระยะ ๒๐ ปี (พ.ศ.๒๕๖๐ - ๒๕๗๙) เป็น แผนที่จะกาหนดทิศทางการดาเนินงานด้านผู้สูงอายุที่สาคัญของประเทศ กาหนดนโยบายรัฐบาลด้าน ผู้สูงอายุ และประโยชน์ต่อการจัดสรรงบประมาณดาเนินการ ๒) หลักบริหารจัดการสาหรับผู้สูงอายุ พบว่า ๒.๑ การวางแผน มีการวางแผนการทางาน เกี่ยวกับผู้สูงอายุโดยมีการจัดประชุมทุกเดือน มีการวางแผนการทางานในเรื่องสถานที่ อาหาร การ รับส่งผู้สูงอายุ การจัดกิจกรรมต่าง ๆ และมีการดาเนินงานร่วมกันระหว่างหน่วยงาน ๒.๒ การจัด องค์การ มีการกาหนดหน่วยงาน การแบ่งส่วนงาน และการกาหนดหน้าที่อย่างชัดเจน ๒.๓ การจัด บุคลากร มีบุคลากรจากแต่ละหน่วยงานได้ดาเนินกิจกรรมตามที่ได้ประชุมวางแผนกันไว้อย่างดี จานวน ๗ หน่วยงาน ๒.๔ การอานวยการ ทุกหน่วยงานจะมีผู้บังคับบัญชาควบคุมการปฏิบัติงาน สั่งการ มีผู้นาคอยสั่งการการดาเนินงานผู้สูงอายุให้เกิดการประสานงานไปยังหน่วยงานอื่น ๆ เพื่อให้ เกิดผลสาเร็จ ๒.๕ การประสานงาน มีการประสานงานร่วมมือกันระหว่างหน่วยงานรัฐ และชุมชน ซึ่งมีส่วนร่วมในการทางานร่วมกันอย่างต่อเนื่อง ๒.๖ การรายงาน มีการรายงานผลการปฏิบัติงานให้ ผู้บริหารและสมาชิกของหน่วยงานได้ทราบความเคลื่อนไหวและความคืบหน้าของภารกิจอย่าง สม่าเสมอ มีทั้งรายงานด้วยวาจา และมีการรายงานเป็นลายลักษณ์อักษร ๒.๗ การงบประมาณ งบประมาณหลักในการดาเนินงานเกี่ยวกับผู้สูงอายุถ้าเป็นหน่วยงานของรัฐคือ จะได้รับการจัดสรร งบประมาณจากรัฐบาล ถ้าเป็นหน่วยงานอื่นได้จากการบริจาค หลักพระพุทธศาสนาสาหรับ ผู้สูงอายุ พบว่า ๑) กายภาวนา ได้แก่ การพัฒนาร่างกายให้แข็งแรง ไร้โรค มีสุขภาพดี และที่สาคัญก็ คือการพัฒนาความสัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อมทางกายภาพ ๒) ศีลภาวนา การพัฒนาเจริญศีลด้านความ ประพฤติให้ดีขึ้น มีระเบียบวินัย ไม่เบียดเบียนผู้อื่น ๓) จิตภาวนา คือ พัฒนาจิตใจให้มีคุณสมบัติดีงาม ๓.๔) ปัญญาภาวนา คือการพัฒนาฝึกอบรมปัญญา ให้มีความรู้ความเข้าใจในสิ่งทั้งหลายเป็นไปตาม ความเป็นจริง การรับรู้ในหลักธรรมชาติของสรรพสิ่งที่เกิดขึ้น ๓) กระบวนการเรียนรู้พระพุทธศาสนาสาหรับผู้สูงอายุ พบว่า กระบวนการรับรู้และการ เรียนรู้ เกิดจากกระบวนการเรียนรู้ตามหลักไตรสิกขา คือ ศีล เป็นกระบวนเรียนรู้ที่ฝึกหัดผู้สูงอายุใน ด้านพฤติกรรมทางสังคม ความสัมพันธ์ระหว่างผู้สูงอายุกับคนอื่น ๆ เป็นความประพฤติที่สร้างความ เป็นปกติของร่างกายไปสู่สังคม สมาธิ เป็นกระบวนการฝึกอบรมจิตให้ผ่องใส เป็นการฝึกจิตสานึกที่ดี เหมาะสมกับการทางานคือทางานด้วยความเพียรชอบ พยายามชอบ สามารถทางานกับคนในสังคม ได้อย่างดี ปัญญา เป็นกระบวนการเรียนรู้ที่ผ่านการฝึกอบรมปัญญา เพื่อทาให้เกิดความรู้ที่ถูกต้อง ซึ่งจะทาให้เกิดทัศนะ ความเชื่อ ค่านิยมที่ถูกต้อง |
URI: | http://mcuir.mcu.ac.th:8080/jspui/handle/123456789/555 |
Appears in Collections: | รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์ |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
2560-091 สุรพล พรมกุล.pdf | 4.15 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.