Please use this identifier to cite or link to this item: http://mcuir.mcu.ac.th:8080/jspui/handle/123456789/547
Title: กระบวนการฝึกอบรมคุณลักษณะภาวะผู้นำตามแนวพุทธของเยาวชน
Other Titles: Training process for Buddhist leadership traits of youth
Authors: พรหมสุด, วิโรจน์
Keywords: กระบวนการ
ฝึกอบรม
ภาวะผู้นำ
ตามแนวพุทธ
Issue Date: 2559
Publisher: สถาบันวิจัยพุทธศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์ (๑) เพื่อศึกษาองค์ประกอบคุณลักษณะภาวะผู้นำตามแนว พุทธของเยาวชน (๒) เพื่อศึกษากระบวนการฝึกอบรมคุณลักษณะภาวะผู้นำตามแนวพุทธของเยาวชน (๓) เพื่อศึกษาประเมินกระบวนการฝึกอบรมคุณลักษณะภาวะผู้นำตามแนวพุทธของเยาวชน และ (๔) เพื่อปรับปรุงกระบวนการฝึกอบรมคุณลักษณะภาวะผู้นำตามแนวพุทธของเยาวชน เป็นการวิจัยและ พัฒนา (Research and Development) แบบแผนการวิจัยเป็นการวิจัยกึ่งทดลอง (Quasi – Experimental Designs) ผลการวิจัยพบว่า ๑) องค์ประกอบของคุณลักษณะภาวะผู้นำตามแนวพุทธของเยาวชน ประกอบด้วย ๓ องค์ประกอบหลัก ๑๐ องค์ประกอบย่อย ได้แก่ ๑. ความสามารถในการครองตน ประกอบด้วย (๑.๑) มีวิสัยทัศน์ มีความรู้ความสามารถ (๑.๒) มีคุณธรรมจริยธรรม (๑.๓) มีบุคลิกภาพที่ดี และ (๑.๔)มีวินัย ในตนเอง มีความรับผิดชอบ ๒. ความสามารถในการครองงาน ประกอบด้วย (๒.๑) มีทักษะการคิด (๒.๒) มีทักษะการทำงานเป็นทีม และ (๒.๓) มีความสามารถในการบริหารจัดการ และ ๓. ความสามารถในการครองคน ประกอบด้วย (๓.๑) มีมนุษยสัมพันธ์ (๓.๒) มีทักษะการสื่อสารที่ดี (๓.๓) มีจิตอาสา ๒) กระบวนการฝึกอบรมคุณลักษณะภาวะผู้นำ ตามแนวพุทธของเยาวชน ซึ่ง ประกอบด้วย การทดสอบก่อนฝึกอบรม การเตรียมความพร้อม เข้าสู่เนื้อหาของโมดูลที่ ๑ ความสามารถในการครองตน ด้วยกิจกรรมการฝึกอบรม ได้แก่ กิจกรรมนันทนาการกระตุ้นการเรียนรู้ วิทยากรบรรยาย ทำกิจกรรมที่ ๑ “ผู้นำสี่ทิศ” (Who are you) ทำกิจกรรมที่ ๒ “สร้างวินัยในการ อยู่ร่วมกัน” ทำกิจกรรม “รู้เขา รู้เรา” (You and I) ร่วมอภิปรายแสดงความคิดเห็น สรุปคุณค่า และ ประเมินทักษะความสามารถในการครองตน โมดูลที่ ๒ ความสามารถในการครองคน ด้วยกิจกรรม ฝึกอบรม ได้แก่ กิจกรรมนันทนาการกระตุ้นการเรียนรู้ วิทยากรบรรยาย ทำกิจกรรมที่ ๓ “รู้เขา รู้เรา” (You and I) ทำกิจกรรมที่ ๔ “สร้างสัมพันธภาพและการสื่อสารกับเกมพับกระดาษ” ร่วมอภิปราย แสดงความคิดเห็น สรุปคุณค่า และประเมินทักษะความสามารถในการครองคน