Please use this identifier to cite or link to this item:
http://mcuir.mcu.ac.th:8080/jspui/handle/123456789/546
Title: | การเสริมสร้างสวัสดิการผู้สูงอายุตามวิถีวัฒนธรรมเชิงพุทธ ขององค์การบริหารส่วนท้องถิ่น ในจังหวัดเพชรบูรณ์ |
Other Titles: | Enhancing the Welfare of The Elderly, According to Buddhist Culture of Local Administhative Organization, Phetchabun Province |
Authors: | ฐิตธมฺโม, พระปลัดพีระพงศ์, พระครูสิริพัชรากร, (สมบัติ สิริคุตฺโต) ศิริ, สุพล ละคร, ปิยวัช |
Keywords: | การเสริมสร้าง สวัสดิการผู้สูงอายุ วัฒนธรรมเชิงพุทธ องค์การ บริหารส่วนท้องถิ่น จังหวัดเพชรบูรณ์ |
Issue Date: | 2561 |
Publisher: | สถาบันวิจัยพุทธศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย |
Abstract: | การวิจัยเรื่อง การเสริมสร้างสวัสดิการผู้สูงอายุตามวิถีวัฒนธรรมเชิงพุทธขององค์การ บริหารส่วนท้องถิ่นในจังหวัดเพชรบูรณ์ มีวัตถุประสงค์ 3 ประการคือ 1) เพื่อศึกษาสภาพปัจจุบัน ปัญหา อุปสรรค การจัดการสวัสดิการผู้สูงอายุขององค์การบริหารส่วนท้องถิ่น ในจังหวัด เพชรบูรณ์ 2) เพื่อพัฒนาการเสริมสร้างสวัสดิการผู้สูงอายุตามวิถีวัฒนธรรมเชิงพุทธขององค์การ บริหารส่วนท้องถิ่นในจังหวัดเพชรบูรณ์ 3) เพื่อเสนอวิธีเสริมสร้างสวัสดิการผู้สูงอายุตามวิถีพุทธ ขององค์การบริหารส่วนท้องถิ่นในจังหวัดเพชรบูรณ์ การวิจัยเรื่องนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) โดยการสัมภาษณ์เชิงลึก (In depth Interview) กับผู้ให้ข้อมูลสำคัญ (Key Informants) เพื่อสนับสนุนข้อมูลเชิงปริมาณใน ส่วนของการวิจัยเพื่อพัฒนาองค์ความรู้และ การเสริมสร้างสวัสดิการผู้สูงอายุตามวิถีวัฒนธรรมเชิง พุทธขององค์การบริหารส่วนท้องถิ่น ในจังหวัดเพชรบูรณ์อันมีค่าในการดำเนินชีวิตอย่างสมดุลนั้น ดำเนินการศึกษาวิจัยในลักษณะของการวิจัยในภาคสนาม (Field Study) โดยดำเนินการใน 4 ลักษณะ ทำการศึกษาและคัดเลือกกลุ่มตัวอย่างโรงเรียนผู้สูงอายุในจังหวัดเพชรบูรณ์ จำนวน 8 แห่ง คือ โรงเรียนสร้างสุขผู้สูงอายุเทศบาลหล่มสัก อำเภอหล่มสัก โรงเรียนสร้างสุขผู้สูงอายุตำบลบ้านติ้ว อำเภอหล่มสัก โรงเรียนสร้างสุขผู้สูงอายุบ้านปากช่อง อำเภอหล่มสัก โรงเรียนสร้างสุขผู้สูงอายุ เทศบาลหล่มเก่า อำเภอหล่มเก่า โรงเรียนสร้างสุขผู้สูงอายุฝายนางแซง อำเภอหล่มเก่า โรงเรียน สร้างสุขผู้สูงอายุบ้านบุ้งคล้า อำเภอหล่มสัก โรงเรียนสร้างสุขผู้สูงอายุบ้านนางั่ว อำเภอเมืองและ โรงเรียนสร้างสุขผู้สูงอายุบ้านสะเดียง อำเภอเมือง กลุ่มตัวอย่างผู้สูงอายุชายและหญิงที่เป็นนักเรียน ในโรงเรียนผู้สูงอายุจำนวน 8 แห่งๆ ละ 10 คน และผู้เกี่ยวข้องปฏิบัติงานกับผู้สูงอายุ ได้แก่ นักสังคมสงเคราะห์ เจ้าหน้าที่พยาบาล และวิทยากรดูแลใกล้ชิดกับผู้สูงอายุจำนวน 6 คน รวมกลุ่มเป้าหมายทั้งสิ้น 86 คน ผลการวิจัยพบว่า การวิจัยเรื่อง “การเสริมสร้างสวัสดิการผู้สูงอายุตามวิถีวัฒนธรรมเชิงพุทธขององค์การบริหารส่วนท้องถิ่นในจังหวัดเพชรบูรณ์” มีวัตถุประสงค์ 3 ประการคือ 1) เพื่อศึกษาสภาพปัจจุบัน ปัญหา อุปสรรค การจัดการสวัสดิการผู้สูงอายุขององค์การบริหารส่วนท้องถิ่นในจังหวัดเพชรบูรณ์ 2) เพื่อพัฒนาการเสริมสร้างสวัสดิการผู้สูงอายุตามวิถีวัฒนธรรมเชิงพุทธขององค์การบริหารส่วนท้องถิ่นในจังหวัดเพชรบูรณ์ 3) เพื่อเสนอวิธีเสริมสร้างสวัสดิการผู้สูงอายุตามวิถีพุทธขององค์การบริหารส่วนท้องถิ่นในจังหวัดเพชรบูรณ์ ซึ่งในบทนี้ผู้วิจัยได้ศึกษาถึงปัญหาและอุปสรรคการเสริมสร้างของผู้อายุในโรงเรียนผู้สูงอายุจังหวัดเพชรบูรณ์ การนำหลักธรรมทางพระพุทธศาสนามาใช้ในการดำเนินชีวิตของผู้สูงอายุ ตลอดจนนำผลการสัมภาษณ์มาวิเคราะห์ประเมินผลการนำหลักธรรมมาใช้ในการดำเนินชีวิตของผู้สูงอายุในจังหวัดเพชรบูรณ์ ซึ่งมีความสำคัญและจำเป็นอย่างยิ่งต่อผู้สูงอายุอย่างมาก ที่จะได้นำไปพัฒนาตนเอง ได้เสนอเนื้อหาสาระเกี่ยวกับการพัฒนากาย (พัฒนาอินทรีย์ 6) การพัฒนาจิต (จิตภาวนา) และการประพฤติธรรมตามหลัก “ คิหิปฏิบัติ”อันเป็นแนวทางปฏิบัติของคฤหัสถ์ เพื่อแก้ไขปัญหาด้านสังคมในการอยู่ร่วมกัน และปัญหาด้านเศรษฐกิจและรายได้ ให้ผู้สูงอายุประพฤติปฏิบัติเพื่อความดีความถูกต้อง ทั้งทางกายและจิตใจ ซึ่งเป็นพัฒนาคุณภาพชีวิตให้สามารถอยู่ในสังคมได้เป็นปกติ รวมทั้งได้ศึกษาวิเคราะห์ผลการนำหลักธรรมมาใช้ในการดำเนินชีวิตของผู้สูงอายุในจังหวัดเพชรบูรณ์ ดังจะได้กล่าว ตามลำดับต่อไป |
URI: | http://mcuir.mcu.ac.th:8080/jspui/handle/123456789/546 |
Appears in Collections: | รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์ |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
2561-186 พระปลัดพีระพงษ์.pdf | 4.27 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.