Please use this identifier to cite or link to this item: http://mcuir.mcu.ac.th:8080/jspui/handle/123456789/551
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.authorแก้วอัคฮาด, ภูพาน,-
dc.contributor.authorสุนันตา, ปัญญา-
dc.contributor.authorรัตนวงศ์, นพรัตน์-
dc.date.accessioned2022-03-22T07:43:19Z-
dc.date.available2022-03-22T07:43:19Z-
dc.date.issued2560-
dc.identifier.urihttp://mcuir.mcu.ac.th:8080/jspui/handle/123456789/551-
dc.description.abstractการวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาบริบท สภาพปัจจุบันและปัญหาการดาเนินงานวิสาหกิจผ้าทอเมืองแพร่ ศึกษาองค์ความรู้และการจัดการเชิงเครือข่ายวิสาหกิจผ้าทอเมืองแพร่อย่างมีส่วนร่วมเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน วิเคราะห์ระบบความสัมพันธ์และผลสาเร็จของการจัดการเชิงเครือข่ายที่มีต่อวิสาหกิจผ้าทอเมืองแพร่เพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน และเสนอองค์ความรู้ และระบบการจัดการเชิงเครือข่ายที่มีผลต่อการพัฒนาที่ยั่งยืนของวิสาหกิจผ้าทอเมืองแพร่ ศึกษากลุ่มที่มีการจดทะเบียนเป็นวิสาหกิจชุมชน ได้แก่ กลุ่มวิสาหกิจชุมชนฝ้ายแกรมไหม กลุ่มผ้าทอยกลาย กลุ่มผ้าทอแม่ประนอมและกลุ่มวิสาหกิจผ้าทอไตลื้อบ้านถิ่น โดยวิธีการศึกษาเอกสาร การสัมภาษณ์ การสอบถาม การสนทนากลุ่ม และการสังเคราะห์ข้อมูล ผลการวิจัย พบว่า จังหวัดแพร่มีนโยบายส่งเสริมและพัฒนาวิสาหกิจชุมชนซึ่งก่อให้เกิดรายได้ ส่งเสริมและอนุรักษ์การใช้ทรัพยากรที่มีอยู่ในท้องถิ่นให้เกิดประโยชน์สูงสุด มีหน่วยงานภาคีระดับอาเภอ และจังหวัด ให้การส่งเสริมและสนับสนุน ปัญหาอุปสรรคที่พบ ได้แก่ การดาเนินกิจกรรมไม่ต่อเนื่องของวิสาหกิจ การบันทึกข้อมูลในระบบสารสนเทศวิสาหกิจชุมชนล่าช้า จากการเข้าศึกษากลุ่มเป้าหมาย พบว่า การร่วมกลุ่มของวิสาหกิจเกิดจากการดาเนินงานของสมาชิกของครอบครัวเป็นอันดับแรกและมีการขยายกลุ่มกันในชุมชนซึ่งกลุ่มผ้าทอก็จะเป็นการรวมตัวกันจองผู้ที่มีฝีมือในการทอผ้า และรวมตัวกันเพื่อให้เกิดเป็นผลิตภัณฑ์ผ้าทอ ซึ่งเป็นกระบวนการนาภูมิปัญญาท้องถิ่นที่ได้รับการถ่ายทอดให้กับคนในครอบครัว นาไปสู่การถ่ายทอดให้แก่คนในชุมชน และเป็นการตัดสินใจในการร่วมวางแผน ร่วมคิด ร่วมทา ร่วมตัดสินใจและร่วมกันแก้ไขปัญหา เพื่อให้เกิดผลประโยชน์ร่วมกันในชุมชน และเป็นการพัฒนาผลิตภัณฑ์ การตลาดของชุมชนให้เกิดความยั่งยืน การดาเนินการดังกล่าวทาให้ทราบถึงศักยภาพ ความสามารถในการบริหารจัดการของกลุ่มได้เป็นอย่างดียิ่ง ว่ามีการดาเนินที่มีความสัมพันธ์ระหว่างคนในกลุ่ม และองค์กรภายนอก ซึ่งส่งผลให้กลุ่มประสบผลสาเร็จของการจัดการเชิงเครือข่ายที่มีต่อวิสาหกิจผ้าทอเมืองแพร่เพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน มีการรับรู้มุมมองร่วมกัน มีวิสัยทัศน์ร่วมกัน เกิดผลประโยชน์และความสนใจร่วมกัน การมีส่วนร่วมของสมาชิกเครือข่ายอย่างกว้างขวาง การเสริมสร้างซึ่งกันและกัน การพึ่งพิงอิงร่วมกัน และการปฏิสัมพันธ์เชิงแลกเปลี่ยน ความสัมพันธ์และผลสาเร็จของการจัดการเชิงเครือที่มีต่อวิสาหกิจชุมชนเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืนของวิสาหกิจชุมชนเป็นการแสดงบทบาทระหว่างคนในกลุ่ม และองค์กรภายนอก ในการบริหารจัดการกลุ่ม โดยคานึงถึงการบริหารจัดการองค์กร การบริหารธุรกิจของกลุ่ม การมีส่วนร่วมกับองค์กรภาครัฐ การมีส่วนร่วมของสมาชิก สาหรับองค์ความรู้และระบบการจัดการเชิงเครือข่ายที่มีผลต่อการพัฒนาที่ยั่งยืนของวิสาหกิจ มีดังนี้ ๑) ด้านการส่งเสริมจากภาครัฐสาหรับกลุ่มผู้เริ่มต้นประกอบการ (Startup) ๒) ด้านการมีส่วนร่วมของสมาชิกกลุ่ม (Participation) ๓) ด้านการเอื้ออารีและการเคารพ ซึ่งกันและกัน (Aryan and respect) ๔) ด้านการผลิตสินค้าบนพื้นฐานธรรมชาติ ภูมิปัญญาและ วัฒนธรรมท้องถิ่น (Products based on Natural, local wisdom and traditional) ๕) ด้าน คุณภาพชีวิตและความเป็นอยู่ของสมาชิก (well-being and life Qualities) ๖) ด้านการสร้างผู้นารุ่น ใหม่อย่างต่อเนื่อง (Leadership) และ ๗) ด้านการจัดทาแผนธุรกิจ (Marketing Plan)en_US
dc.publisherสถาบันวิจัยพุทธศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัยen_US
dc.subjectวิสาหกิจผ้าทอen_US
dc.subjectการจัดการเชิงเครือข่ายen_US
dc.subjectการพัฒนาที่ยั่งยืนen_US
dc.subjectเมืองแพร่en_US
dc.titleวิสาหกิจผ้าทอเมืองแพร่: องค์ความรู้ และการจัดการเชิงเครือข่าย เพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืนen_US
dc.title.alternativeMuang Phrae's Woven Enterprises: Knowledge and Net work’s Management for Sustainable Developmenten_US
dc.typeThesisen_US
Appears in Collections:รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
2560-023 สมจิต ขอนวงค์.pdf6 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.