โมดูลที่ ๓ ด้วย กิจกรรมฝึกอบรม ได้แก่ กิจกรรมนันทนาการกระตุ้นการเรียนรู้ วิทยากรบรรยาย ทำกิจกรรมที่ ๕ “หอคอยในฝัน” ทำกิจกรรมที่ ๔ “เครือข่ายใยแมงมุม” ทำกิจกรรมที่ ๕ “ร่วมด้วยช่วยกัน สังคมฉันน่า อยู่” ร่วมอภิปรายแสดงความคิดเห็น สรุปคุณค่า และประเมินทักษะความสามารถในการครองงาน จากนั้น สรุปผลการดำเนินกิจกรรม และจบด้วยการทดสอบหลังฝึกอบรม ๓) ผลการประเมินกระบวนการฝึกอบรมคุณลักษณะภาวะผู้นำตามแนวพุทธของ เยาวชน พบว่า ความรู้ และเจตคติ ภาวะผู้นำตามแนวพุทธของเยาวชน ทั้งด้านความสามารถในการ ครองตน ความสามารถในการครองคน และความสามารถในการครองงาน ของเยาวชนหลังผ่าน กระบวนการฝึกอบรม สูงขึ้นกว่าก่อนการฝึกอบรมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .๐๑ และผลการ ประเมินทักษะภาวะผู้นำตามแนวพุทธของเยาวชน ของเยาวชนโดยรวมอยู่ในระดับมาก ทั้ง ๓ ด้าน โดย ด้านทักษะความสามารถในการครองงาน มีค่าเฉลี่ยสูงสุด อยู่ในระดับมากที่สุด รองลงมา ด้าน ทักษะความสามารถในการครองตน และด้านทักษะความสามารถในการครองคน มีเฉลี่ยอยู่ในระดับ มาก ผลการประเมินความเหมาะสมของกระบวนการฝึกอบรมคุณลักษณะภาวะผู้นำตาม แนวพุทธของเยาวชน พบว่า ความเหมาะสมของกระบวนการฝึกอบรมคุณลักษณะภาวะผู้นำตามแนว พุทธของเยาวชน ในภาพรวมอยู่ในระดับดีมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ด้านวิทยากร มี ค่าเฉลี่ยสูงสุด รองลงมาคือด้านสถานที่ และ ด้านกิจกรรม ตามลำดับ ๔. ผลการทดลองใช้กระบวนการฝึกอบรมคุณลักษณะภาวะผู้นำตามแนวพุทธของ เยาวชน มีรายละเอียดที่ต้องปรับปรุง ๒ ประเด็น คือ ควรให้ความสำคัญกับทักษะภาวะผู้นำตามแนว พุทธของเยาวชน ที่เน้นให้เห็นความแตกต่างจากภาวะผู้นำแบบทั่วไป โดยนำเอาหลักธรรมมาใช้ในการ พัฒนาทักษะภาวะผู้นำตามแนวพุทธมากยิ่งขึ้น โดยใช้กิจกรรมต่างๆ มาช่วยในการส่งเสริมภาวะผู้นำ ตามแนวพุทธให้มีความชัดเจนเพิ่มขึ้น ในการให้ความรู้เชิงเนื้อหาของภาวะผู้นำตามแนวพุทธ ควรมี วิทยากรที่เป็นพระภิกษุ ซึ่งเป็นตัวแทนของผู้นำตามแนวพุทธ เป็นวิทยากรในการให้ความรู้ และการ พัฒนาภาวะผู้นำเชิงกระบวนการ เพื่อให้ภาพของภาวะผู้นำตามแนวพุทธมีความหนักแน่นขึ้น
URI: http://mcuir.mcu.ac.th:8080/jspui/handle/123456789/547
Appears in Collections:รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
2559-202 วิโรจน์ พรหมสุด.pdf2.95 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.