Please use this identifier to cite or link to this item: http://mcuir.mcu.ac.th:8080/jspui/handle/123456789/552
Title: บทบาทของผู้นาไม่เป็นทางการที่มีต่อการพัฒนาการเมืองการปกครอง จังหวัดขอนแก่น
Other Titles: The Role of Unofficial Leader for Political and Administrative Development of Khon Kaen Province
Authors: ฮวดศรี, ชาญชัย
ทองปั้น, สุวิน
Keywords: บทบาท
ผู้นาไม่เป็นทางการ ก
การเมืองการปกครอง
จังหวัดขอนแก่น
Issue Date: 2560
Publisher: สถาบันวิจัยพุทธศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ คือ ๑) เพื่อศึกษาบทบาทของผู้นาไม่เป็นทางการที่มีต่อการ พัฒนาการเมืองการปกครองจังหวัดขอนแก่น ๒) เพื่อศึกษารูปแบบและปัจจัยของผู้นาไม่เป็นทางการที่ มีต่อการพัฒนาการเมืองการปกครองจังหวัดขอนแก่น ๓) เพื่อศึกษาบทบาทที่พึงประสงค์ของผู้นาไม่ เป็นทางการที่มีต่อการพัฒนาการเมืองการปกครองจังหวัดขอนแก่น เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ สัมภาษณ์กลุ่มเป้าหมายที่เป็นทางการจานวน ๑๕ คน และกลุ่มเป้าหมายที่ไม่เป็นทางการจานวน ๑๕ คน รวมทั้งสิ้นจานวน ๓๐ คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ แบบสัมภาษณ์เชิงลึก วิเคราะห์ข้อมูล ด้วยการพรรณนาตามหลักอุปนัยวิธี ผลการวิจัยพบว่า บทบาทของผู้นาที่ไม่เป็นทางการต่อการพัฒนาการเมืองการปกครอง จังหวัดขอนแก่น คือ ผู้นาที่ไม่เป็นทางการจะมีบทบาทในการแนะนาประชาชนให้รู้ระบบก ารปกครองในระบบ ประชาธิปไตยโดยมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข และให้รู้ว่าตนเองว่าเป็นคนหนึ่งที่มีสิทธิในการใช้ เลือกผู้แทนของตนเข้าไปบริหารประเทศ รูปแบบและปัจจัยของผู้นาที่ไม่เป็นทางการที่มีต่อการพัฒนาการเมืองการปกครองจังหวัด ขอนแก่น เป็นรูปแบบในการให้ความรู้ทางการเมืองการปกครองของผู้นาไม่เป็นทางการก็จะให้ความรู้ ในรูปแบบการสนทนนาตัวต่อตัว สนทนาเป็นกลุ่มย่อย หรือแม้กระทั้งเป็นกลุ่มใหญ่แล้วแต่โอกาสที่ เหมาะสม ส่วนปัจจัยที่ผู้นาไม่เป็นทางการมาจากปัจจัย ๒ ประการคือ ปัจจัยส่วนบุคคล ได้แก่ แรงผลักดันจากตัวผู้นาเองซึ่งเป็นการชอบระบบการเมืองการปกครอง นักการเมือง พรรคการเมืองที่ ตนเองชื่นชอบ ดังนั้นในการให้ความรู้ทางการเมืองก็จะชักจูงให้ผู้อื่นเห็นตามระบบการเมืองการ ปกครองที่ตนเองชื่นชอบ ปัจจัยอีกประการหนึ่งได้แก่ปัจจัยส่วนสาธารณา เป็นแรงผลักดันจากสา ธารณเป็นผู้นาที่มองเห็นประโยชน์ส่วนรวม โดยการมองเห็นความอยู่ดีกินดี ความสงบสุขของสังคม เป็นหลัก บทบาทที่พึงประสงค์ของผู้นาไม่เป็นทางการที่มีต่อการพัฒนาการเมืองการปกครองจังหวัด ขอนแก่น คือเป็นผู้ที่มีภาวะผู้นา มีความรู้ความสามารถทางการเมืองการปกครอง มีคุณธรรม และเป็น ที่ยอมรับนับถือจากสังคม สามารถชักจูงโน้มน้าวให้ประชาชนไปใช้สิทธิในการเลือกตั้ง เข้าร่วม กิจกรรมทางการเมือง เช่น การรณรงค์หาเสีย การไปใช้สิทธิเลือกตั้งและการกาหนดนโยบายทางการ เมือง
URI: http://mcuir.mcu.ac.th:8080/jspui/handle/123456789/552
Appears in Collections:รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
2560-086 ชาญชัย ฮวดศรี.pdf3.83 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.